ความเป็นไปได้ในการทำ FTA ไทย-อังกฤษ

SME Go Inter
18/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3405 คน
ความเป็นไปได้ในการทำ FTA ไทย-อังกฤษ
banner

เหลือเวลาอีก 9 เดือน ก่อนที่สหราชอาณาจักร (ยูเค) จะแยกตัวจากสหภาพยุโรป หรือ (Brexit) ได้อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 1 ม.ค. 2564 หลายประเทศวางแนวทางตั้งรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก Brexit  

ในส่วนของไทยมีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รับหน้าที่ด้านเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดเตรียมแผนการทำงานรับมือเรื่องนี้ไว้ 4 ด้าน คือ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


1. เจรจากับอียูและยูเค ในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อแก้ไขตารางข้อผูกพันโควตาภาษีภายใต้ WTO เนื่องจากทั้งยูเคและอียูจะต้องมีการจัดสรรโควตาใหม่ให้กับสมาชิก WTO รวมทั้งไทย ในสินค้า เช่น มันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลัง ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวหัก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก ปลากระป๋อง เป็นต้น โดยหลักการ สำหรับการกำหนดโควตาใหม่ที่ไทยจะได้รับจัดสรรจากทั้งยูเคและอียู เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่น้อยกว่าที่ไทยเคยได้รับเมื่อครั้งที่ยูเคยังรวมอยู่ในอียู

2. จัดทำรายงานการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างไทยและยูเค หรือ Trade Policy Review (TPR) เพื่อศึกษาภาพรวมการค้าระหว่างสองฝ่าย รวมถึงโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนในสาขาธุรกิจที่ไทยสนใจ หรือมีศักยภาพในตลาดยูเค รวมถึงมาตรการของยูเคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนของไทย เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-ยูเคในอนาคต โดยผลการจัดทำรายงานกำหนดแล้วเสร็จในเดือน มี.ค.2563

3. ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับยูเค

4. ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักเรื่องเบร็กซิตและการเตรียมการของไทย

โดยเบื้องต้นกรมได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดยูเค ในฐานะตลาดส่งออกที่สำคัญในปี 2561 ไทยส่งออกไปยูเค มูลค่า 4,027 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า  3,012 ล้านเหรียญสหรัฐ 

 

ส่องโอกาสสินค้าส่งออกไปยูเค

ประเภทสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อุปกรณ์ขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้า แร่และโลหะ ส่วนประเภทสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ แร่ และโลหะ 

ดังนั้นหากไทยสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดี จะสร้างโอกาสและประโยชน์ต่อสาขาธุรกิจ อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยมีศักยภาพ เช่น เกษตรกรรมและการผลิตอาหาร ทั้งเนื้อไก่ ผลไม้ อาหารเสริม และอาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าประมง ทั้งอาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็ง ปลาทูน่า กุ้ง สินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ตลอดจนภาคบริการและลงทุนที่ไทยมีศักยภาพ เช่น การท่องเที่ยว การขนส่ง การเงิน โทรคมนาคม และการก่อสร้างด้วย

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งหลายฝ่ายกังวลว่า "ยูเค" จะมีการมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษีที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนของไทย ทั้งจากการเก็บภาษีสูงในสินค้าเกษตรและประมง การกำหนดมาตรการสุขอนามัยที่มีมาตรฐานสูง

โดยเฉพาะระดับสารปนเปื้อน และสารเคมีตกค้าง ตลอดจนมาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ เช่น การติดฉลากและบรรจุภัณฑ์ มาตรการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) ซึ่งไทยจะนำรายงานทบทวนนโยบายการค้าที่จัดทำหารือกับฝ่ายยูเค  เพื่อจัดทำเป็นรายงานร่วมกัน และจะนำไปสู่การหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

ประเด็นนี้ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยูเค จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาประโยชน์และโอกาสในการส่งออก


เอกชนหวังให้เปิดเจรจาFTA ไทย-อังกฤษ

มุมมอง ดร.รัชดา เจียสกุล  กรรมการผู้จัดการ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ศึกษา "โอกาสและแนวทางการขยายการค้าและการลงทุนของไทยและสหราชอาณาจักร" ระบุว่า ปัจจุบันไทยมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับ 17 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าการค้าครอบคลุมประมาณ 64% ของการค้าไทย แต่ยังเหลืออีก 36% ของการค้าไทยที่ประเทศไทยไม่มีเอฟทีเอด้วย

หากพิจารณากลุ่มประเทศที่ไทยยังไม่ความตกลงเอฟทีเอทั้งหมด จะพบว่าในจำนวนี้ "ยูเค" เป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้ากับไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐ และสหภาพยุโรป (อียู) ทั้งยังเป็นตลาดที่ไทยได้ดุลการค้า และหากไทยเปิดเจรจาเอฟทีเอกับยูเค จะช่วยขยายโอกาสทางการค้า ลดปัญหาและอุปสรรคการค้าระหว่างกันทั้งในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษี ตลอดจนสร้างโอกาสในการลงทุน โดยเฉพาะในธุรกิจ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย การผลิตกระดาษ และการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม จังหวะนี้แม้ว่าจะเหลือเวลาอีก 9 เดือน ที่ Brexit จะมีผล แต่หากภาครัฐสามารถเดินหน้าเจรจาการค้าไปพลางก่อน ซึ่งยูเคเป็นคู่ค้าที่ให้ความสำคัญกับไทย ในฐานะที่ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญ หากรัฐบาลดำเนินการสำเร็จ จะสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทยในอนาคตได้



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เปลี่ยนผ่าน Brexit โอกาสและความท้าทาย 

Brexit อาจส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกไทย

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6062 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1937 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4919 | 23/10/2022
ความเป็นไปได้ในการทำ FTA ไทย-อังกฤษ