6 เทรนด์ทำงานแบบ Flexible Hour ที่นายจ้างควรรู้

Edutainment
30/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 10793 คน
6 เทรนด์ทำงานแบบ Flexible Hour ที่นายจ้างควรรู้
banner

การกำหนดเวลาเข้า-ออกงานออฟฟิศแบบเดิมจะเริ่มหายไป เมื่อเทรนด์การทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Hour กำลังมาแรง โดยเฉพาะรูปแบบการทำงานหลังโควิด-19 จากสถานการณ์ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ปัจจุบันรวมถึงพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป การทำงานแบบ Flexible Hour จึงกลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมมากในประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนจะแพร่ไปทั่วโลก

การทำงานแบบยืดหยุ่นนี้มีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายในรูปแบบการจ้างงาน Part Time, Freelance หรือ Contract แต่ความจริงแล้วยังมีระบบการบริหารจัดการอีกหลายรูปแบบ ในแนวทางของ Flexible Hour ที่สามารถนำมาปรับใช้ภายในองค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการบริหารทรัพยากรบุคคล ไปจนถึงสามารถใช้ดึงดูดคนเก่งๆ เข้ามาช่วยงาน และตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้คนในยุค New normal ได้ด้วย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

Flexible Hour เป็นปัจจัยที่คนรุ่นใหม่มองหาในการหางาน

IWG (International Workplace Group) ผู้ดำเนินการบริหารแบรนด์ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานชั้นนำระดับโลก ได้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกในการดึงดูดและรักษาบุคลากรคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญกว่า 15,000 คน ในหลากหลายอุตสาหกรรมกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ที่มีการให้พนักงานจัดลำดับความสำคัญของผลประโยชน์ที่ได้จากการทำงาน พบว่า

งานที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Working) ด้านเวลา สถานที่ รูปแบบการทำงาน การแต่งตัว ฯลฯ กลายเป็นปัจจัยหลักที่คนทำงานนำมาพิจารณาตัดสินใจเลือกตำแหน่งงานหรือเปลี่ยนงาน มีจำนวน 80% ของคนที่เข้าร่วมทดสอบปฏิเสธงานที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน 70% บอกว่าการมีตัวเลือกเรื่องสถานที่ทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำมาสู่เหตุผลหลักในการพิจารณาหางานใหม่ และมีจำนวน 54% มองว่าการเปิดกว้างเรื่องสถานที่ทำงานสำคัญกว่าการได้วันหยุดเพิ่ม

นอกจากนี้การทำงานแบบมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จหรือเป้าหายของงานที่มีความยืดหยุ่นในด้านต่างๆ เช่น เรื่องเครื่องแต่งงาน การแต่งกาย สถานที่ฯ เป็นตัวช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้คนทำงาน ช่วยให้เกิดการใช้ชีวิตแบบสมดุลทั้งในด้านของเรื่องส่วนตัวและหน้าที่รับผิดชอบ คนทำงานจึงเกิดความสุข ทุ่มเทให้กับงานและองค์กรเต็มที่ มีความภักดีต่อองค์กรและทำงานยาวนานขึ้น

ซึ่งเป็นผลดีต่อองค์กรที่จะได้เห็นคนทำงานปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองเต็มที่ ในการทำงานโดยที่ยังเกิดผลดีต่อองค์กรด้านการช่วยลดค่าใช้จ่ายและได้คนเก่งมาช่วยงานได้ตรงจุดด้วย เพราะนอกจากเรื่องของผลตอบแทนรายได้แล้ว ยังมีเรื่องของความยืดหยุ่นเข้ามาเป็นตัวแปรหลักๆ ในการเลือกงานของคนเก่งๆ ด้วยเช่นกัน

 

การทำงานแบบ Flexible Hour

รูปแบบการทำงานแบบ Flexible Hour นั้นมีหลากหลาย แล้วแต่การนำไปปรับใช้ให้เข้ากับหน่วยงานหรือองค์กรของตัวเอง และไม่มีกฎตายตัวตามความหมายของ “ความยืดหยุ่น” ที่ตั้งอยู่บนความคุ้มค่าของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่มีผลประโยชน์ร่วมกันและมีความสุข มีรูปแบบหลักๆ ดังนี้

