“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี”

SME Update
04/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4223 คน
“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี”
banner

การโยกย้ายฐานการผลิตจากเกาะฮ่องกงมาลงทุนไทย เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนนับตั้งแต่เกิดสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ทวีความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2561 ถาโถมด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคงยืดยื้อมายาวนานกว่า 6 เดือน และยังไม่มีท่าทีจะยุติลงในเร็วๆ วันนี้ ยิ่งเร่งนักลงทุนฮ่องกงตัดสินใจมาลงทุนในในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)เร็วขึ้น เพื่อหลีกหนีวิกฤติครั้งนี้

โดยที่ผ่านมากลุ่มนักลงทุนจากฮ่องกง ได้ขอรับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการส่งทุน(บีโอไอ) อย่างต่อเนื่อง เข้ามาลงทุนในไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2558 มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปีดังกล่าวนักลงทุนฮ่องกงได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอจำนวน 26 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนจำนวน 3,796 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2561 ยอดขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอพุ่งขึ้นเป็นจำนวน 42 โครงการ คิดมูลค่าเงินลงทุนจำนวน 18,817 ล้านบาท  ทว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562(ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน 2562) มีกลุ่มนักลงทุนจากฮ่องกงแห่เข้าไปได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเพิ่มเป็นจำนวน 44 โครงการ คิดมูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 8,937 ล้านบาท ส่วนใหญ่การลงทุนอยู่ในกิจการด้านธุรกิจบริการ เช่น กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ, กิจการด้านโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ,อุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมเบา

จากปัญหา 2 ปัจจัยลบดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้กลุ่มนักธุรกิจจากฮ่องกงต้องแตกไลน์การผลิตเข้ามาลงทุนในไทย เนื่องจากไทยอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ยอดเยี่ยมของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของกลุ่มชาติอาเซียนและกลุ่มประเทศ CLMV(กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ที่มีอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแข็งแกร่งเคียงข้างกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดทั้งแต่ละประเทศก็เร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงเป็นใยแมงมุมทั้งกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อความสะดวกในการค้า การลงทุนและท่องเที่ยวระหว่างกัน

ขณะที่ประเทศไทยเอง มีจุดแข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้านตรงที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน แล้วยังเร่งผลักดันให้ต่างชาติมาลงทุนใน โครงการอีอีซี ซึ่งเป็นโครงการที่มีศักยภาพและมีความพร้อมครบครัน ที่สามารถรองรับการลงทุนจากต่างชาติแบบไร้ขีดจำกัดที่อยากเข้ามาลงทุนด้วย เช่นเดียวกับนักลงทุนฮ่องกง ที่ต้องการขยายฐานการผลิตสู่ประตูภูมิภาคอาเซียนและกลุ่มประเทศ CLMVT(กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย)ทางโครงการอีอีซี เปิดกว้างอ้าแขนต้อนรับตลอดเวลา

 

ทัพนักธุรกิจฮ่องกงลุยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน-ดิจิทัล

ก่อนหน้านี้ทัพนักธุรกิจจากฮ่องกงกว่า 70 ชีวิตยกทัพมาเยือนไทย เข้าพบ ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ เพื่อขอการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านการลงทุนในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน, อุตสาหกรรมการผลิต, ดิจิทัล,บริการมูลค่าเพิ่มสูง พร้อมร่วมมือผู้ประกอบการไทย และสตาร์ทอัพ ในการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนนักธุรกิจชั้นนำอีกกว่า 50 ในฮ่องกงยังมีความสนใจและมองหาโอกาสการลงทุนในด้านต่างๆในไทย

เช่นเดียวกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฮ่องกง (Hong Kong Software Industry Association) ก็ได้นำนักธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและซอฟต์แวร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี) และกลุ่มสตาร์ทอัพจากฮ่องกง จำนวน 25 ราย ซึ่งได้เข้าพบบีโอไอเพื่อรับฟังนโยบายการส่งเสริมการลงทุน และการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยว่ามีเงื่อนไขอย่างไรเป็นพิเศษบ้าง

โดยเฉพาะระบบนิเวศ (Ecosystem) ของไทย ในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยภายหลังจากสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฮ่องกงได้รับทราบข้อมูลครบทุกด้าน ก็ได้แสดงเจตจำนงและยืนยันว่าเข้าจะขนกลุ่มนักธุรกิจมาร่วมลงทุนกับไทยอย่างแน่นอน โดยการลงทุนลักษณะร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกันให้เกิดความมั่นคงในอนาคต

