5 เทคนิคลดน้ำหนักที่แสนง่าย โดยที่ไม่ต้องเสียเงินค่าฟิตเนส
เรื่องน้ำหนักและรูปร่างที่ไม่สวยงามได้สัดส่วนเหมือนพิมพ์ไทยนิยม
เป็นเรื่องกังวลใจทั้งชาย-หญิงทุกช่วงวัยที่มีความพยายามจะดูแลรักษารูปร่างกันอย่างสุดฤทธิ์
แต่พอมีโปรโมชั่น ชาบู ปิ้งย่าง ของกินเด็ดโดนใจเข้ามาทีไร เป็นต้องตบะแตกน้ำตาตกในให้ต้องมาเริ่มต้นใหม่กันทุกที
แต่เชื่อไหมว่าคนเราสามารถทำได้ทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองน้ำหนักลดลง ทั้งการกินยาลดความอ้วน
อาหารเสริม ดูดไขมัน อดอาหาร แต่กลับไม่ต้องการออกกำลังกาย
จนกลายเป็นการทำลายระบบการเผาผลาญร่างกายไปโดยไม่รู้ตัว เพราะความพยายามให้มีรูปร่างดีผิดวิธี
ซึ่งวิธีการลดน้ำหนักที่ดีต้องเข้าใจร่างกายตัวเอง หลักโภชนาการและการออกกำลังกายตั้งแต่เบา กลาง หนัก ควบคู่ไปด้วยเพื่อฟิตแอนด์เฟิร์มร่างกายให้แข็งแรง สัดส่วนกระชับ หากเริ่มต้นด้วย 5 เทคนิคลดน้ำหนักได้ โดยไม่ต้องทำอะไรมาก แม้แต่การออกกำลังกายอย่างหนัก ที่ได้จากประสบการณ์จริงของผู้ที่เคยลดน้ำหนักจาก 88 กิโลกรัม เหลือ 75 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. สำรวจสรีระของตัวเองจากค่า BMR, TDEE และ BMI
เป็นวิธีช่วยประเมินร่างกายให้ในเบื้องต้นว่าสรีระร่างกาย
ณ เวลานี้เป็นอย่างไร อ้วนในระดับไหน ร่างกายต้องการพลังงานที่ต่ำสุดแค่ไหน
และสูงสุดเมื่อต้องทำกิจกรรมนู่นนี่นั่นเท่าไหร่ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาสิ่งที่จะทานเข้าไปในแต่ละวัน
จะได้ไม่มีจำนวนแคลอรีเหลือกลายเป็นไขมันสะสมพอกพูน
โดยค่า BMR (Basal Metabolic Rate) คือ ปริมาณการใช้พลังงานขั้นพื้นฐานของแต่ละคนใน 1 วัน
จัดเป็นเรทต่ำสุดที่ร่างกายต้องได้รับ เพื่อใช้เพื่อในการมีชีวิตอยู่ในแต่ละวัน
นั่นคือการหายใจเข้าออก ขับ ถ่าย กินอาหาร นอนพักทั่วไปแบบแทบจะไม่ขยับตัวทำอะไรเลย
คำนวณได้จาก
- ผู้หญิง BMR = 655 + (9.6 X น้ำหนักตัว/กก.)
+ (1.8 x ส่วนสูง/ซม.) – (4.7 x อายุ)
- ผู้ชาย BMR = 66 + (13.7 X น้ำหนักตัว/กก.) + (5 x ส่วนสูง/ซม.) – (6.8 x อายุ)
DEE (Total Daily Energy Expenditure) คือปริมาณการใช้พลังงานของแต่ละคนใน 1 วันในระดับที่ร่างกายต้องการสูงสุด
ซึ่งขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ หากเคลื่อนไหวมาก ออกกำลังกายหนัก
ร่างกายก็จะใช้พลังงานมากขึ้นคำนวณได้จากกิจกรรมที่ทำ เช่น
- ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานนั่งโต๊ะ TDEE = BMR x 1.2
- ออกกำลังกายเบาๆ (1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) TDEE = BMR x 1.375
- ออกกำลังกายปานกลาง
(3-5 ครั้งต่อสัปดาห์) TDEE
= BMR x 1.55
- ออกกำลังกายหนัก (6-7
ครั้งต่อสัปดาห์) TDEE
= BMR x 1.725
- ออกกำลังกายหนักมาก
(ทุกวันๆ ละ 2 เวลา) TDEE = BMR x 1.9
BMI (Body Mass
Index) คือค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว
(กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า
ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป
คำนวณได้จาก
- น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[M] ยกกำลังสอง)
หรือจะให้ง่ายกว่านี้แบบไม่ต้องมานั่งคำนวณ
ก็คือการเข้าไปหาโหลดแอพลิเคชันตัวช่วยคำนวณแคลอรี
และจดบันทึกการทานอาหารในแต่ละวันดีๆ มาไว้ประจำตัวสัก 1 แอพ ซึ่งจะขอแนะนำ CalTracker ไว้เป็นตัวช่วย โดยยกระดับเป็น VIP (ชำระเงินเพื่อฟังก์ชั่นอื่นๆ เพิ่มเติม)
จะคุ้มค่ามากกว่าราคาอาหารที่ทานเข้าเสียอีก
2. จดบันทึกแคลอรี คุมอาหารที่กินเข้าไปติดต่อกัน
21 วัน
ปรับนิสัยการกินอาหารจากที่ทานอย่างขาดสติ
มาเป็นการกินแบบมีสติรู้ตัว จดบันทึกลงในสมุดหรือแอพลิเคชันตัวช่วยให้หมดทุกรายละเอียด
