ชี้ชะตาส่งออกไทย! เดินหน้าเจรจา FTA ไทย-อียู

SME Go Inter
17/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3019 คน
ชี้ชะตาส่งออกไทย! เดินหน้าเจรจา FTA ไทย-อียู
banner

ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานจีน และภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น ดังที่เห็นได้จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดเม็ดเงินและการลงทุนกลับเข้าประเทศ ตลอดจนสถานการณ์ Brexit ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรและกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (Eurozone) รวมถึงปัจจัยภายในของไทยเองที่ภาคธุรกิจชะลอการลงทุน เพื่อรอความชัดเจนและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง ทำให้หลายหน่วยงานจากทั้งภาครัฐและเอกชนปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของจีดีพีของไทยลงมาอยู่ที่ 3%

ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดังกล่าว การรื้อฟื้นการเจรจาความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ที่หยุดชะงักไปกว่า 6 ปี ดูจะมีความหวังมากขึ้น เมื่ออียูได้ส่งสัญญาณขานรับการจัดตั้งรัฐบาลของไทยเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม ที่ผ่านมา จากข้อมติคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2557 ที่ระบุไว้ว่า อียูจะเริ่มเจรจาความตกลง FTA กับไทยอีกครั้ง เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ซึ่งต่อมาเมื่อปลายปี 2560 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้ปรับข้อมติให้เริ่มสำรวจความเป็นไปได้ของการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลง FTA กับไทย ภายหลังความคืบหน้าการเตรียมการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560

ดังนั้นปัจจุบันจึงถือได้ว่าเงื่อนไขต่างๆ เอื้อต่อการรื้อฟื้นการเจรจาอย่างเป็นทางการ อีกทั้งในฝั่งของอียูเองก็เพิ่งได้คณะผู้บริหารชุดใหม่จากเลือกตั้งสภายุโรปเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม โดยนโยบายของคณะผู้บริหารชุดใหม่ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นไป จะมีความหมายต่ออนาคตของอียูและทิศทางการค้าระหว่างอียูกับไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 




โอกาสของไทยจากความตกลงไทย-อียู FTA

การเจรจาความตกลง FTA ฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าไทยในตลาดอียู ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีกำลังซื้อสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่อียูมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีครอบคลุมประเทศต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย อาทิ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพลวัตทางการค้าระหว่างประเทศในอนาคต

ประโยชน์อันดับแรกของความตกลง FTA ฉบับนี้ คือการลดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย ที่ปัจจุบันไม่มีแต้มต่อทางการค้าเมื่อเทียบกับคู่แข่งบางประเทศ เช่น เวียดนาม หลังไทยถูกตัดสิทธิ GSP ไปเมื่อปี 2558 นอกจากนี้ความตกลง FTA จะช่วยลดมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าอื่นๆ ทั้งในกลุ่มอาหารแปรรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ โดยหากการเจรจาสำเร็จจะช่วยให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในอียู โดยเฉพาะจากประเทศที่มีโครงสร้างสินค้าคล้ายคลึงกับไทยและมี FTA กับอียู เช่น เวียดนาม

นอกจากนี้ ความตกลง FTA ฉบับนี้ ยังมีประโยชน์ในแง่การส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและ know-how ต่างๆ จากการเข้ามาลงทุนของบริษัทอียูในไทย ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการภายในประเทศในสาขาที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและอียูมีความเชี่ยวชาญ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ การบินและโลจิสติกส์ นวัตกรรมด้านเกษตรและอาหาร ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม เป็นต้น

โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งจะเป็นแม่เหล็กที่ช่วยเหนี่ยวรั้งนักลงทุนรายเดิมที่มีความเสี่ยงจะย้ายการลงทุนไปที่อื่น และดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนรายใหม่ให้ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออก เพื่อจับตลาดที่มีกำลังซื้อสูงอย่างอียูได้อีกด้วย

 

ทิศทางการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลง FTA กับไทย

ปัจจุบันอียูเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับ 3 ของไทย โดยในปี 2561 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 4.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.4 ของการค้าไทยกับโลก ซึ่งในจำนวนนี้ไทยส่งออกไปอียู 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอียู 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้น 5% และ 8% จากปี 2560 ตามลำดับ  ด้านการลงทุน อียูเป็นนักลงทุนอันดับ 3 ของไทยรองจากญี่ปุ่นและอาเซียน โดยมีมูลค่าการลงทุนในไทย ณ สิ้นปี 2561 รวม 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย)


อย่างไรก็ดี การเจรจาความตกลง FTA ไทย-อียูอาจไม่ใช่เรื่องง่ายและอาจต้องใช้เวลา โดยประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงไทย-อียู FTA มีดังนี้

การทำความตกลง FTA กับอียู จะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการทำความตกลงการค้าเสรีของไทย โดยเฉพาะประเด็นการเปิดเสรีภาคบริการ และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าข้อบทใหม่ที่อียูใช้ในการเจรจาความตกลง FTA กับประเทศต่างๆ ในระยะหลัง คือ ข้อบทเรื่องการค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Trade and Sustainable Development) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงาน

