EU วางยุทธศาสตร์ ‘Farm to Fork’ อาหารที่ยั่งยืน

SME Go Inter
23/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2835 คน
EU วางยุทธศาสตร์ ‘Farm to Fork’ อาหารที่ยั่งยืน
banner

ภายใต้มาตรการ European Green Deal ซึ่งเป็นนโยบายหลักของคณะกรรมาธิการยุโรปชุดปัจจุบัน (2563 – 2567) ให้การรับรองว่า “ประชากรยุโรปจะเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดภัย และในราคาที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่ระบบ อาหารที่ยั่งยืนผ่านยุทธศาสตร์ Farm to Fork (F2F) ฉบับใหม่

ยุทธศาสตร์ F2F มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการผลิตอาหารที่มีความยั่งยืน ยุติธรรม มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป การตลาด ไปจนถึงการบริโภคของมนุษย์และสัตว์

นอกจากนี้ยุทธศาสตร์ F2F ยังเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน การอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพ การปกป้องป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสังคมไร้มลพิษ (zero pollution) เป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่สำคัญภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ F2F มีดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


สู่เป้าหมายพัฒนาการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

1. มาตรการด้านการปราบศัตรูพืช โดยทบทวนกฎระเบียบการใช้สารปราบศัตรูพืช กำหนดวิธีการกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงต่ำหรือที่ไม่ใช่สารเคมี

2. ปุ๋ย พัฒนาวิธีการนำธาตุอาหารมาใช้ในการทำเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มการหมุนเวียนในห่วงโซ่อุปทาน

3. เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์พืช อำนวยความสะดวกการขอขึ้นทะเบียน และการนำสายพันธุ์พืชดั้งเดิมหรือที่มีการปรับปรุงมาใช้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ

4. สุขภาพพืช ปรับปรุงข้อกำหนดด้านการตรวจสอบควบคุม การนำเข้าพืช การจัดการศัตรูพืช และการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้มีความทันสมัย

5. ยาต้านจุลชีพในสัตว์ จัดทำบัญชีรายชื่อยาต้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้กับมนุษย์เท่านั้น ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพนอกเหนือจากที่ฉลากระบุไว้และกำหนดค่าตกค้างสูงสุดของยาต้านจุลชีพในอาหารสัตว์

6. สวัสดิภาพสัตว์ ยกระดับการควบคุมและการปฏิบัติตามกฎระเบียบสวัสดิภาพสัตว์ รวมทั้งการใช้มาตรการอุดหนุนภายใต้นโยบายเกษตรร่วม (CAP) ในการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

7. อาหารสัตว์ ทบทวนและขยายขอบเขตการอนุญาตสารเสริมในการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการตลาดอาหาร สัตว์เพื่อให้มีการใช้วัสดุอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน เช่น โปรตีนจากแมลง อาหาร สัตว์จากทะเล และชีวมวลจากการหมักมวลชีวภาพ เป็นต้น

8. มาตรฐานด้านการตลาดสินค้ำเกษตร ประมง และสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ลดอุปสรรคและสร้างโอกาสในการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

9. เกษตรอินทรีย์ พัฒนาแผนการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์สำหรับปี 2564 - 2569 เพื่อการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งกระตุ้นความต้องและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค

10. การรวมกลุ่มของผู้ผลิต ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตร/การประมง รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาด้านการ ผลิตที่ยั่งยืน เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามกฎระเบียบ

 

แนวทางปฏิบัติในการแปรรูปอาหาร การค้าปลีก

1. ความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน พัฒนาคุณค่าทางโภชนาการให้ดีขึ้น และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการผลิตอาหาร

2. บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปภายในกลางปี 2564 และทบทวนกฎระเบียบวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร

 

สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ

1. ปรับปรุงการแสดงข้อมูลโภชนาและพัฒนาระบบการให้ข้อมูลผู้บริโภค โดยอาจกำหนดให้ติดฉลากแสดงข้อมูลโภชนาการบนหน้าผลิตภัณฑ์ (front-of-pack nutrition labelling) แสดงแหล่งที่มาของอาหารบางประเภท รวมทั้งข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ หรือสังคม รวมทั้งพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารให้สั้นลง (short food supply chain) เพื่อลดผลกระทบจากการขนส่งและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

2. การบริโภคอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ เช่น สนับสนุนการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียน โรงพยาบาล หรือองค์การมหาชนต่างๆ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. ลดความสูญเสียและขยะจากอาหารในสหภาพยุโรปภายในปี 2563–2567

 

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

สร้างความร่วมมือกับประเทศที่สาม ที่อยู่ระหว่างการเจรจา หรือที่จะมีในอนาคต จะต้องทำการผนวกประเด็นด้าน “การค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” สนับสนุนความร่วมมือภายในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการสนับสนุนการผลิตและสุขภาพสัตว์ที่ยั่งยืนของ FAO/ IAEA การจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น


ทั้งนี้เป้าหมายและแผนการดำเนินงานภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ F2F ดังกล่าว เพิ่งผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะ ซึ่งอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ นอกจากนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้ พิจารณาเลื่อนการประกาศเผยแพร่เอกสารรายละเอียด (communication) ยุทธศาสตร์ F2F ออกไปจากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2563 เนื่องจากสหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการและเกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของสหภาพยุโรป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคทางการค้ากับสหภาพยุโรปในอนาคต ภายใต้ยุทธศาสตร์ F2F การดำเนินการเจรจา FTA ของสหภาพยุโรปกับประเทศที่สามจะมีการนำประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม เข้ามาผนวกกับการค้าด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอาจพิจารณาเตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว เพื่อรองรับการเจรจา FTA ที่จะมีขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

ข่าวสารด้านการเกษตรสหภาพยุโรป ฉบับที่16/2563


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร

COVID-19 ติดมากับโอกาส ‘สินค้าเกษตรไทย’


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6241 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2009 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5014 | 23/10/2022
EU วางยุทธศาสตร์ ‘Farm to Fork’ อาหารที่ยั่งยืน