วิกฤติสูญพันธุ์! ลำบาก–รายได้ต่ำ ชาวนาฟิลิปปินส์ไม่อยากให้ลูกรับไม้ต่อ

SME Go Inter
29/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2628 คน
วิกฤติสูญพันธุ์! ลำบาก–รายได้ต่ำ ชาวนาฟิลิปปินส์ไม่อยากให้ลูกรับไม้ต่อ
banner

มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines) ได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อเรื่อง “เกษตรกรชาวนาผู้สูงอายุชาวฟิลิปปินส์และแรงบันดาลใจต่อลูกๆ (Aging Filipino Rice Farmers and Their Aspiration for Their Children)โดยได้สุ่มสำรวจครัวเรือนเกษตรกรชาวนาจำนวน 923 ราย จาก 13 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 3 จังหวัดของเกาะใหญ่ 3 แห่งของฟิลิปปินส์ โดยได้ทำการสำรวจด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เพื่อให้เข้าใจชีวิตและสถานการณ์ของเกษตรกรชาวนาฟิลิปปินส์ต้องเผชิญโดยแท้จริง ซึ่งพบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

เกษตรกรชาวนาฟิลิปปินส์ที่ได้ทำการสำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 70 และร้อยละ 30 เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีสถานะแต่งงานแล้วและมีสมาชิกเฉลี่ยครัวเรือนละ 5 คน รวมทั้งโดยเฉลี่ยแต่ละครัวเรือน จะมีลูกประมาณ 4 คน นอกจากนี้ ประมาณร้อยละ 77 ของผู้ตอบแบบสำรวจประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และร้อยละ 33 เป็นอาชีพรอง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

- อายุเฉลี่ยของเกษตรกรชาวนาฟิลิปปินส์ที่ทำการสำรวจอยู่ที่ 53 ปี โดยประมาณร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีอายุระหว่าง 41–60 ปี ในขณะที่ร้อยละ 28 มีอายุมากกว่า 60 ปี และมีเพียงร้อยละ 18 ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและโดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาเพียง 8 ปีในโรงเรียน หรือเทียบเท่ากับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนที่จะเลิกเรียน

- เกษตรกรชาวนาฟิลิปปินส์ร้อยละ 65 ไม่ต้องการให้ลูกทำนา ในขณะที่ร้อยละ 35 หรือ 1 ใน 3 ของทั้งหมด ต้องการให้ลูกสืบทอดอาชีพชาวนา โดยเกษตรกรชาวนาจากทั้ง 3 พื้นที่ ส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ลูกประกอบอาชีพชาวนา (จังหวัด Iloilo ร้อยละ 73 จังหวัด Isabela ร้อยละ 72 และจังหวัด Agusan del Norte ร้อยละ 53) โดยต้องการให้ลูกหางานในเมืองหรือการออกไปทำงานในต่างประเทศ

- เหตุผลหลักที่เกษตรกรชาวนาต้องการให้ลูกสืบทอดอาชีพชาวนาพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ หรือร้อยละ 45.8 ต้องการให้ลูกอย่างน้อยคนใดคนหนึ่งดูแลบริหารจัดการพื้นที่นาที่มีอยู่และสืบสาน ประเพณีทำนา เหตุผลรองลงมาได้แก่ เป็นตัวเลือกเดียวสำหรับการทำมาหากิน (ร้อยละ 21.4) เป็นแหล่งรายได้ของครอบครัวหรือรายได้เสริม (ร้อยละ 21.3) และการทำนาช่วยให้มั่นใจว่ามีอาหารเพียงพอ (ร้อยละ 18.8)

- เหตุผลหลักที่เกษตรกรชาวนาไม่ต้องการให้ลูกสืบทอดอาชีพชาวนาพบว่า ร้อยละ 72.7 เชื่อว่าลูกจะไม่มีอนาคตที่ดีเมื่อทำอาชีพชาวนาเหมือนอย่างตนเอง เหตุผลรองลงมาได้แก่ เป็นงานที่ใช้แรงงานค่อนข้างหนัก ต้องการให้ลูกได้รับการศึกษาอย่างน้อยในระดับวิทยาลัย เพื่อจะได้มีงานที่มั่นคงและรายได้ที่ดีกว่า (ร้อยละ 32.02) และลูกไม่สนใจที่จะทำอาชีพทำนา (ร้อยละ 20.6)

- เกษตรกรชาวนาฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การทำงานนอกภาคการเกษตรในเขตเมืองหรือต่างประเทศเป็นงานที่ดีกว่า เนื่องจากสถานะทางสังคมและรายได้ที่สูงกว่าการทำงานในภาคการเกษตร สำหรับเกษตรกรชาวนาที่ต้องการให้ลูกเดินตามรอยเท้าสืบสานอาชีพชาวนาส่วนใหญ่ จะเป็นเกษตรกรชาวนาที่สูงอายุมากๆ ที่ต้องการให้คนในครอบครัวเข้าช่วยบริหารจัดการหรือดูแลที่นาแทน นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า เกษตรกรชาวนาฟิลิปปินส์ยังคงวนเวียนอยู่กับวงจรแห่งความยากจน เนื่องจากส่วนใหญ่มีทุนไม่เพียงพอที่จะทำนา ทำให้เกษตรกรชาวนาส่วนใหญ่ได้ชื่อว่าผู้เป็นหนี้หรือลูกหนี้จากสังคม

 

โอกาสผู้ส่งออกข้าวไทย แต่อนาคตไทยอาจซ้ำรอยฟิลิปปินส์

ปัญหาเกษตรกรชาวนาที่เริ่มมีอายุมากขึ้นและเสี่ยงสูญหายไปจากสังคมในอนาคต ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในฟิลิปปินส์ แต่ในประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวสำคัญในอาเซียนอื่นๆ เช่น เวียดนาม และไทย ต่างก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ ด้วยพื้นที่การเกษตรที่มีอย่างจำกัด เพราะประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและประกอบไปด้วยเกาะเล็กๆ หลายเกาะ และประสบปัญหาภัยพิบัติบ่อยครั้ง ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหาก ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาเกษตรกรชาวนาสูงวัยและไม่มีคนรุ่นใหม่เข้ามาสืบทอดอาชีพทำนา อาจเป็นวิกฤติมากกว่าประเทศอื่นๆ และมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารและภาวะการณ์ขาดแคลนอาหารภายในประเทศในอนาคต

ทั้งนี้ วิกฤติอาชีพชาวนาที่มีแนวโน้มลดจำนวนลงในฟิลิปปินส์ อาจสร้างโอกาสในการส่งออกข้าวไทยมายังฟิลิปปินส์ในอนาคตได้เพิ่มมากขึ้น และอาจเป็นช่องทางในการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตามประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวหลักป้อนตลาดโลก ก็ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยปัจจุบันชาวนาไทยก็มีจำนวนลดน้อยลง ดังนั้นประเทศไทยเองจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงของอาชีพชาวนาที่จะสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว โดยการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาการปลูกข้าวให้มีต้นทุนที่ต่ำลง การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ตลอดจนการส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อการพัฒนาข้าวไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

นอกจากนี้การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวก็เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดข้าวฟิลิปปินส์ ซึ่งปัจจุบันพบว่าข้าวขาวพื้นนุ่มที่เป็นที่นิยมในตลาดแต่ประเทศไทยยังไม่มีผลผลิตข้าวดังกล่าวในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถเร่งปลูกพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มเพื่อป้อนตลาดฟิลิปปินส์ได้ ก็จะช่วยเพิ่มยอดการส่งออกได้ต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


‘จิ้งหรีดไทย’ โปรตีนทางเลือกที่ตลาดโลกต้องการ

ความมั่นคงทางอาหารโอกาสฟื้นธุรกิจไทยพ้นวิกฤติ


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6277 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5039 | 23/10/2022
วิกฤติสูญพันธุ์! ลำบาก–รายได้ต่ำ ชาวนาฟิลิปปินส์ไม่อยากให้ลูกรับไม้ต่อ