“หลังจากเกาะฮ่องกงเผชิญกับวิกฤติทางการเมืองที่ยังไม่มีวีแววว่าจะยุติเมื่อไหร่ สร้างความหวั่นวิตกให้กับบรรดานักธุรกิจเป็นอย่างมาก หากปล่อยเหตุการณ์ลากยาวโดยไม่มีจุดยุติ ย่อมส่งกระทบเศรษฐกิจฮ่องกงถึงขั้นทรุดยาว เพราะฮ่องกงถือว่าเป็นศูนย์กลางการเงิน การค้า ชั้นนำของโลก ด้วยเหตุนี้จึงเร่งกระตุ้นกลุ่มนักลงทุนตัดสินใจไปลงทุนต่างประเทศเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ โดย 1 ในนั้นประเทศที่นักธุรกิจฮ่องกงตัดสินใจมาลงทุนด้วยมากที่สุด คือโครงการอีอีซีของไทย เพราะได้รับสิทธิ์ประโยชน์มากมายที่เอื้ออำนวยในการตัดสินใจลงทุนด้วยโดยไม่ลังเล”


CLMVT เชื่อม One Belt One Road

ภาคอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่ได้รับผลจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนโดยตรง ประกอบด้วย กิจการดิจิทัล และเทคโนโลยีชีวภาพ ส่งผลทำให้ธุรกิจเหล่านี้เริ่มมาลงทุนในไทยมากขึ้น มองเห็นโอกาสการมาลงทุนไปได้สวยเพราะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล อีกทั้งยังมองเห็นศักยภาพของไทยที่เร่งผลักดันกลุ่มชาติ CLMVT ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังมีอัตราการเติบโตแข็งแกร่งเชื่อมโยงนโยบาย One Belt One  Road ของทางการจีน ตลอดทั้งยังเชื่อมโยงพื้นที่ที่เศรษฐกิจเติบโตสูง Greater Bay Area (GBA) ซึ่งครอบคลุมมณฑลกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

อีกทั้งความขัดแย้งในฮ่องกงที่ยาวนานกว่า 6 เดือน ทำให้บรรดานักธุรกิจในฮ่องกงต่างย้ายฐานธุรกิจไปยังประเทศอื่น โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย และมีเงื่อนไขอื้อทำให้ตัดสินใจมาลงทุนในไทยเร็วขึ้น ซึ่งนักธุรกิจกลุ่มนี้ต้องการย้ายมาอาเซียนอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ไทยและเวียดนาม แต่หากเป็นนักลงทุนจากฮ่องกงแล้วละก็ ส่วนใหญ่จะเลือกมาลงทุนไทยเพราะคุยกันรู้เรื่องมากกว่า และไม่มีปัญหาด้านการเมืองหรือประวัติศาสตร์กับจีนเหมือนเวียดนาม ขณะที่นักลงทุนชาติอื่นที่อยู่ในฮ่องกงอาจเลือกเวียดนามมากกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานราคาถูก ส่วนจะย้ายมาลงทุนในไทยก็เป็นไปได้ยากเพราะแรงงานไทยแพงเมื่อเทียบกับเวียดนาม ประกอบกับไทยมีมาตรการดึงดูดกลุ่มนักลงทุนมาลงทุนด้วยส่วนใหญ่เน้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง

ปี 2563 กลุ่มนักลงทุนจากเกาะฮ่องกงจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในโครงการอีอีซี ไม่แพ้กลุ่มนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ภายหลังจาก แคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม,สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งทีมเศรษฐกิจครม.เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงพร้อมที่จะสนับสนุนกลุ่มนักธุรกิจฮ่องกงมาย้ายฐานมาลงทุนในไทยเพื่อหลีกเลี่ยงม็อบต้นที่ยังไม่เห็นทางลงรอยกัน ดังนั้นการสนับสนุนนักลงทุนจากฮ่องกงมาลงทุนในไทยมีโอกาขยับขยายธุรกิจและเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและกลุ่มชาติ CLMVT ได้มากกว่า

ขณะเดียวกันรัฐบาลฮ่องกงพร้อมร่วมมือกับรัฐบาลไทย เร่งรัดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม อาทิ การเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการพัฒนาของไทย ประกอบด้วย ประเทศไทย 4.0 EEC และ “Connecting the Connectivities” กับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีน ให้สอดคล้องกับ Greater Bay Area  ซึ่งฮ่องกงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตลอดจน การส่งเสริมความร่วมมือเศรษฐกิจใหม่ SMEs Start-ups การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยฯ

คาดว่าภายในปี 2563 กลุ่มทุนจากฮ่องกงจะกลายเป็นอีกนักลงทุนมหาอำนาจการลงทุน ในโครงการอีอีซีต่อจากจีนแผ่นใหญ่  แม้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองในเกาะฮ่องกงลากยาวมานานกว่า 6 เดือนอาจจะยุติลงแบบเบ็ดเสร็จ แต่นักธุรกิจในเกาะฮ่องกงยังมองว่าสถานการณ์ยังไม่แน่นอน เพื่อลดความเสี่ยงบรรดานักลงทุนจากเกาะฮ่องกง เลือกจะย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากกว่าจะอยู่แบบเดิม เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอน


500 บริษัทญี่ปุ่นลุยลงทุน EEC

หลายๆ เหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องสนใจ EEC


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
“ฮ่องกง” แตกไลน์แห่ลงทุน“อีอีซี”