10 Megatrends อาหารเพื่อโลกที่หิวโหย

SME Update
30/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3346 คน
10 Megatrends อาหารเพื่อโลกที่หิวโหย
banner

จากรายงาน 2020 Global Report on Food Crises ที่จัดทำโดยโครงการอาหารโลก หรือ WFP เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020 ระบุว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวและชะงักงัน จากที่ก่อนการเกิดโรคระบาด มีคนทั่วโลกกว่า 135 ล้านคนกำลังเผชิญกับการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง และกังวลว่าวิกฤตโควิด 19 จะทำให้ประชากรโลกที่ขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวภายในสิ้นปีนี้ 

โดยกลุ่มประเทศในแอฟริกาจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด รองลงมาคือทวีปเอเชีย ละตินอเมริกา และกว่า 77% ของประชากรที่จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารรุนแรงนั้น มาจากประเทศที่มีสงคราม ความขัดแย้งภายในประเทศ เช่น เยเมน ซูดานใต้ ซีเรีย ซึ่งก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นั้น พบว่าสาเหตุหลักใหญ่สำคัญที่ทำให้โลกเสี่ยงขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤต ได้แก่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. ความขัดแย้งทางการเมืองและสงครามที่ทวีความรุนแรง จนทำให้ประเทศชาติขาดความสงบ เศรษฐกิจตก บ้านเมืองเสียหาย ผู้คนล้มตาย การเกษตรถูกทำลาย ในเขตภูมิภาคตะวันออกกลางกับเอเชียมีผู้เผชิญวิกฤติอาหารถึง 77 ล้านคน กว่าครึ่งเป็นเพราะความขัดแย้งภายในประเทศอย่างรุนแรง สงครามกลางเมืองทำให้ 79 ล้านคนทั่วโลกต้องทิ้งบ้านเรือนอพยพย้ายถิ่น เป็นต้นเหตุของการขาดอาหาร หลายคนรับความช่วยเหลือในฐานะผู้อพยพลี้ภัย

2. สภาพอากาศแปรปรวนและการแพร่ระบาดของโรค-แมลงศัตรูพืชที่วิวัฒนาการให้แข่งแกร่งขึ้น เพื่อความอยู่รอดเป็นเหตุให้การเพาะปลููกมีต้นทุนในการจัดการสูงขึ้น และผลผลิตเสียหาย

- พื้นที่การเกษตรลดลง จากการถูกแปรสภาพไปเป็นพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย รองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

- ภัยพิบัติและโรคระบาดที่เกิดขึ้นในคนและสัตว์ โรคระบาดในมนุษย์ หรือสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ที่ต้องเผชิญอาจไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคการเกษตรโดยตรง แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจครัวเรือนที่อาจทำให้คนตกงาน ขาดรายได้ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ส่วนการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดในสัตว์นั้นจะส่งผลต่อจำนวนผลผลิมวลรวม และทำให้ราคาสินค้าและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์พุ่งสูงขึ้น ดังเช่นการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน

 

โอกาสที่มาพร้อมวิกฤติขาดแคลนอาหาร

สำหรับโอกาสที่มาพร้อมกับสถานการณ์นี้คงหนีไม่พ้นธุรกิจด้านอาหารทั้งแบบสด แช่แข็ง แปรรูป รวมถึงภาคการผลิตอย่างภาคการเกษตรของประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าด้านอาหาร ซึ่งประเทศไทยได้ปั้นเป้าหมายที่จะไปให้ถึงการเป็นครัวของโลก หลังการบุกตะลุยทำข้อตกลง FTA ของรัฐบาลไทยนำไทยทะยานขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารและการเกษตรติดอันดับ 10 ของโลกและอันดับที่ 2 ของเอเชีย ในปี 2019

โดยปัจจุบันประเทศไทยทำการส่งออกสินค้าเกษตรไป 18 ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง มีมูลค่ารวม 16,833 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 70 ของการส่งออกสินค้าเกษตรไทยทั้งหมด มีคู่ค้าสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน จีน และญี่ปุ่น สอดคล้องกับสถิติช่วงครึ่งปี 2562 ที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสินค้าเกษตรด้วย FTA สูง โดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ผลไม้สดและแปรรูป ไก่สดแช่แข็ง เป็นต้น

