ลู่ทางส่งออกยางแดนภารตะ มุมมองต่อยางไทยที่ผู้ส่งออกต้องรู้

SME Go Inter
10/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2264 คน
ลู่ทางส่งออกยางแดนภารตะ มุมมองต่อยางไทยที่ผู้ส่งออกต้องรู้
banner
อุตสาหกรรมยางพาราของอินเดีย มีผลผลิตในประเทศประมาณ 5 แสนตันต่อปี ขณะที่มีความต้องการใช้ยางพาราในประเทศไม่น้อยกว่า 8 แสนตันต่อปี ดังนั้นจะเห็นว่า อินเดียมีตัวเลขส่งออกยางพาราน้อยเนื่องจากมีการใช้ในประเทศมาก โดยในปี2560 ที่ผ่านมา แม้อินเดียจะมีการส่งออกยางโตถึง 96% แต่มีตัวเลขการส่งออกจำนวน 20,030 ตัน  ในปี 2559 อินเดียส่งออกยางเพียง 800 กว่าตันต่อปี  ขณะที่ประเทศผู้นำเข้ายางจากอินเดีย ได้แก่ เยอรมนี บราซิล สหรัฐฯ อิตาลี ตุรกี เบลเยี่ยม จีน อียิปต์ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ปากีสถาน สวีเดน เนปาล และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ประเด็นสำคัญที่ทำให้ช่วงที่ปีหลายปีที่ผ่านอินเดียมีการส่งออกยางธรรมชาติน้อย เนื่องมาจากการที่ราคายางธรรมชาติในตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มตกต่ำมาโดยตลอด รัฐบาลอินเดียจึงออกมาตรการทุ่มตลาดในประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคายางพาราของอินเดียไม่ให้ตกต่ำลงและมาตรการลดการนำเข้า

อินเดียให้ความสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา โดยการปรับปรุงภาพลักษณ์ของยางพาราของอินเดีย โดยมีคณะกรรมการยาง (Rubber Board) ที่ได้มีนโยบายสร้างความแตกต่างของยางพาราจากอินเดียในตลาดต่างประเทศ นับตั้งแต่ปี 2554 โดยเน้นเป้าหมายการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ยางของอินเดียที่มีคุณภาพ  โดยคณะกรรมการยางอินเดียจะรับรองคุณภาพยางธรรมชาติเพื่อการส่งออกภายใต้แบรนด์ ‘Indian Natural Rubber’ การดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อยางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ยางพาราของอินเดีย แม้ขายน้อย แต่เน้นคุณภาพ ทั้งขายได้ราคาที่สูงกว่าประเทศผู้ส่งออกยางพารารายอื่นๆ

ดีมานด์ดี แต่กำแพงภาษีเป็นอุปสรรค

ด้านบทบาทการเป็นผู้นำเข้าของอินเดียซึ่งมีความต้องการใช้ยางพาราเพื่อป้อนอุตสาหกรรมผลิตยางล้อในประเทศประมาณ 8 แสนตันต่อปี มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน และคาดการณ์ว่าความต้องใช้ยางพาราจะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยอ้างอิงข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตยางล้อประเทศอินเดีย (Automotive Tyre Manufacturers Association: ATMA) ในปี 2560 ระบุว่า อินเดียมีผู้ผลิตยางล้อในประเทศทั้งหมด 39 บริษัท เป็นบริษัทระดับโลกถึง 7 บริษัท คือ MRF, Apollo, JK Inds, CEAT, Goodyear, Bridgestone และ Falcon อีกทั้งยังมีโรงงานผลิตยางล้ออีกประมาณ 60 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นตลาดที่เปิดกว้างสำหรับผู้ส่งออกยางพารา ทั้งรัฐบาลอินเดียประมาณการณ์ว่าจะมีการผลิตรถยนต์เพิ่มมากขึ้นประมาณร้อยละ 25  ในปี 2563

ขณะที่ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกยางพาราไปอินเดียประมาณ 7 – 8 หมื่นตัน/ปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมาก หากดูดีมานด์ในประเทศอินเดียและราคายางพาราไทยต่ำกว่าอินเดีย เนื่องจากรัฐบาลอินเดียกำหนดนโยบายในด้านยางพาราโดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว เพราะยางพาราเป็นสินค้าทางการเกษตรที่อ่อนไหวสำหรับคนอินเดีย

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลอินเดียมีการปกป้องผลประโยชน์ชาวสวนยาง ด้วยการตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้ายางพาราที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ราคาสินค้ายางจากไทยในส่วนที่เป็นวัตถุดิบ สูงถึงร้อยละ 25 อัตราภาษีระดับนี้สูงขึ้นจนเรียกว่า ‘ยากลำบากในการแข่งขัน’ เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกไปประเทศจีนซึ่งเปิดรับมากกว่า แม้ทางการของไทยได้เคยยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับทางการอินเดียในการประชุม FTA ไทย-อินเดีย ให้อินเดียอาจพิจารณาลดภาษีนำเข้าในรูปแบบวัตถุดิบลงหน่อย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการตั้งกำแพงภาษีนี้ เป็นนโยบายสำคัญทางการเมืองนโยบายหนึ่งของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในอินเดีย

แม้ความพยายามของภาคเอกชนที่ลงทุนในอินเดียในส่วนอุตสาหกรรมยางล้อ ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดีย เพิ่มโควตาการนำเข้ายาง และยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับยางธรรมชาติ ที่นำเข้าไปเพื่อผลิตยางรถยนต์ โดยอ้างเหตุราคายางธรรมชาติในอินเดียมีราคาสูง ซึ่งสวนทางกับทางการอินเดียที่อ้างว่าราคายางในประเทศตกต่ำ ถึงกับมีการออกมาตรการทุ่มตลาดยางในประเทศ เพื่อทำให้ราคายางในประเทศขยับสูงขึ้นไปอีก

ผู้นำเข้ายางอินเดีย มองไทย

จากข้อมูลของ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งเคยดำเนินโครงการส่งเสริมยางพาราไทยในตลาดอินเดีย ทั้งนำคณะผู้ประกอบการชาวอินเดียที่มีศักยภาพ เข้าพบกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และผู้ประกอบกิจการยางพาราไทย หลังจากนั้นสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไนก็ได้นำคณะผู้ส่งออกยางพาราไทยไปเยือนอินเดียด้วย ทำให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ทราบมุมมองความเห็นจากฝ่ายอินเดีย

โดยอินเดียเคยนำเข้ายางพาราจากไทย แต่ปัจจุบันนิยมนำเข้าจากเวียดนาม และอินโดนีเซียมากกว่า เพราะสองประเทศดังกล่าวได้พัฒนาคุณภาพยางให้ดีขึ้นกว่าของไทย และยางไทยมีราคาสูงกว่าจึงไม่อาจแข่งขันได้ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโรงงานยางพาราไทยบางแห่งยังเก็บรักษายางไม่ได้มาตรฐาน ขณะที่ผู้ประกอบการไทยชี้แจงว่าดำเนินการตามมาตรฐานแล้ว จนสามารถส่งออกไปยังจีนได้จำนวนมาก (ประเทศไทยส่งออกยางปีละไม่ต่ำกว่า 3.6 ล้านตันต่อปี)

ทั้งผู้ประกอบการอินเดียยังแนะนำให้ไทยกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบวัดคุณภาพในรูปแบบ STR หรือ Standard Thai Rubber ต่อสินค้ายางอัดแท่ง เพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของสินค้าให้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้  และเช่นเคย ผู้ประกอบการไทยชี้แจงว่ามีการกำหนด STR อยู่แล้ว แต่ฝ่ายอินเดียยังยืนยันว่าควรมีการปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวให้ได้มาตรฐานสากลตามที่ฝ่ายอินเดียยึดถือถ้าจะส่งออกยางพารามาอินเดีย

จากข้อมูลความคิดเห็นที่ผู้ประกอบการอินเดียสะท้อนไว้ให้ฝ่ายไทยได้มีการนำไปปรับปรุงคุณภาพยาพาราของไทย ส่วนหนึ่ง เป็นการกระตุ้นในเกิดการยกระดับคุณภาพของผู้ผลิตยางพาราในประเทศให้สูงขึ้น ขณะที่อีกด้าน เอกชนไทยกลับมองว่า นี่คือการกีดกันในอีกลักษณะหนึ่ง คือ อินเดียไม่ได้มองว่ายางพาราไทยคือแหล่งป้อนอุตสาหกรรมยางล้อในอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่อินเดียซื้อขายกับอินโดนีเซียและเวียดนาม แต่มองไทยเป็นคู่แข่งในภาคของการส่งออกยาง เพราะอินเดียส่งออกยางในรูปแบบของแบรนด์ ‘Indian Natural Rubber’ ซึ่งเป็นวัตถุดิบยางขั้นต้นเช่นเดียวกับไทยที่ตลาดใหญ่ยังคงเป็นวัตถุดิบยางขั้นต้น ทำให้ทั้งสองประเทศเป็นภาพคู่แข่ง มากกว่าจะเป็นคู่ค้า

ทางเดียวที่ไทยจะคุยกับอินเดียรู้เรื่อง คือต้องเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยใช้นวัตกรรมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์และค่อยไปบุกตลาดอินเดีย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6065 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1937 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4924 | 23/10/2022
ลู่ทางส่งออกยางแดนภารตะ มุมมองต่อยางไทยที่ผู้ส่งออกต้องรู้