ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอาหรับเอมิเรต์ (United
Arab Emirates: UAE) ถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลางมาอย่างต่อเนื่อง
มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเฉลี่ยปีละ 10,636 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้วยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคในปี 2562 มีมูลค่ากว่า 428.30
พันล้านเหรียญสหรัฐจึงเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง
โดยผู้ประกอบการไทยที่หวังจะขยายการส่งออกไปตลาดนี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดในการผลิตสินค้าที่ผ่านการรับรองเครื่องหมายฮาลาล เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค UAE ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวอิสลามกว่าร้อยละ 70
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ในปี 2560 ทางรัฐบาล UAE ได้เปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่กำกับดูแลการนำเข้าสินค้าฮาลาล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านมาตรฐานและการตรวจรับรองระบบฮาลาลต่อการส่งออกของไทย จากที่เคยส่งออกสินค้าฮาลาลไปยัง UAE ในปี 2559 มูลค่าสูงถึง 239.35 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยเฉพาะสินค้าประเภทสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ที่ไทยส่งออกไป
UAE
ในปริมาณสูงเฉลี่ย 12.39 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีถือเป็นท็อปอันดับที่
5 ของไทยด้วย แต่ภายหลังจาการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานขณะนั้นสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
หน่วยงานรับรองฮาลาลของไทยยังไม่ผ่านการตรวจประเมินตามระบบใหม่
จึงทำให้ไทยต้องเว้นการส่งออกไปถึง 2 ปี
กระทั่งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ทางสถาบันตรวจรับรองระบบฮาลาลของ
UAE
หรือ Emirates International Accreditation Center
(EIAC) ได้ตรวจประเมินการรับรองมาตรฐานฮาลาลของไทย โดยสุ่มตรวจจากสถานประกอบการและโรงเชือดสัตว์
และมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา
หลังจากแก้ไขปัญหาการส่งออกดังกล่าวได้แล้ว จะทำให้ไทยสามารถเปิดตลาดในกลุ่มสินค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ใน UAE ได้อีกครั้ง โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าไป UAE ในกลุ่มสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสินค้าฮาลาลชนิดอื่นๆ จะกลับมา ทั้งยังเป็นการสร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการรับรองในสินค้าฮาลาลของไทย อันจะเป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยขยายตลาดสินค้าฮาลาลไทยใน UAE และตะวันออกกลางได้มากขึ้น
สำหรับขั้นตอนในการส่งออกตามมาตรฐานนี้
ผู้ประกอบการต้องประสานงานกับกรมปศุสัตว์ เพื่อลงทะเบียนความปลอดภัยด้านอาหารกับกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของ
UAE (MOCCAE) ยื่นตรวจรับรองมาตรฐานฮาลาลกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
โดยใบรับรองสินค้าฮาลาล (Halal Certificate) จะมีอายุ 3
ปีและทุกปี
ทั้งนี้สถานประกอบการ/โรงเชือดที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลามฯ แล้ว จะดำเนินการลงทะเบียนรายชื่อสินค้าและการติดฉลากสินค้าของผู้ประกอบการกับทางยูเออี เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการรายนั้นๆ ผ่านการตรวจ และในระหว่างการขนย้ายหรือส่งออก ก็ยังต้องใช้เอกสารในการขนย้ายเนื้อสัตว์และใบรับรอง ทั้งใบรับรองสุขอนามัย ใบรับรองสินค้าฮาลาล และใบรายการบรรจุหีบห่อ ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนการนำเข้าสินค้าที่ UAE ด้วย
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<
ปักหมุดตลาดมุสลิม แนะผู้ส่งออกอาหารฮาลาลใช้ประโยชน์ FTA
"ธุรกิจอาหาร" โอกาสที่ติดมากับวิกฤติโควิด