เมืองใหม่ EEC : Smart City ที่ท้าทาย SME

SME Update
28/01/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 1281 คน
เมืองใหม่ EEC : Smart City ที่ท้าทาย SME
banner
โครงการก่อสร้างเมืองใหม่ในเขต EEC ถูกกำหนดในพื้นที่คือ เมืองใหม่พัทยา เมืองใหม่อู่ตะเภา เมืองใหม่ระยอง และเมืองใหม่ฉะเชิงเทรา ตั้งเป้าให้เป็นพื้นที่พักอาศัยทันสมัย ตอบสนองไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ทั้งสามารถเชื่อมโยงคมนาคมโดยสะดวก กำหนดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานครบวงจรอยู่ภายใน

แม้ว่าโครงการเมืองใหม่ EEC จะยังอยู่ระหว่างดำเนินการระยะต้น แต่ก็พอมองเห็นภาพว่าเมืองใหม่ดังกล่าวจะต้องทันสมัย อย่างน้อยจะต้องสูงกว่ามาตรฐานของเมืองต่างๆ ที่มีอยู่เดิม อีกทั้งยังต้องแข่งกับการพัฒนาเมืองใหม่ของเขตเศรษฐกิจในประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่ง ยุคนี้เป็นยุคที่แนวความคิด เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ซึ่งกำลังเป็นกระแสของโลกยุค Urbanization

เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ไม่ใช่แค่ทันสมัยเฉพาะเทคโนโลยี หากยังรวมเอาความก้าวหน้าทั้งหลายแหล่ผสมกันเข้าเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในเมืองสะดวกสบาย ปลอดภัยพร้อมๆ กับทำเงินสร้างรายได้  รายงานของแบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ลิน ลินช์  (BofAML) ประเมินว่า ตลาดที่เกี่ยวข้องกับเมืองอัจฉริยะจะเติบโตขึ้นสูงถึง 1.3-1.6 ล้านล้าน (Trillion) ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2020 กระแสนี้มาแรงมากขนาดที่มีการจัดเอ็กซ์โปใหญ่ๆ นำเสนอสินค้าและแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ เช่นงาน Smart City World Expo Congress จัดโดย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้รับความสนใจสูงมากมีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลก

นั่นก็เพราะว่าโลกทั้งใบกำลังแข่งกันพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City ที่มีอยู่แล้ว ก็พยายามยกระดับ ทั้งยังมีโครงการใหญ่ที่เป็นอภิมหาโครงการมากมาย ทั้งในตะวันออกกลางและเอเชีย ที่มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาจากพื้นที่เปล่าๆ อย่างเช่นโครงการถมทะเล Forest City Iskandar Malaysia เนรมิตเมืองใหม่อัจฉริยะไม่แพ้ดูไบขึ้นเพื่อแข่งกับสิงคโปร์ ภาพจำลองของ Forest City เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้และสวนสาธารณะ เพราะสภาพแวดล้อมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของคุณภาพชีวิตในเมืองอัจฉริยะ

ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การพัฒนาเมืองในอดีตเน้นสาธารณูปโภค ถนนหนทางมีไฟฟ้า  น้ำประปา ตึกรามและรถยนต์ เป็นสำคัญ แต่ในทางกลับกันก็ให้น้ำหนักคนเดินถนน ต้นไม้สีเขียว การพักผ่อน ระยะเวลาในการเดินทางที่สั้นและสะดวกปลอดภัยน้อยลง ขณะที่แนวความคิดใหม่ของเมืองอัจฉริยะบังคับให้ออกแบบเมืองให้ตอบสนองคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและความสมดุลมากขึ้น – หากว่าเมืองใหม่ที่จะสร้างขึ้นต้องการแข่งขันกับเมืองอัจฉริยะใหม่ๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมต้องให้น้ำหนักในการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่าด้านอื่น

แบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ลิน ลินช์  จำแนกคุณลักษณะของเมืองอัจฉริยะไว้ 6 ด้านคือ  (1) ด้านสาธารณูปโภค Smart Infrastructure; (2) ด้านสถาปัตยกรรมก่อสร้าง Smart Buildings  (3) ด้านคุณภาพการพักอาศัย Smart Homes  (4) ด้านความปลอดภัย Smart Safety & Security (5) ด้านประหยัดและใช้พลังงาน Smart Energy และ (6) ด้านการเดินทาง เชื่อมโยงระหว่างกัน Smart Mobility