สำหรับ FTA ที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสินค้าเกษตรสูงเป็นอันดับต้น ได้แก่ FTA ระหว่างอาเซียน (ฝรั่ง มะม่วง มังคุด), FTA เออาเซียน-จีน (ยางพารา ทุเรียน มันสำปะหลัง มะม่วง ฝรั่ง มังคุด), FTA ไทย-ญี่ปุ่น (เนื้อไก่และเครื่องในไก่ เนื้อสัตวปีกแช่แข็ง กุ้งปรุงแต่ง), FTA อาเซียน-ญี่ปุ่น (กุ้งปรุงแต่ง ปลาแมคเคอเรล/ปลาซาร์ดีนปรุงแต่ง), FTA อาเซียน-เกาหลี (ฝรั่ง มะม่วง มังคุด), FTA อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ปลาทูน่าปรุงแต่ง) และ FTA ไทย-ชิลี (ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ๊ค)

นอกจากนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ได้รายงานว่าในปี 2020 ประเทศไทยได้ดุลการค้ากับภูมิภาคอาเซียน จากการส่งออกสินค้าภาคการเกษตรในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรรวม 113,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 จากปี 2019 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีมูลค่าส่งออกเป็น 75,415 ล้านบาท

กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

1. น้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล

2. เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

3. ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้

4. ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม  

5. สัตว์มีชีวิต อาทิ สุกรมีชีวิตอื่นๆ ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 50 กิโลกรัมขึ้นไป สุกรมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์ โคตัวผู้

สำหรับการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 38,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ร้อยละ 41.43 โดยกลุ่มสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ พืชผักที่บริโภคได้โดยเฉพาะมันสำปะหลังและถั่วเขียว ปลาและสัตว์น้ำ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ข้าวและธัญพืช และของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม

ขณะที่ท่ามกลางพิษเศรษฐกิจโควิด 19 ภาพรวมแล้ว โอกาสของธุรกิจอาหารและสินค้าเกษตรของไทยจึงยังคงมีอยู่ในตลาดโลก เอสเอ็มอีควรมีการยกระดับสินค้าให้มาตรฐานรองรับการส่งออกสินค้าเกษตรและใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาภาคเกษตร โอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีความมั่นคงด้านอาหารและเป็นครัวโลก ก็คงจะเป็นจริงได้ท่ามกลางวิกฤติด้านอาหารโลกในขณะนี้

10 เมกะเทรนด์อาหารของโลก

สำหรับเรื่องของอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน มี 10 เมกะเทรนด์อาหารของโลกที่จะส่งผลกระทบแนวคิดการสร้างความยั่งยืนด้านอาหารของโลก คือ

1. ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณความต้องการอาหารของโลกเพิ่มขึ้นทุกปี

2. EU เอเชีย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

3. แอฟริกา อัตราการเพิ่มขึ้นของประชาการอย่างรวดเร็ว

4. สภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวนทำให้โลกผลิตอาหารได้น้อยลง

5. นวัตกรรมอาหารจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น มีการนำนวัตกรรมไปต่อยอดเพื่อการพัฒนาด้านอาหาร

6. การบริโภคอาหารที่มาจากพืชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

7. ผู้บริโภคจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

8. การระบาดของ โควิด 19 กระตุ้นวิกฤติขาดแคลนอาหาร

9. แมลง คือแหล่งโปรตีนทุนทุนต่ำและมีความยั่งยืน

10. Circular Economy เป็นประเด็นที่ผู้ผลิตอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญ

สำหรับเมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมอาหารและแนวคิดการสร้างความยั่งยืนด้านอาหารที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เรื่องนี้ผู้ผลิตอาหารไทยสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ ไปวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาดอย่างเหมาะสม เพราะดูจะล้าสมัยไปแล้วกับการขายสินค้าอาหารในรูปแบบวัตถุดิบแบบเดิมๆ 



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1232 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1591 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1877 | 25/01/2024
10 Megatrends อาหารเพื่อโลกที่หิวโหย