5 ท่ากายบริหารป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เรื้อรัง
ระหว่างวันทำงานร่างกายเราจะสะสมความเมื่อยล้าเอาไว้ตามมัดกล้ามเนื้อที่มีการใช้งาน
เมื่อมีการใช้มัดกล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ ก็จะทำให้เกิดการหดเกร็ง เจ็บปวด
กลายเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง
โดยอาการปวดของโรคนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณของศูนย์รวมความปวดของกล้ามเนื้อ
หรือที่เรียกกันว่า ‘จุดกดเจ็บ’ (Trigger points)
และมีการกระจายอาการไปตามส่วนของกล้ามเนื้อนั้นๆ
การใช้มัดกล้ามเนื้อซ้ำๆ นั้นไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทำงานใช้ร่างกายหรือยกของหนักเพียงอย่างเดียว เพราะแม้แต่การนั่งพิมพ์ดีด คลิ๊กเม้าท์ จ้องหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หรือแม้แต่ยืนทำอาหารทุกวันก็สามารทำให้เกิดจุดกดเจ็บขึ้นได้ในส่วนของมัดกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก และอาจหนักไปจนถึงเอว
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เพื่อป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง
เรื้อรัง หรือ Office Syndrome ที่หากละเลยสะสมไปนานๆ
ก็จะต้องถึงกับฉีดยาแก้ปวด อักเสบ คลายกล้ามเนื้อเข้าจุดกดเจ็บแบบเฉพาะจุด
ซึ่งทั้งเจ็บ มีค่าใช้จ่ายสูง และมีผลกระทบข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาชนิดนี้ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์
ที่อาจทำให้เกิดอาการคุชชิง (Cushing Syndrome)
เกิดจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูง
ซึ่งอาจเป็นเพราะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มากเกินไป
หรือร่างกายอาจผลิตฮอร์โมนนี้ออกมามากกว่าปกติ
ทำให้มีอาการ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น มีภาวะอ้วน ใบหน้ากลมผิดปกติ
มีก้อนไขมันด้านหลังช่วงระหว่างไหล่ และผิวหนังหน้าท้องแตกลายเป็นสีม่วงหรือสีชมพู
อ้วนช่วงกลางลำตัว แขนขาลีบ มวลกระดูกลดลง และผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย 5
กายบริหารนี้จะช่วยให้ห่างไกลจาก Office Syndrome
และหายจากอาการปวดเหล่านี้
1. ท่าบริหารคอ (ทำได้ทั้งในขณะนั่งทำงานและยืน)
Step 1 :
วางมือประสานกันที่ศีรษะด้านหลัง แล้วค่อยๆ ออกแรงกดศีรษะให้โน้มลงต่ำ จนคางชิดอก
ค้างไว้ 30 วินาที
Step 2 : กำมือประสานกันแล้วยืดนิ้วโป้งเหยียดตรง ดันคางขึ้นท้ายทอยชนบ่าด้านหลัง
ค้างไว้ 30 วินาที คำแนะนำที่ดีคือควรใช้ระยะเวลาในการกดศีรษะและดันคางที่เท่ากัน จะทำให้เกิดการบาลานซ์
และท่าดันคางนี้ยังช่วยลดเหนียงใต้คางได้ด้วย
Step 3 : ยกมือขวาอ้อมศีรษะด้านบนวางไว้เหนือหูด้านซ้ายและออกแรงกด
โน้มศีรษะลงมาด้านขวา ค้างไว้ 30 วินาที แล้วสลับข้าง
Step 4 : ทำ Step 1-3ซ้ำ
3 ครั้ง ในแต่ละวัน
2. ท่าบริหารสะบักไหล่ (ควรยืนขึ้น)
