ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลาง หรือ SMEs แม้จะเป็นกลุ่มหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ทว่าผลจากการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมากลับเป็นกลุ่มที่เปราะบางมากที่สุดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากรายงานของ HP Inc ในหัวข้อ “การอยู่รอดเพื่อการฟื้นฟู” กับ SMEs ที่สำรวจผู้ปะกอบการจำนวน 1,600 ราย ใน 8 ประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คือ ออสเตรเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม พบว่าเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่าร้อยละ 50 คาดหวังว่าธุรกิจไม่เพียงแค่สามารถอยู่รอดได้ แต่ต้องสามารถเติบโตหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเห็นด้วยว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูธุรกิจ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โดยผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 60
เห็นว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมแนวคิดนวัตกรรมต่อกระบวนการทำงาน
สร้างรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น อีกทั้งปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้
ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต
และถึงแม้ว่า SMEs มีความต้องการโซลูชั่นที่ให้ความคุ้มค่าเหล่านี้
แต่ยังมีความกังวลเรื่องการบริหารกระแสเงินสด
และความไม่ชัดเจนว่าโซลูชั่นแบบใดที่เหมาะสมและจะหาได้จากที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเพียง
4 ใน 10 ของ SMEs ที่สำรวจมีแผนกหรือบุคคลที่รับผิดชอบในด้านนวัตกรรม
สำหรับตลาดในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 65 ของ SMEs เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะอยู่รอดได้
โดยร้อยละ 65 มีความมั่นใจว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้หลังโควิด-19
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทยยังแสดงถึงการคาดการณ์การเติบโตในปีหน้า ซึ่งเป็นไปในทางบวกโดยคาดว่าจะเติบโต
11% ในขณะที่ร้อยละ 40
เชื่อว่าการนำดิจิทัลมาใช้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ
เมื่อพูดถึงกลยุทธ์การฟื้นตัวในสามอันดับแรก
SMEs ในประเทศไทยเชื่อว่ากลยุทธ์หลักที่สามารถช่วยธุรกิจของพวกเขา
ได้แก่
1. รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น
2. การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
3. คำแนะนำกลยุทธ์ธุรกิจ
สำหรับปัจจัยที่พวกเขาคิดว่าเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ
คือในเรื่องของการตลาดที่ตอบโจทย์กระแสเงินสด และการสรรหาบุคลากร
เนื่องจากประเทศไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทยมีความมั่นใจว่าจะสามารถฟื้นตัวและอยู่รอดหลังจากสถานการณ์นี้ โดยรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูแผนธุรกิจหลังจากโควิด-19