สินค้าไทยได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดกัมพูชา
โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งออกไปยังกัมพูชา 1,206 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขยายตัว 15.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงมีทั้งเสื้อผ้า แฟชั่นเครื่องสำอาง อาหารเสริม เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าไอที
ผลพวงจากเศรษฐกิจกัมพูชาที่ขยายตัวต่อเนื่องเกิน 7% มา 5 ปีติดต่อกัน ทำให้กำลังซื้อสูงจึงเป็นโอกาสการขยายตลาดไปสู่กัมพูชามากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะช่องทางการค้าขายผ่านพรมแดนเท่านั้น แต่โอกาสการค้าผ่านช่องทาง “อีคอมเมิร์ช” กัมพูชาเริ่มจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่การค้าปกติต้องสะดุดจากการระบาดของโควิด-19
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ประจำกรุงพนมเปญ กัมพูชา ระบุว่า เมื่อปี 2560 กัมพูชา
มีประชากรที่สมัครใช้งานอินเตอร์เน็ต 12.6 ล้านคน คิดเป็น 76% ของประเทศ
ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 96.4% หรือ 8.3 ล้านคน
ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีอายุมากกว่า 13 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะเพศหญิงใช้เข้าชมโฆษณาสินค้าทางเฟซบุ๊ก
เฉลี่ย 12 ครั้งต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตและใช้เฟซบุ๊กเพิ่มมากขึ้น
แต่ภาพรวมในกัมพูชาก็ยังไม่ได้นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากนัก โดยอาจจะมีประชาชนเพียง
6 แสนคนที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ และการค้าออนไลน์ยังมีข้อจำกัดด้านการชำระเงิน
ซึ่งประชาชนกัมพูชาส่วนใหญ่ยังไม่มีบัญชี ส่วนการออกบัตรเดบิต บัตรเครดิต และ e-Wallet
หรือการทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงค์กิ้ง หรืออินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
ก็ยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นวิธีการเก็บเงินปลายทางเมื่อสินค้าถึงมือผู้รับจึงเป็นวิธีการที่สะดวกมากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการจัดส่งสินค้า เนื่องจากการจัดส่งสินค้าตามระบบทะเบียนบ้านทำได้ยาก
เพราะยังไม่มีการปรับปรุงรหัสไปรษณีย์ ทำให้การหาสถานที่ทำได้ยาก บ้านเลขที่กับเลขถนนนไม่ได้เรียงกัน
ประกอบกับการขยายตัวของเมือง ทำให้มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมากจึงไม่สามารถปรับปรุงฐานข้อมูลได้
ขณะที่การกำกับดูแลระบบอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน ทางกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2563 ดังนั้นระหว่างนี้ผู้ประกอบการจึงต้องอาศัยกฎหมายพาณิชย์เดิม และกฎหมายภาษีทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปพลางก่อน
ถึงแม้ว่ายอดการซื้อออนไลน์จะมีสัดส่วนน้อย
และยังมีอุปสรรค แต่ก็ใช่ว่าช่องทางนี้จะริบหรี่สำหรับผู้ประกอบการไทย
เพราะหากพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของการทำธุรกรรมซื้อขายออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต จะพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อาทิ จำนวนการทำธุรกรรมผ่าน Internet Banking และ MobileBanking
ปี 2560 มีจำนวน 15.1 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 117% จากปี 2559
ที่มีเพียง 6.94 ล้านครั้ง ส่วนมูลค่าการทำธุรกรรม 11,682 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้น 158.57%
โดยแพลตฟอร์มยอดนิยม อาทิ Facebook
Instagram Twitter นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นสั่งอาหาร เช่น Nham24, Meal Temple, Instafood, E-get S, Cambo Maket แอพพลิเคชั่นสำหรับจองตั๋วออนไลน์
เช่น Bookmebus, Camboticket, Bookmefly
และ Major Cineplex แอพพลิเคชั่นสำหรับรับส่งของ
เช่น Grab, Pass App และ City GO
โอกาสที่สินค้าจะขยายเข้าไปผ่านช่องทางออนไลน์ยังเป็นไปได้มาก โดยเฉพาะสินค้าที่ชาวกัมพูชานิยมซื้อจากไทย ซึ่งจะเป็นสินค้าที่มีการรับทราบข้อมูลผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ เช่นอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องครัว รวมถึงของใช้ภายในบ้าน
สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์นั้น เอกชนสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การแถม การลดราคา สะสมคะแนนแลกรับของขวัญ จับฉลากชิงโชค รวมถึงการจัดกิจกรรมการแสดง คอนเสิร์ตหรืองานเปิดตัวสินค้าเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งสื่อโฆษณาออนไลน์ที่หลากหลาย ความพร้อมด้านภาษากัมพูชา ศึกษาตลาด ขั้นตอนในการจัดส่งสินค้า เพื่อจะคว้าโอกาสตลาดออนไลน์ไว้ให้ได้