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและปัญญาอัจฉริยะ แนวความคิดใหม่ๆ IoT- Internet of things, Start Up เป็นสิ่งที่เคลื่อนไปข้างหน้าเรื่อยๆ มีการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ออกมาเสมอ

และนั่นคือความท้าทายของเมืองใหม่อัจฉริยะสำหรับทั้งผู้ออกแบบ ผู้บริหารจัดการระบบต่างๆ ผู้อยู่อาศัย ตลอดจนผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย

เมืองใหม่ โดยเฉพาะเมืองที่ตั้งเป้าจะเป็น Smart City จึงไม่ได้เป็นแค่โอกาสของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เจ้าของระบบอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ ฯลฯ เท่านั้น หากยังเป็นโอกาสของคนเล็กคนน้อย กิจการขนาดกลางและย่อมที่มีหนทางเปิดกว้างอย่างถึงที่สุด

มีกรณีศึกษายุคใหม่มากมาย บ่งชี้ว่า SMEs ยุคใหม่ที่เป็น IoT startups  มีพลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ไปจนถึงเปลี่ยนภูมิทัศน์ของตลาด เช่นเทคโนโลยีแจ้งเตือนให้รถบริการเก็บขยะมาเก็บเมื่อถังเต็ม เชื่อมโยงอัตโนมัติครบวงจร ตัวอย่างกิจการชื่อดังของกลุ่มนี้คือระบบจัดการ Bigbelly และ Zerocycle , ด้านการจราจรขนส่งเช่น เทคโนโลยีแจ้งที่จอดรถว่าง ซึ่งในประเทศไทยอาจจะได้เห็นมาแล้ว แต่ที่ไปไกลกว่านั้นคือระบบที่ประมวลทางเลือกในการเดินทางไปยังจุดหมายครบวงจร คือ จะรู้ว่าเส้นทางใดมีสภาพปัญหาอย่างไรในวินาทีนั้น แล้วจะเสนอทางเลือกในการเดินทางที่ดีที่สุดมาให้ แบบที่มหานครบาเซโลน่าใช้ระบบ Citymapper  เป็นต้น

เมืองใหม่ EEC เป็นความท้าทายที่น่าสนใจมากสำหรับนักพัฒนาเมืองยุคใหม่ เพราะเป็นการสร้างขึ้นมาจากที่ดินเปล่าเริ่มต้นจากศูนย์ ออกแบบโครงสร้าง ผังเมืองใหม่แต่แรก ซึ่งต่างจากโครงการพัฒนา Smart City เป็นย่านหรือโซน ที่จะยกระดับเมืองหรือย่านชุมชนเดิมให้กลายเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะที่หลายหน่วยงานในรัฐบาลกำลังผลักดัน

รัฐบาลคาดการณ์ว่าเมืองใหม่ EEC จะดึงดูดผู้คนทั้งในและนอกประเทศให้เข้าไปอาศัยเพิ่มจากเดิม 5 เท่าภายใน 10 ปี จากประมาณ 2.4 ล้านคนเป็น 13.5 ล้านคน ซึ่งขนาดของประชากรระดับนี้เทียบเท่ามหานครใหญ่ของโลกได้ แน่นอนที่สุด สิ่งที่จะตามคนใหม่ๆ เข้ามา ก็คือ อาชีพใหม่ๆ และวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เป็นโอกาสของการคิดค้น สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ พร้อมกันไป .

คลิกอ่านเพิ่มเติม :

*การประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการพัฒนาเมือง New City ในพื้นที่ EEC -http://www.eeco.or.th/sites/default/files/New_City.pdf

*21st Century Cities: Global Smart Cities Primer


* SME Instrument takes you to Smart City World Expo Congress https://ec.europa.eu/easme/en/news/sme-instrument-brings-you-smart-city-world-expo-congress

 


 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1227 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1586 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1872 | 25/01/2024
เมืองใหม่ EEC : Smart City ที่ท้าทาย SME