ก้าวสำคัญของรัฐทมิฬนาฑู ‘Detroit of India’

SME Go Inter
06/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2175 คน
ก้าวสำคัญของรัฐทมิฬนาฑู ‘Detroit of India’
banner

เมื่อกล่าวถึงประเทศอินเดียในด้านความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ คงไม่มีใครไม่รู้จักรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) รัฐที่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย ซึ่งมีฉายาว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของอินเดีย หรือ “ดีทรอยต์แห่งอินเดีย” (Detroit of India)

เนื่องจากเป็นรัฐที่สามารถส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนได้มากที่สุดถึง 45% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ และมีบริษัทรถยนต์ต่างชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิตในรัฐมากมาย อาทิ BMW Mitzubishi และ Hyundai ปัจจุบันรัฐบาลทมิฬนาฑูยังเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของตน ให้ไปสู่การผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


รัฐทมิฬนาฑูมีประชากรประมาณ 72 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของอินเดีย มีเศรษฐกิจเติบโตระดับ 8.2% และประชาชนมีรายได้ต่อหัว 3,072 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของอินเดียทั้งประเทศที่ 2,039 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจนี้ ส่งผลให้รัฐทมิฬนาฑูมีปริมาณยานยนต์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 3.21 ล้านคัน ในปี 2524 เป็น 27.7 ล้านคันในปี 2562 

คาดการณ์ว่าจำนวนยานยนต์ในรัฐนี้อาจสูงถึง 98 ล้านคันในปี 2573 อันจะนำมาซึ่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ เมืองเจนไน เป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจ การเงินการธนาคาร และเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมที่พัฒนาทางด้าน IT โดยรัฐทมิฬนาฑูเองก็มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นรัฐที่ส่งออกซอฟแวร์มากเป็นอันดับสองของอินเดีย รองจากรัฐกรณาฏกะซึ่งมีเมืองหลวงคือบังคาลอร์ ซึ่งหลายท่านคงจะรู้จักดีในนามของ Silicon Valley ของอินเดีย

ที่ผ่านมารัฐบาลอินเดีย จึงเร่งกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ผ่านการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้กับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ สอดคล้องกับแผนการพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ ปี 2563 ที่รัฐบาลอินเดียได้ริเริ่มขึ้นในปี 2556 เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตรถยนต์ทั่วไปในอินเดียมาเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลอินเดียกำหนดเป้าหมายจะส่งเสริมเรื่องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 30% ภายในปี 2573 โดยรัฐบาลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ EV ไปแล้วกว่า 5 แสนล้านรูปี และคาดว่าจะสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นได้ 1.5 แสนราย

นอกจากนี้ ทางรัฐยังได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าภายในรัฐอีกด้วย อาทิ

- สร้างระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่มั่นคงและสอดรับกับการใช้งานรถยนต์ EV เช่น ที่สำรองไฟฟ้า และสถานีชาร์ตไฟสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

- สนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้รัฐทมิฬนาฑูเป็นศูนย์กลางรถยนต์ EV ของอินเดีย

- สร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ EV โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในรัฐ และสร้างงานในสายงานการผลิตรถยนต์ EV

- ผลักดันให้รัฐทมิฬนาฑูเป็นแหล่งลงทุนและผลิตรถยนต์ EV พร้อมทั้งอุปกรณ์และชิ้นส่วนอุปกรณ์

 

รัฐทมิฬนาฑูได้กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ EV มากขึ้น อาทิ การยกเว้นภาษีถนน และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนแก่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อใหม่ รถสามล้อ รถขนส่งมวลชน รถแท็กซี่ และรถบรรทุกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจนถึงสิ้นปี 2565