อย่างไรก็ตาม คาดว่าอียูจะใช้ความตกลง FTA กับสิงคโปร์และเวียดนามที่เพิ่งลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2561 และมิถุนายน 2562 ตามลำดับ เป็นต้นแบบในการเจรจากับไทย

จากการสังเกตการเจรจาความตกลง FTA ระหว่างอียูกับเวียดนามและสิงคโปร์ พบว่าเนื้อหาการเจรจามีรายละเอียดและครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเจรจาใช้เวลาและทรัพยากรมากขึ้น รวมทั้งอาจเพิ่มแรงกดดันให้ไทยต้องยอมรับข้อเรียกร้องต่างๆ ของอียู ทั้งในเรื่องการเปิดตลาดยา รถยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการยกระดับมาตรฐานสินค้าไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานอียูที่มีความเข้มงวดมากที่สุดมาตรฐานหนึ่งของโลก

นอกจากนี้ การเจรจายังรวมถึงเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผลประโยชน์สำคัญของอียู รวมทั้งกฎระเบียบด้านการแข่งขันทางการค้า การเข้าสู่ตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การระงับข้อพิพาทในการลงทุนระหว่างภาคเอกชนกับรัฐ การค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการปฏิบัติตามพันธกรณีขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ กรณีล่าสุด เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม ที่ผ่านมา มีตัวอย่างของ FTA ระหว่างอียู-สาธารณรัฐเกาหลี ในกรณีสิทธิในด้านแรงงานที่อียูตัดสินใจจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทต่อเรื่องการดำเนินตามพันธกรณี

สำหรับประเด็นการเปิดเสรีภาคบริการ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจของไทยและเป็นต้นทุนของการทำธุรกิจอื่น อาจส่งผลในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ทางอียูต้องการผลักดันในเรื่องของการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน คือการเข้าถึงตลาดที่อียูมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะสาขาโทรคมนาคม การเงิน และการขนส่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การผูกขาดทางการค้าในตลาดที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญเหล่านี้ในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลที่ดีจากภาครัฐ


ความตกลง FTA ระหว่างอียูกับกลุ่มประเทศอื่นๆ

ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ กลุ่มประเทศ Mercosur ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ โดยเฉพาะในสินค้าที่ไทยเป็นเจ้าตลาดในอียู อาทิ เนื้อไก่และน้ำตาล เป็นที่น่าจับตามอง เนื่องจากจะเป็นช่องทางให้สินค้าคู่แข่งจากประเทศเหล่านั้นมีความได้เปรียบสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น และจะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดยุโรป ตลอดจนสิทธิประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการทำ FTA กับอียูในอนาคต

กระนั้น ประเด็นการเมืองภายในอียูอาจส่งผลต่อทิศทางการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลง FTA กับไทย ซึ่งล่าสุดนาง Ursula von der Leyen รัฐมนตรีกลาโหมของเยอรมนีซึ่งเป็นนักการเมืองสาย Pro-EU ได้รับการสนับสนุนด้วยเสียงข้างมากในสภายุโรปให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (President of the European Commission) คนใหม่แทนนาย Jean-Claude Juncker

เรื่องนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเสียงสนับสนุนจากกลุ่มพรรคการเมืองผสม 383 เสียงจาก 733 เสียง เป็นคะแนนที่ค่อนข้างจะ “ปริ่มน้ำ” ซึ่งสร้างความกังวลในแง่เสถียรภาพและความเชื่อมั่นทางการเมือง และอาจจะทำให้การผลักดันนโยบาย หรือการผ่านร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการยุโรปมีความยากลำบาก เนื่องจากต้องประสานประโยชน์และข้อขัดแย้งกับกลุ่มต่างๆ อีกทั้งการที่ฝ่ายพรรคการเมืองฝ่ายขวาและฝ่ายขวาจัด มีจำนวนที่นั่งในสภายุโรปมากขึ้น ก็อาจทำให้การเจรจาผลประโยชน์มีความเข้มข้นและซับซ้อนมากขึ้นได้

ทั้งนี้ คาดว่าอียูจะยังคงผลักดันให้คู่เจรจาความตกลง FTA ต่างๆ ดำเนินการตามค่านิยมหลักของอียู อาทิ ประชาธิปไตยและระบบการค้าเสรีที่เป็นธรรม ตลอดจนสิทธิมนุษยชนต่อไป รวมทั้งประเด็นที่เป็นนโยบายสำคัญของอียู เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อมและความเท่าเทียมทางเพศ ที่อาจได้รับการผลักดันให้เป็นมาตรฐานใหม่ในการเจรจาความตกลงการค้ากับอียูต่อไป

 

อ้างอิง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์                    

           : รายงานเรื่อง ไทย-อียู FTA: ความหวังที่สดใสท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก


จีน - สิงคโปร์ ขับเคลื่อนการค้าเสรี CSFTA หนีเทรดวอร์

สหรัฐฯ ตัด GSP ไทย สินค้าอะไรกระทบบ้าง




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6055 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1935 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4913 | 23/10/2022
ชี้ชะตาส่งออกไทย! เดินหน้าเจรจา FTA ไทย-อียู