Step 1 : ยื่นมือทั้งสองข้างเหยียดตรงไปด้านหลังแล้วจับแบบประสานกันไว้ให้แน่น แล้วก้มหน้าลงและดันแขนที่ประสานกันขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
หรือจนกว่าจะรู้สึกตึงเจ็บตรงสะบักไหล่ ให้ค้างไว้ 60 วินาที ทำซ้ำ 3 ครั้ง
Step 2 : ยื่นแขนขวาขึ้นเหยียดตรง แล้วงอแขนลงมาให้มือแตะที่สะบักไหล่ด้านซ้าย
จากนั้นยื่นมือซ้ายไปจับตรงข้อศอกขวาแล้วออกแรงดึงข้อศอกขวาลงมาให้สุดกำลัง
ทำค้างไว้ 30 วินาที สลับข้างแล้วทำซ้ำ 3 ครั้ง
3. ท่าบริหารนิ้วมือ-ข้อมือ (นั่งลงหรือยืนขึ้นก็ได้)
Step 1 : ยื่นแขนขวาเหยียดตรงไปด้านหน้าให้ตึง จากนั้นใช้มือซ้ายจับตรงปลายนิ้วชี้
กลาง นาง ก้อย ที่เหยียดชิด แล้วดึงปลายนิ้วแบบงัดขึ้นด้านบน (หงายผ่ามือ) เข้าหาลำตัว
(ต้องออกแรงดันแขนสู้กับแรงดึงให้แขนเหยียดตรง) ค้างไว้ 30 วินาที
แล้วสลับมาเป็นดึงปลายนิ้วลงด้านล่าง (คว่ำฝ่ามือ) เข้าหาลำตัว ค้างไว้ 30 วินาที
สลับข้างและทำซ้ำ 3 ครั้ง
Step 2 : ยื่นมือทั้ง 2 ข้างมาด้านหน้าแบบเหยียดตรง เอามือขวาทับมือซ้าย (ไขว้แขนแบบกากบาท)
แล้วจับมือประสานกันให้แน่น
จากนั้นดึงมือที่ประสานกันไว้ลอดใต้ช่องว่างของแขนที่ประสานไขว้ไว้
แล้วยืดเหยียดแขนขึ้นด้านบน แล้วเหยียดตรงไปด้านหน้าให้สุด
จนรู้สึกตึงมือและปวดเจ็บตรงข้อมือข้างใดข้างหนึ่ง (หากมือขวาทับอยู่ด้านบน
เมื่อทำท่านี้แล้วมือขวา-ข้อมือขวาจะตึง) ค้างไว้ 30 วินาที เปลี่ยนข้างและทำซ้ำ 3
ครั้ง
4. คลายเส้นกล้ามเนื้อทุกส่วน
นั่งลงบนพื้น
เหยียดขาทั้งสองให้ตรงไปด้านหน้า แล้วก้มหน้าเอามือทั้งสองข้างแตะปลายเท้า (ถ้าแตะไม่ถึงให้จับข้อเท้า)
ค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3 ครั้ง
คำแนะนำเพิ่มเติม
จะดีกว่ามากหากมีคนช่วยดันหลังเพื่อให้โน้มตัวไปแตะปลายเท้าด้านหน้าให้ได้มากที่สุด
เพราะยิ่งโน้มตัวแตะปลายเท้าได้มากจะลดอาการปวดตึงเส้นที่ขาไปจนถึงคอ บ่า หลัง
ได้มากขึ้น
5. แก้ปวดหลัง (บั้นเอว)
นอนคว่ำหน้าเหยียดตัวตรงบนพื้น
วางมือทั้งสองไว้ในระดับอกแล้วดันตัวเองขึ้นให้แขนเหยียดตรง
พร้อมโน้มศีรษะไปด้านหลัง ค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3 ครั้ง
นอกจากนี้ยังสามารถทำให้กล้ามเนื้อที่ปวดเกร็งเพราะเกิดจุดกดเจ็บ
(Trigger points)
คลายตัวได้โดยไม่ต้องพึ่งหมอนวดหรือการฉีดยา
ด้วยการหาแผ่นประคบร้อนที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป มาปูนอนประคบหลัง
ปรับระดับความร้อนได้ตามความต้องการ ประคบนาน 30 นาทีต่อรอบ เป็นการทำกายภาพบำบัดให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ซึ่งดีกว่าการเดินเข้าหาแพทย์เพื่อฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือการไปให้หมอนวดจับเส้นให้
เพราะเป็นการแก้ไขสาเหตุที่ตรงจุด และเพื่อเลี่ยงการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
ควรลุกห่างจากหน้าคอมพิวเตอร์ พักสายตาทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ก็จะทำให้ไม่เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังหรือออฟฟิศซินโดรมได้.
แหล่งอ้างอิง https://www.pobpad.com/