FTA จีน-กัมพูชา "แต้มต่อ" การค้าและการลงทุน

SME Go Inter
12/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2801 คน
FTA จีน-กัมพูชา "แต้มต่อ" การค้าและการลงทุน
banner

เมื่อ 12 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาได้มีพิธีลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างจีน-กัมพูชา เกิดขึ้นที่กรุงพนมเปญ โดยมีหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐของจีน และนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย

ความตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากที่จีนและกัมพูชาเพิ่งเริ่มต้นการเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีฉบับนี้เมื่อปีที่แล้ว และถือเป็นความตกลงแบบทวิภาคีฉบับแรกของกัมพูชา ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สอดรับกับนโยบาลรัฐบาลกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา ที่มุ่งเน้นการปฏิรูปนโยบายทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดการจ้างงาน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การจัดทำความตกลงได้อย่างรวดเร็ว และครอบคลุมทั้งภาคการค้า การท่องเที่ยว และการเกษตรขนาดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสองประเทศ และเป็นหลักหมุดสำคัญทางประวัติศาสตร์สำหรับความสัมพันธ์กัมพูชา-จีน

และที่สำคัญความตกลงฉบับนี้น่าจะช่วยส่งเสริมการส่งออกของกัมพูชา หลังจากที่โดนสหภาพยุโรป (อียู) ระงับสิทธิพิเศษทางการค้า (Everything But Arms : EBA) ไปเมื่อปีก่อน จากความวิตกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ส่งผลให้สินค้าสำคัญของทางกัมพูชาทั้งสิ่งทอและรองเท้าที่จะส่งออกไปอียู ต้องกลับไปเสียภาษีในอัตราปกติ ทั้งนี้ หลังจากลงนามความตกลงแล้วทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าหมายให้มีผลใช้บังคับภายในปี 2563

ตามข้อมูลนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2563) ระบุว่า เบื้องต้นคาดว่าความตกลงเอฟทีเอกัมพูชา-จีน จะครอบคลุมสินค้าเกือบ 20,000 รายการ โดยแบ่งเป็นสินค้าที่จีนส่งออกไปกัมพูชากว่า 9,500 รายการ และสินค้าจากกัมพูชาส่งออกไปจีนกว่า 10,000 รายการ

สำหรับการลดภาษีสินค้านั้น จีนตกลงจะยกเว้นภาษีนำเข้าทันทีให้กับสินค้าเกษตรจากกัมพูชาประมาณ 95% จากจำนวนสินค้า 340 รายการ อาทิ พริกไทย พริกแห้ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระเทียม น้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เช่น หอยแมลงภู่ ปู ปลา ผัก ผลไม้ ส่วนสินค้าที่ยังเหลืออีก 5% จะได้รับการยกเว้นใน 10 ปี หรือประมาณ ปี 2573

แน่นอนว่าหลังจากทั้งสองประเทศลดภาษีระหว่างกัน ย่อมจะช่วยผลักดันการค้าให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากในปี 2562 ที่การค้าระหว่างกัมพูชา-จีน มีมูลค่า 9,420 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.3% จาก 7,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561

แต่ไม่ใช่เพียงจะเกิดผลในด้านการค้าเท่านั้น ความตกลงฉบับนี้ยังครอบคลุมด้านการลงทุน ซึ่งอาจทำให้ “นักลงทุนจีนหันเหการลงทุนไปสู่กัมพูชา” เพื่อผลิตและส่งออกสินค้ากลับไปยังประเทศจีน โดยอาศัยสิทธิประโยชน์จากความตกลง เท่ากับว่าความตกลงฉบับนี้เป็นการสร้าง "แต้มต่อ" ด้านการค้าและการลงทุนให้กัมพูชา

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งความตกลงนี้อาจจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยได้เช่นเดียวกัน ทางสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา วิเคราะห์ว่า ในอนาคตกัมพูชาจะเน้นการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกให้ได้ปริมาณมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในด้านการผลิตและแปรรูปสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในประเทศยังมีไม่มากพอ จึงยังเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโอกาสของไทยในการปักหมุดการลงทุนในกัมพูชา เพื่อขยายฐานการผลิตสินค้า

โดยการขยายธุรกิจเข้าไปไม่ว่าจะในรูปแบบของการร่วมทุนหรือการเป็นบริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น หรือไปลงทุนผลิต อาศัยแรงงานกัมพูชาที่ยังมีต้นทุนค่าแรงงานไม่สูงมากนัก เพื่อส่งออกไปจีนโดยใช้การลดภาษีตามเอฟทีเอ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ เช่น เกษตรแปรรูป ซึ่งไม่เพียงจะอาศัยทรัพยากรจากกัมพูชา แต่ไทยยังจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับกัมพูชา ถือเป็นการพัฒนาคู่ซึ่งกันและกันด้วย


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


จีน-ญี่ปุ่น ประชันสมรภูมิการค้า การลงทุนใน CLMVT

"อาเซียน" เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนยุโรป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
7716 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2470 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5692 | 23/10/2022
FTA จีน-กัมพูชา "แต้มต่อ" การค้าและการลงทุน