ความมั่นคงทางอาหารโอกาสฟื้นธุรกิจไทยพ้นวิกฤติ

SME Update
10/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2824 คน
ความมั่นคงทางอาหารโอกาสฟื้นธุรกิจไทยพ้นวิกฤติ
banner

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก จนรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยผลักดันให้ไทยเป็นฐานผลิตอาหารป้อนสู่ “ครัวโลก” โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไทยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความมั่นคงด้านความเพียงพอของอาหารเพื่อบริโภค เนื่องจากประเทศยังคงความสามารถในการผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอต่อประชากรและเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจกลับมาอย่างรวดเร็ว ด้วยการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลกมากขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ในช่วง 5 ปีล่าสุด 2558-2562 ไทยสามารถผลิตข้าวได้จำนวน 22.31 ล้านตัน บริโภคในประเทศจำนวน 11.67 ล้านตัน, ไข่ไก่ ผลิตได้จำนวน 14,117.80 ล้านฟอง บริโภคในประเทศจำนวน 13,930 ล้านฟอง, ไก่เนื้อ ผลิตได้จำนวน 1.69 ล้านตัน บริโภคในประเทศจำนวน 1.23 ล้านตัน, สุกร ผลิตได้จำนวน 1.44 ล้านตัน บริโภคในประเทศจำนวน 1.27 ล้านตัน, กุ้งเพาะเลี้ยง ผลิตได้จำนวน 0.33 ล้านตัน บริโภคในประเทศจำนวน 0.04 ล้านตัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อย่างไรก็ตามในส่วนการส่งออกและการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร (ไม่นับสินค้าเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม) ปี 2562 ส่งออกมูลค่า 1,101,047 ล้านบาท นำเข้ามูลค่า 489,561 ล้านบาท ดุลการค้า 612,151 ล้านบาท โดยสินค้าเกษตรอาหารที่มีมูลค่าการส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้และผลิตภัณฑ์, ข้าวและผลิตภัณฑ์, ปลาและผลิตภัณฑ์, น้ำตาลและผลิตภัณฑ์, เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ส่วนสินค้าเกษตรและอาหารที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์, พืชอาหารและผลิตภัณฑ์, พืชน้ำมัน, ผลไม้และผลิตภัณฑ์, ผักและผลิตภัณฑ์

ไทยผลิตอาหารเพียงพอ มีความมั่นคงยั่งยืน

ประเทศไทยถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีความมั่นคงทางอาหารสูงสุด พึ่งพาตนเองได้ในเกือบทุกรายสินค้าสำคัญ แม้ว่าในช่วงเผชิญกับวิกฤติโควิด 19 และภัยแล้งคุกคามในปี 2563 กระนั้น นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ยืนยันว่า ไม่ได้ทำให้ผลผลิตลดลงมากถึงขั้นกระทบห่วงโซ่อุปทานอาหาร แต่จะมีปัญหาระยะสั้นด้านการขนส่งที่ขาดช่วงระหว่างการเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดสินค้าคงค้าง เกิดอาหารเน่าเสียขึ้นในซัพพลายเชน ส่วนระยะยาวไม่น่าเป็นห่วงเรื่องการผลิต เพราะไทยสามารถผลิตอาหารได้ปริมาณสูงและเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

ที่ผ่านมาแม้ว่าไทยเผชิญกับวิกฤติโควิด 19 และภัยแล้งคุกคามแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านอุปทาน เพราะประเทศผลิตอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ มีผลผลิตมากพอที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก สินค้าเกษตรหลายชนิดที่ไทยสามารถส่งออกได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด และบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, สับปะรดกระป๋องส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ส่งออกข้าวและน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งออกกุ้งและไก่เนื้อเป็นอันดับ 3 และ 4 ของโลกตามลำดับ เป็นต้น จนเป็นผลให้ไทยสามารถประกาศตัวเป็นครัวของโลก ได้ตามนโยบายของรัฐบาลได้วางไว้อย่างไม่มีปัญหา

 

โลกขาดแคลนอาหาร ไทยเป็นที่พึ่งได้ยามยาก

ในช่วงทั่วโลกประสบปัญหากับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และกำลังเผชิญกับวิกฤติขาดแคลนอาหารนั้น นางอังคณา บอกว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการที่ไทยจะส่งออกสินค้าออกไปเสิร์ฟความต้องการของโลกได้ เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่อันดับ 12 ของโลก และมีสินค้าหลายรายการที่ติดท็อป 5 ของโลก เช่น ข้าว, ไก่แปรรูป, น้ำตาล, อาหารแปรรูป และทูน่ากระป๋อง เป็นต้น

โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ประมาณการว่าความต้องการบริโภคข้าวของโลกอยู่ที่ประมาณ 494.54 ล้านตัน (ข้าวสาร) ส่วนประเทศไทยผลิตข้าวได้จำนวน 24.3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการบริโภคในประเทศอยู่ที่ 11.8 ล้านตัน ส่วนที่เหลือสามารถส่งออกไปยังตลาดโลกได้

นอกจากนี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ภูมิภาคอาเซียนมีการประชุมผู้นำอาเซียน+3 สมัยพิเศษเกี่ยวกับการรับมือโควิด 19 ที่ประกอบไปด้วย ประเทศบรูไน, เมียนมา, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่มุ่งประเด็นที่เน้นให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร และเห็นชอบว่าควรใช้กลไกของอาเซียน+3 คือ องค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 เพื่อตอบโจทย์ภาวะวิกฤติโควิด 19 โดยเฉพาะเรื่องข้าว ซึ่งประเทศไทยก็มีความพร้อมที่จะเป็นผู้ขายข้าวภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว

ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติโควิด 19 ไม่เพียงคุกคามสุขภาพของมนุษย์เท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและกำลังเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร แต่หากมองในแง่บวกประเทศไทยถือว่าได้รับอานิสงส์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางอาหารเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศและสามารถส่งออกป้อนตลาดโลก ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและธุรกิจไทยโดยรวมให้กลับมาแข็งแกร่งตามปกติภายใต้ภาวะปกติใหม่ หรือ New Normal


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ดัน SMEs ภาคการเกษตรไทยสู่ครัวโลกหลังโควิด-19

COVID-19 ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
ความมั่นคงทางอาหารโอกาสฟื้นธุรกิจไทยพ้นวิกฤติ