4 กฎเหล็ก “European Green Deal” ส่งออกตลาดยุโรปต้องดู

SME Go Inter
25/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2828 คน
4 กฎเหล็ก “European Green Deal” ส่งออกตลาดยุโรปต้องดู
banner

จากผลสำรวจความเห็นของประชาชนในสหภาพยุโรป เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารในปี 2562 เผยว่าผู้บริโภคชาวยุโรปกังวลเรื่องสารปนเปื้อนในอาหารมากที่สุด เช่น ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนและสเตอร์รอยด์ในเนื้อสัตว์ ยาฆ่าแมลง สารเคมีที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และวัตถุเจือปน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเบื่อหน่ายกับกระแสข่าวและรายงานด้านลบของอุตสาหกรรมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจพบสาร fipronil ปนเปื้อนในไข่ไก่เมื่อปี 2560 หรือการตรวจพบเศษเนื้อม้าในมีทบอลที่วางขายในห้างชื่อดังสัญชาติสวีเดนเมื่อปี 2556 จึงเป็นแรงผลักดันให้เทรนด์ “อาหารเพื่อสุขภาพ” ในยุโรปได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และทำให้อียูเข้มงวดกับมาตรการด้านความปลอดภัยของอาหารเพิ่มมากขึ้น

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา อียูได้ออกยุทธศาสตร์ “Farm to Fork Strategyซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของนโยบาย European Green Deal โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการผลิตอาหารที่ “เป็นธรรม ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” ตั้งแต่กระบวนการปลูก การแปรรูป การบริโภคจนถึงการกำจัดขยะอาหาร อันเป็นที่มาของชื่อยุทธศาสตร์ “จากฟาร์ม สู่ปลายส้อม” โดยอียูมีมาตรการที่จะลดการใช้สารเคมี และส่งเสริมฟาร์มออร์แกนิกเพิ่มมากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

กฎระเบียบและมาตรการอียูภายใต้ “European Green Deal”

1. ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อียูตั้งเป้าหมายลดการใช้ยาฆ่าแมลงและวัชพืช รวมทั้งยาต้านจุลชีพในสัตว์ลง 50% ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง 20% และเพิ่มพื้นที่การทำฟาร์มออร์แกนิกให้มีสัดส่วนคิดเป็น 25% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในยุโรป ภายในปี ค.ศ. 2030 จึงคาดได้ว่าจะมีการห้ามการใช้ยาฆ่าแมลงและวัชพืชที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นและแนะนำสารที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อใช้ทดแทน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 3-5 ปี โดยสามารถติดตามสถานะของสารเคมีที่ได้รับอนุญาตทั้งหมดได้ทางเว็บไซต์ DG SANTE

2. ออกกฎระเบียบด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) เยอรมนีในฐานะประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีแผนที่จะผลักดันมาตรการติดฉลากสวัสดิภาพสัตว์ให้มีความคืบหน้า ซึ่งนอกจากจะสะท้อนความสำคัญที่สหภาพยุโรปให้กับเรื่องสวัสดิภาพสัตว์แล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเบลเยียมและประเทศสมาชิกอื่นๆ อาทิ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมนี ได้มีการใช้ฉลากภาคเอกชน (private label) แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์บนผลิตภัณฑ์เนื้อหมู โดยบางฉลากมีการแสดงข้อมูลที่เชื่อมโยงกับคุณภาพเนื้อหมู เช่น ใช้อาหารที่ปราศจาก GMOs ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และ/หรือแสดง Carbon Footprint เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าจากบริษัทตนแม้ยังไม่มีข้อบังคับใช้ก็ตาม

3. การห้ามใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เมื่อ 27 มีนาคม 2019 สภายุโรปได้ลงมติผ่านร่างข้อบังคับเพื่อห้ามใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง (EU Single-Use Plastics Directive) เช่น หลอดพลาสติก ช้อน ส้อม มีดและจานพลาสติก เป็นต้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2564 รวมถึงการปรับปรุงข้อบังคับเรื่องบรรจุภัณฑ์และขยะจากบรรจุภัณฑ์ (EU Packaging and Packaging Waste Directive) โดยออกมาตรการส่งเสริมการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ และอียูตั้งเป้าที่จะรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ให้ได้อย่างน้อย 70% ภายในปี ค.ศ. 2030

4. ออกกฎระเบียบเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและลด carbon footprint เช่น กฎระเบียบเพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่า การให้ความสำคัญกับการประมงอย่างยั่งยืน การต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ตามแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Strategy) ของอียู เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การปกป้องธรรมชาติและการฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์ เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมปลอดคาร์บอน บรรลุเป้าหมายของอียูที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ภายในปี ค.ศ. 2030 และจนเหลือศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050

ดังนั้น ภาคธุรกิจไทยที่สนใจส่งออกสินค้าอาหารมาตลาดยุโรป ควรเร่งปรับตัวและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค อย่างเช่น สินค้าปลอดสารพิษ สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ และสินค้าที่ได้รับการรับรองการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) เป็นต้น โดยต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องของความปลอดภัยของสินค้าอาหาร และผลิตสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เพื่อสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคอียูที่เปลี่ยนไป และให้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านอาหารของอียู

 

แหล่งอ้างอิง : https://thaieurope.net/ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


เมื่อผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมและปลอดภัย

สเปน...จุดหมายปลายทางที่หอมหวานของฮาลาล


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6266 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5038 | 23/10/2022
4 กฎเหล็ก “European Green Deal” ส่งออกตลาดยุโรปต้องดู