เช่นเดียวกับรถยนต์ส่วนบุคลที่จะได้รับการยกเว้นภาษีถนน โดยเริ่มจาก 50% ถึง 100% จนถึงปลายปี 2565 ส่วนการสนับสนุนภาครัฐและเอกชน ในการลงทุนสร้างสถานีชาร์จไฟนั้น ทางรัฐทมิฬนาฑูได้กำหนดมาตรการส่งเสริมต่างๆ เช่น การสร้างสถานีชาร์จไฟในทุกๆ 25 กิโลเมตรตลอดสองข้างทางของทางหลวงชนบทและทางหลวงแผ่นดิน และค่าไฟของสถานีชาร์จไฟจะมีราคาไม่เกิน 15% ของต้นทุนการผลิต

นอกจากมาตรการข้างต้นแล้ว รัฐบาลทมิฬนาฑูเตรียมที่จะแก้ไขกฎหมายอาคารและสิ่งก่อสร้าง เพื่อรองรับสถานีชาร์ตไฟภายในอาคารสำนักงานและที่พัก อาทิ การจัดสรรและกำหนดพื้นที่จอดรถ 10% สำหรับรถยนต์ EV ในโรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และอพาร์ทเมนท์ 

รวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ EV โดยจะมีการปรับปรุงหลักสูตรด้านวิศวกรรม ในสถาบันการศึกษา การจัดตั้งศูนย์ความเลิศด้าน EV รวมทั้งการจัดฝึกอบรมทักษะสำหรับหลักสูตรระยะสั้นในด้าน EV เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่จบการศึกษาด้านวิศวกรรม

 

การตระหนักรู้ด้านไอทีของผู้ประกอบการไทย

ในสภาวะที่กระแสเทคโนโลยีนวัตกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีการคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจะมีสัดส่วนสูงถึง 30-50% เนื่องจากความก้าวหน้าในการวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมกรรมด้านยานยนต์ ทำให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ลดลง โดยเฉพาะต้นทุนของแบตเตอรี่ ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นในฐานะที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จึงควรเร่งเรียนรู้และปรับตัวที่ต้องก้าวให้ทันนวัตกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และแสวงหาโอกาสจากรัฐทมิฬนาฑูที่มีศักยภาพและความพร้อม ในการเชื่อมโยงด้านห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และการเข้าถึงตลาดระหว่างกันและกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเทคโนโลยี และการออกแบบนวัตกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เพื่อรองรับตลาดที่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอีกมาก


อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญในการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างครบวงจร คือบรรดาผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แบบสันดาปต่างได้รับผลกระทบเช่นกัน และยังไม่มีท่าทีของรัฐในการแก้ไขดังกล่าว ดังนั้นการหยิบยกประเด็นนี้มาเล่าสู่กันก็เพื่ออยากให้ลองจับตาดูความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการชิ้นส่วนยายนต์ในอินเดีย

แต่ที่อินเดียมีแต่ไทยมีน้อยกว่า คือความสามารถด้านเทคโนโลยี รัฐบาลทมิฬนาฑูเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมที่พัฒนาทางด้าน IT ทั้งรับมุ่งส่งเสริมเทคโนโลยี โดยเฉพาะในกิจการยานยนต์พลังงานสะอาด ดังนั้นจริงอยู่ว่าบริบทในด้านการเป็นฐานผลิตรถยนต์จะใกล้เคียงกับไทย แต่ศักยภาพด้านไอทีเราแพ้ขาดลอย ดังนั้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะสามารถแก้ปัญหาผลกระทบจากการผลิตแบบเดิมได้

 

แหล่งอ้างอิง :

www.globthailand.com

https://www.ryt9.com/s/prg/3087204

https://www.gsb.or.th/getattachment/85ef7d25-dc82-40bc-b3aa-db4a82d63d8f/16IN_hotissue_car_electronic_detail.aspx

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


การส่งเสริมยานยนต์ EV โอกาสของ SMEs อยู่ตรงไหน?

‘แคนาดาโมเดล’การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6058 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4914 | 23/10/2022
ก้าวสำคัญของรัฐทมิฬนาฑู ‘Detroit of India’