วิธีจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน (Renewable)

SME Update
18/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4920 คน
วิธีจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน (Renewable)
banner

Renewable เป็นหัวใจสำคัญในการจัดการทรัพยากรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้อย่างมีศักยภาพ เพื่อลดการใช้อย่างสิ้นเปลือง ลดการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อม และลดจำนวนของเสียที่เหลือค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การไม่มีของเสียหลงเหลืออยู่ในขบวนการผลิตหรือวงจรการใช้งานอีกเลย

โดยจัดการกับวัสดุต่างๆ ที่ยังใช้งานได้ในวงจรการผลิตหรือกระบวนการใช้งาน ให้เป็นวัตถุดิบที่ยังมีประโยชน์ต่อการนำไปสู่การผลิตชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านการรีไซเคิล การปรับปรุงใหม่ การผลิตใหม่ การใช้ซ้ำ การกระจายวัตถุดิบใหม่ การบำรุงรักษา การยืดอายุ และการแบ่งปัน เพื่อให้วัสดุนั้นเกิดการรั่วไหลไปนอกระบบน้อยที่สุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด รวมถึงมีการจัดทรัพยากรหมุนเวียนผ่านการใช้ใหม่ตามสภาพ เช่นนำวัสดุนั้นไปทำเป็นปุ๋ยในไร่นา นำไปสกัดสารเคมีชีวภาพ นำไปหมักย่อยแบบไร้อากาศเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) สร้างทรัพยากรทดแทนให้แก่โลก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การใช้ทรัพยาการหมุนเวียนนั้นจะอยูบนพื้นฐานแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำไปสูความยั่งยืน ใน 8 หลักการที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางการใช้งาน ก่อนหมุนกลับสู่การผลิตอีกครั้ง ได้แก่

1. Durability การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยเพิ่มความคงทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดใช้ทรัพยากร หรือลดของเสียจากซากเหลือทิ้ง

2. Renewability การผลิตหรือการออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ โดยนำวัสดุที่ประกอบด้วยชีวมวลที่มาจากสิ่งมีชีวิต หรือที่สามารถสร้างทดแทนได้อย่างต่อเนื่องมาใช้ในการผลิต

3. Reuse การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

4. Repair การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถทำการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ เมื่อเกิดความเสียหาย เป็นการยืดอายุการใช้งาน

5. Replacement การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อเปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิม ที่อาจใช้ได้ครั้งเดียวหรือมีสารอันตราย เป็นการใช้วัสดุทางเลือกหรือการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตเข้ามาแทน

6. Upgrade การเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์บางชิ้นของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใช้งานได้ทันสมัย โดยไม่ต้องผลิตใหม่หรือทิ้งเป็นขยะ

7. Refurbishment การซ่อมแซมหรือปรับปรุงสินค้าที่ได้รับความเสียหาย มีตำหนิ ที่สามารถส่งคืนกลับไปยังผู้ผลิต พร้อมรับการตรวจสอบตามมาตรฐานของโรงงานอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้ง

8. Reduced Material Use การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต การจัดจำหน่าย การกระจายสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องบริการ

การจัดการตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำและสร้างมลภาวะสู่โลกน้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนสินค้าบางชนิดที่เป็นทรัพยากรและวัสดุหายาก จากการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด

การจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียนที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน

1. การจัดการด้านพลังงาน ทำให้เกิดพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) จากแหล่งที่สามารถกำเนิดพลังงานขึ้นมาเองได้ แล้วสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อีก แบบไม่ส่งผลหระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตกระแสไฟ้ฟ้าด้วยพลังงานลม น้ำ แสงอาทิตย์ หรือการนำวัสดุที่เหลือจากขบวนการผลิตและใช้งานมาทำให้เกิดพลังงาน เช่น การผลิตก๊าซใช้ในครัวเรือนจากแก๊สที่ได้โดยการหมักมูลสัตว์ ,การนำน้ำมันพืชที่ใช้งานแล้วมาผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือนำพลังงานความร้อนจากเคมีไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์

2. การจัดการแบบ Upcycle and Recycle เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุใช้แล้วแบบทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยอัพไซเคิล (Upcycle) เป็นกระบวนการแปลงสภาพของวัสดุหรือสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาเปลี่ยนเป็นวัสดุใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวงจรการใช้งานเดิมของวัสดุนั้น ผ่านการออกแบบเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น การแปรรูปขยะจากพลาสติกถุงปุ๋ย การนำถุงปุ๋ยมาทำเป็นกระเป๋าดีไซน์สวยงาม การนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นโคมไฟประดับแต่งสถานที่ การนำกะลามะพร้าวที่เหลือจากการแปรรูปมะพร้าวมาผลิตจานชามของตกแต่งบ้าน การนำเสื้อยืดเก่ามาปรับเปลี่ยนเป็นถุงผ้า เป็นต้น

สำหรับการรีไซเคิล (Recycle) คือ การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เป็นการส่งคืนวัสดุกลับสู่กระบวนการผลิต ผ่านวงจรของการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันแทนการทิ้งวัสดุเหล่านั้นไป เช่น การรีไซเคิลกระดาษที่สามารถรีไซเคิลกลับมาเป็นกระดาษเพื่อใช้ในการพิมพ์ หรือเปลี่ยนไปเป็นกระดาษแข็งสำหรับใช้งานบรรจุภัณฑ์ แบบเกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือการนำวัสดุที่แตกหักเสียหายกลับเข้าสู่กระบวนการแปรรูป เช่น การหลอมขวดแก้วใบเก่าให้เป็นขวดแก้วใบใหม่ และการนำวัดุเหลือใช้ทางการเกษตรกรคืนสู่พื้นที่การเกษตรในรูปแบบใหม่ เช่น การนำชิ้นส่วนพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปหมักเป็นปุ๋ย แล้วนำกลับไปบำรุงพืช บำรุงดินอีกครั้งหนึ่งเป็นต้น

 

แหล่งอ้างอิง

https://dict.longdo.com/

https://www.scimath.org/

https://www.greennetworkthailand.com/

https://www.expressplaspack.com/

 

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


BCG โมเดล สานพลังเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วงการพลาสติกเจอทางแยก ชีวภาพ- รีไซเคิล แบบไหนคือยั่งยืน?


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
8 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
8 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
10 | 11/04/2025
วิธีจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน (Renewable)