เพื่อให้เห็นพฤติกรรมการกินอาหารของตัวเองว่าใน 1 มื้อหรือ 1 วันนั้นกินอะไรเข้าไปบ้างในช่วงสัปดาห์แรก
แล้วค่อยปรับลดจำนวนแคลอรีให้ค่าพลังงานอาหารที่ได้รับนั้นอยู่ระหว่างค่า BMR กับ TDEE และไม่ต่ำกว่าค่า BMR
เพราะถ้าต่ำกว่าจะไปทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานเสียศูนย์ และถ้าไม่เกินจากค่า
TDEE จะทำให้ร่างกายเริ่มดึงพลังงานสะสมที่อยู่ในรูปของชั้นไขมันออกมาใช้แทนพลังงานที่สูญเสียไปจากการกินอาหาร
ที่สำคัญคือต้องทำการจะบันทึกจำนวนแคลอรีที่ทานไป
พร้อมควบคุมจำนวนแคลิรีที่ได้รับในแต่ละวันติดต่อกันตลอดในช่วง 21 วันแรก
เพื่อเปลี่ยนนิสัยใหม่ สร้างความเคยชินในแบบใหม่ ตามทฤษฎี 21 วัน เปลี่ยนนิสัย ของ
ดร.แม็กซ์เวลล์ มอลทซ์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ที่ตีพิมพ์ทฤษฎีนี้ลงในหนังสือชื่อ Psycho-Cybernetics ตั้งแต่ช่วงปี 2503
โดยได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่ามนุษย์จะเปลี่ยนนิสัยหรือการกระทำได้ หากทำสิ่งนั้นๆ
ติดต่อกันอย่างน้อย 21 วัน และคงนิสัยการกินด้วยปริมาณพลังงานที่ได้รับแบบนี่ต่อไป
3. ปรับคาร์โบไฮเดรต แป้ง และน้ำตาลลง
สูตรสำเร็จของการลดน้ำหนัก คือการกินอาหารโดยหลอกร่างกายว่าไม่ได้กินอาหาร
โดยการลดคาร์โบไฮเดรตลงตามรอบมื้ออาหาร หากมื้อเช้าเคยกินข้าว 3 ทัพพี
ก็ปรับลดลงเหลือ 2 ทัพพี เน้นโปรตีนและผักให้มากขึ้น มื้อกลางวันเคยกินข้าว 2
ทัพพี ลดจำนวนลงเหลือเพียง 1 ทัพพี เพื่อลดคาร์โบไฮเดรตลง และมื้อเย็นกินแต่ผักและโปรตีน
งดคาร์โบไฮเดรตลง ระหว่างนี้สามารถกินไขมันได้บ้าง เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตคือตัวอันตรายที่ทำให้อ้วนง่ายกว่าอาหารกลุ่มอื่น
4. ปรับเวลาการกินอาหารมื้อเย็นขึ้นมา
หากปกติเคยกินมื้อเย็นช่วง 18.00 น.
ให้ปรับขึ้นมาเป็น16.00-17.00 เพื่อจะได้ให้ร่างกายได้มีเวลาดึงพลังงานที่ได้จากการกินมื้อเย็นไปย่อยในกิจกรรมต่างๆ
ได้มากขึ้น ลดการสะสมของพลังงานในร่างกายในกรณีที่ร่างกายไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวใดๆ
ในช่วงเย็นจะดีกว่าการงดมื้อเย็น เพราะการงดกินมื้อเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายอดอาหารนานเกินไป
ส่งผลทำให้เกิดอาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับ ขาดสารอาหาร เป็นโรคกระเพาะ
และระบบขับถ่ายรวนได้ด้วย
ถึงแม้ว่าการงดกินมื้อเย็นจะช่วยลดน้ำหนักลงได้ แต่ถ้าเผลอไปกินมื้อเย็นแค่เพียงหนึ่งมื้อ
ก็จะส่งผลเสียให้เกิดอาการอ้วนกว่าเดิมได้ จากระบบการเผาผลาญที่แปรปรวน
5. ขยับร่างกายเบาๆ ให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน 200-300 กิโลแคลอรี
การออกกำลังกายจะช่วยทำให้ลดน้ำหนักได้รวดเร็วก็จริง แต่การออกกำลังกายอย่างหนักก็เสี่ยงต่อการไปกระตุกต่อมหิวทำให้กินอาหารมากขึ้น และทำให้อ้วนหนักกว่าเดิมได้ด้วย ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีน้ำหนักส่วนเกินมาก การขยับข้อเท้า เข่า ขา ก็จะเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้นการขยับร่างกายเบาๆ เช่น แกว่งแขน ปั่นจักรยาน โยคะ เดินเล่น ทำสวน เล่นกับสุนัข ฯลฯ ที่สามารถคำนวณค่าพลังงานออกมาผ่านแอพลิเคชันช่วยลดน้ำหนัก หรือ Smart Watch ได้ในทุกวันก็จะช่วยทำให้ร่างกายเฟิร์ม กระชับและเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น ร่างกายสดชื่นขึ้นจากการได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยมีสูตรอยู่ว่าต้องทำในเวลาเดียวกันทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการออกกำลังกายในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดีสุดในช่วงเวลานั้น แม้แต่ในวันที่ไม่ได้ออกกำลังกาย.