จากข้อเท็จจริงที่ว่า
ประเทศไทยเป็นฐานผลิตและส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของโลก มีแรงงานกว่า 850,000 คน
ทำงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิต
บริษัทต่างชาติชั้นนำหลายแห่งได้ทำงานร่วมกับแรงงานที่มีทักษะในประเทศไทย
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์
โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาเซียนในอนาคต
ซึ่งนับเป็นเป้าหมายที่อาจต้องเร่งให้เร็วขึ้นอีก เพราะปัจจุบันทั่วโลกต่างงัดสาระพัดมาตรการในการผลักดันยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และเริ่มกีดกันยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
อย่างไรกรณีในยุโรปที่มีข่าวว่า อียูเตรียมออกกฎหมายกำหนดนิยามของ “รถยนต์เพื่อความยั่งยืน” (sustainable cars) ว่าจะต้องเป็นรถยนต์ที่ปลอดการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2569 เป็นต้นไป
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
สำหรับช่วงปัจจุบันจนถึงปลายปี 2568
รถยนต์ที่สามารถติดฉลาก “สีเขียว” (green) ได้ จะต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่า 50 กรัม/กม. โดยอียูหวังว่า
การใช้ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นหลักเกณฑ์สำหรับการให้ฉลาก “รถยนต์สีเขียว”
หรือ “รถยนต์เพื่อความยั่งยืน” ภายใต้ EU Green Investment Label จะช่วยสร้างความชัดเจนและช่วยดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า
รวมทั้งป้องกันธุรกิจที่ต้องการเกาะกระแสสีเขียว แต่ทำไม่ได้จริง หรือ “greenwashing”
(การฟอกเขียว) ทั้งนี้
คาดว่าจะมีการเผยแพร่ร่างกฎหมายใหม่นี้ภายในสิ้นปี 2563
นาง Hildegard
Müller ประธานสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งเยอรมนี (VDA) ได้กล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นเป้าหมายหลักของสมาคมในระยะ 10 ปีข้างหน้า
โดยจะมีการสนับสนุนเงินลงทุนกว่า 50 พันล้านยูโร สำหรับการวิจัยและผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์พาณิชย์ขนาดเล็ก
อย่างไรก็ดี นาง Müller และสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งยุโรป (ACEA) เกรงว่ากฎใหม่ของอียูจะเน้นสนับสนุนเพียงรถยนต์ไฟฟ้า โดยลืมการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์สันดาปใน ซึ่งยังจะเป็นรถยนต์ส่วนใหญ่ที่วิ่งอยู่ในอียูจนถึงปี 2573 ดังนั้นจึงย้ำว่า การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์สันดาปให้สะอาดขึ้น ยังมีความสำคัญเพื่อให้อียูสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2593 นอกจากนี้รถยนต์ไฟฟ้านั้นจะเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่ารถยนต์ธรรมดา ก็ต่อเมื่อไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนมาจากแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนเท่านั้น
ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เป็นภาคธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด
ขณะที่ความต้องการของตลาดโลกที่มีตัวแปรสำคัญ
ด้วยเหตุนี้การเร่งผลักดันการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสาระสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมการรับมือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์บนเวทีโลก
ที่มา :
Thaieurope.net