การเปิดตลาดเสรี ให้ผู้ผลิตสามารถขายของตรงถึงตัวผู้บริโภคได้หรือทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ง่ายขึ้น เป็นการให้บริการตรงโดยไม่ต้องผ่านคนกลางอีกต่อไปทำให้คนทำงานไม่จำเป็นต้องสังกัดองค์กร มีอิสระในการทำงานมากขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่เรียกว่า “Gig Economy” คือระบบเศรษฐกิจที่ผู้ทำงานรับงานเป็นครั้งๆ ตามความต้องการแบบ “ออนด์ดีมานด์” หรือทำแบบชั่วคราวไม่เต็มเวลาทำงานตามความสมัครใจ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
Gig Economy ประกอบด้วยงานชนิดที่เป็น พาร์ตไทม์ทำบางช่วงเวลา งานลักษณะฟรีแลนซ์หรืองานที่รับมาจากคนอื่นอีกต่อเป็นพวก
เอาท์ซอร์ส คนที่ทำงานแบบนี้เรียกว่า “Gig
Worker” (แรงงานชั่วคราว)
แนวคิดนี้เริ่มจากความเบื่อหน่ายบรรยากาศการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่แบบเดิมๆ
เบื่อปัญหาการจราจร Gig Worker จึงเป็นกระแสฮิตอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะมิลเลนเนียล
(อายุราว 22-36 ปี) ที่ต้องการมีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น แทนการทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ
หรือไปทำงานในระบบ
ดังนั้นหากพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ
ก็มักจะเลือกเป็นฟรีแลนซ์ รับงานอิสระ ยิ่งถ้าเป็นคนเก่ง มีฝีมือ ย่อมมีคนมาว่าจ้างงาน
แนวโน้มต่อจากนี้ไปในอนาคต คนจะหันมาทำงานในลักษณะนี้มากขึ้นอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันประเทศก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีมากขึ้น
gig worker ก็จะเกิดมากขึ้นด้วย
รูปแบบการทำงานของ Gig Worker นอกจากไม่ต้องทำงานทุกวันเหมือนเช่นพนักงานประจำแล้ว
ยังมีอิสระในการทำงานควบคู่ไปกับใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนอีกด้วย
หลายคนอาจทำงานเพียง 2-3 วันต่อสัปดาห์ หรืออาจทำงานที่บ้านผ่านเทคโนโลยีอันทันสมัย
ดังนั้นหากเจ้าของงานต้องการดูความคืบหน้าของงานก็สามารถส่งงานทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง
ๆ ได้ทันที
ถอดแบบ Uber - Airbnb
สำหรับธุรกิจ Gig Economy ที่งานส่วนใหญ่มีตัวกลางเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ดังเช่นกรณีของ อูเบอร์ คนขับแท็กซี่ซึ่งเป็นคนทำงานอิสระตามใจชอบ รับเงินโดยอูเบอร์เป็นตัวกลาง
Airbnb ที่เจ้าของได้รับค่าเช่าผ่านคนกลาง คนกลางที่สร้างระบบเครือข่ายดิจิตอลขึ้นเป็นผู้จับผู้ซื้อผู้ขายมาพบกัน
โดยตนเองได้เงินเช่นเดียวกับผู้ร่วมกิจกรรม
จากการสำรวจของ เวิลด์ อีโคโนมิค
ฟอรั่ม ในปี 2018 พบว่ามิลเลนเนียลเชื่อว่าธุรกิจแบบสตาร์ทอัพและการเป็นเจ้าของธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนรุ่นใหม่
และกว่า 78%
เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยสร้างงานได้ทุกวันนี้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกมากมายช่วยขับเคลื่อนGig Economy ให้คนทั่วไปสามารถมีอาชีพอิสระได้แค่มีโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว
แม้ว่าในปัจจุบันดีกรีของความเป็น Gig Economy ในบ้านเรายังอยู่ในระดับต่ำ
แต่ก็เริ่มมีแนวโน้มในการเคลื่อนไหวเข้าสู่ Gig Economy อยู่ไม่น้อย
อันเห็นได้จากการประกอบธุรกิจSMEs โดยเฉพาะSMEs ที่อยู่ในในแวดวง Digital Economy
อย่างไรก็ตามขณะนี้มีหลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของพนักงาน โดยอาจลดหรือจำกัดการจ้างพนักงานประจำลงเรื่อย ๆ แต่เพิ่มการจ้างพนักงานสัญญาจ้าง, ฟรีแลนซ์ เข้ามาทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะกับบางตำแหน่งที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ยิ่งทำให้ Gig economy ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลจากการสำรวจของ Adecco Thailand ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างปี
2016 -2017 พบว่า ผู้สมัครงานต่างให้ความสนใจงานรูปแบบสัญญาจ้างระยะสั้นมากถึง 53%
ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ ที่ชี้ว่าตัวเลขของ
Gig worker กว่า 30% ของคนในวัยทำงาน มีความสนใจการทำงานระยะสั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆเพราะ Gig worker ไม่มีเงื่อนไขของอายุเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกเขาอาจจะอายุน้อยกว่า 20 ปี
หรือมากกว่า 60 ปีก็ได้ ถ้ามีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ก็สามารถร่วมงานได้ทั้งสิ้น
ยิ่งตอนนี้หลายองค์กรธุรกิจพยายามปรับตัวเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นด้วย
จึงเป็นโอกาสของพวก Gig worker ที่จะเข้ามาร่วมงาน
มีการคาดการณ์กันว่าจากนี้ไปจนถึงประมาณปี
2568 หรืออีก 6-7 ปีข้างหน้า การจ้างพนักงานประจำจะมีอัตราลดลงอย่างรวดเร็ว
เพราะค่านิยม ความต้องการ และวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ต้องการความอิสระ และคล่องตัว
ทั้งนั้นเพราะ เจนเนอเรชั่น Y หรือ มิลเลเนียล เกิดมาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้คนกลุ่มนี้สามารถสื่อสาร
ทำธุรกิจ และทำอะไรหลาย ๆ อย่างประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วโดยผ่านโลกออนไลน์
Gig Economy จึงเป็นเทรนด์ ซึ่งไม่ได้จะมาแล้วผ่านไป เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือผู้ประกอบการSMEsจะต้องเรียนรู้ให้เท่าทันเพื่อใช้ประโยชน์ และเตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทั้งคนที่เป็นนายจ้างและพนักงานทุกคน