1. Working from home : เป็นกระแสนิยมไปแล้วในไทยตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และบางองค์กรมีการปรับใช้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการทำงานจากบ้านของพนักงานแบบเต็มเวลา แต่สามารถควบคุมการทำงานได้ผ่านระบบการตรวจสอบที่แต่ละองค์กรเลือกใช้ ทำให้ได้คุณภาพงานเหมือนเดิม ในขณะที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง เหมาะสำหรับกลุ่ม Start Up ที่ไม่ได้เช่าออฟฟิศและธุรกิจองค์กรทั่วไป                     

2. Term-time working : การทำงานแบบนี้จะมีการกำหนดวันเวลาในการทำงานและวันหยุดได้ด้วยตัวเอง เป็นรูปแบบการทำงานที่มีการจัดทำเป็นแผนหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยในช่วงวันที่หยุดพนักงานจะไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ยังจัดว่าเป็นพนักงานประจำที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องเข้ามาทำงาน ส่วนใหญ่ใช้กับพนักงานที่มีโปรแกรมเรียนต่อ

3. Flexi time : เป็นรูปแบบการบริหารจัดการคนทำงานอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหลายหน่วยงาน โดยการทำงานรูปแบบนี้จะเป็นแบบพนักงานประจำปกติที่ต้องเข้าออฟฟิศมาทำงานทุกวัน หากแต่ไม่กำหนดเวลาเข้า-ออกงานตายตัว มีความยืดหยุุ่นเรื่องเวลาเข้า-ออกงาน แต่จะไปกำหนดในส่วนของชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของบริษัทแทน     

4. Compressed hours : การทำงานที่มีความยืดหยุ่นในเวลาการทำงาน โดยคิดแบบเหมารวมเวลาทำงานเป็นรายสัปดาห์ ทำให้พนักงานสามารถวางแผนการทำงานได้ หรือช่วยตอบโจทย์ในช่วงที่ต้องเร่งรีบทำงานแบบล่วงเวลา โดยไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาได้ด้วย การทำงานที่มีความยืดหยุ่นแบบนี้จึงช่วยให้องค์กรสามารถตอบรับพนักงานที่ความสามารถแต่บ้านอยู่ไกลได้

5. Commissioned outcomes : เป็นความยืดหยุ่นที่เหมือนกับการทำงานแบบ Remote นั่นคือ พนักงานจะทำงานจากมุมไหนของโลกหรือเวลาไหนก็ได้ แบบไม่มีการจำกัดทั้งเวลาและสถานที่ ซึ่งมุ่งผลไปที่ผลลัพธ์ของผลงานหรือผลสำเร็จจากการว่าจ้างและการทำงานเพียงเท่านั้น โดยอาจมีการทำสัญญารองรับเรื่องผลลัพธ์หรือผลงานให้มีการวัดผลตามข้อตกลง

6. Annual hours : เป็นรูปแบบการทำงานที่ได้รับการตอบรับดีในต่างประเทศ เพราะมีความยืดหยุ่นเรื่องชั่วโมงการทำงานแบบรายปี จึงทำให้พนักงานสามารถมีวันลาพักร้อนยาวได้ตามแผนการทำงานของตัวเอง เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการทำงานตลอดทั้งปี หรืองานบริการที่ต้องเปิดให้บริการทุกวัน

 

แหล่งอ้างอิง

https://www.m2fnews.com/lifestyle/work-and-life/24418  

https://thestandard.co/flexible-working/  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


Remote Working เทรนด์นี้มาแน่ หลังโควิด-19

5 สิ่งที่ต้องมีเพื่อเปลี่ยนบ้านให้เป็น Virtual Office



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
774 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
11012 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
13486 | 03/10/2023
6 เทรนด์ทำงานแบบ Flexible Hour ที่นายจ้างควรรู้