จับตา! อินโดนีเซียผ่อนปรนข้อจำกัดนำเข้าสินค้าเกษตร

SME Go Inter
09/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3377 คน
จับตา! อินโดนีเซียผ่อนปรนข้อจำกัดนำเข้าสินค้าเกษตร
banner

อินโดนีเซียเป็นประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพสูงในหลายด้าน และมีขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2593 ประเทศอินโดนีเซียจะมีขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วสุดในภูมิภาค มีการคาดการณ์ว่าในปี 2565 ตลาดอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซียจะมียอดขายสินค้าสูงถึง 6.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีผู้ใช้ค้าปลีกออนไลน์รวม 43.9 ล้านคน ในปี 2565 หรือเติบโตถึง 8 เท่าจากปี 2560

ด้วยเหตุนี้ อินโดนีเซียจึงเนื้อหอมในหมู่นักลงทุนเพราะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเข้าถึงออนไลน์มากขึ้นนี่เอง ที่ทำให้เป็นช่องทางสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสินค้าจากต่างประเทศได้ดี ผ่านการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์บน Marketplace อินโดนีเซียจึงได้รับการยอมรับให้เป็นตลาดใหญ่สุด เติบโตรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียน จากอดีตที่มีจำนวนประขากรสูงถึงร้อยละ 90 ของประเทศมีรายได้ต่ำ เพียงระยะเวลาไม่นานได้ปรับระดับสู่ประชากรที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคชั้นกลาง ที่แบ่งเป็นสัดส่วนถึง 50% ของประชากรทั้งหมด และมีผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง-สูงมาก มากกว่า 20 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ข้อกีดกันทางการค้าและอุปสรรคทางการค้ากับอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียจึงเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงถึง 261,115,456 คน จำนวนประชากรในขณะที่ประเทศอาเซียนรวมกันทั้งหมด 624,306,388 คน (สถิติ,2561) อินโดนีเซียยังเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ผู้บริโภคในตลาดนี้จึงเป็นชาวมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สินค้าที่จะมีโอกาสสูงในประเทศอินโดนีเซีย จึงเป็นสินค้าฮาลาล แฟชั่นมุสลิม การค้าผ่านช่องทาง modern trade และสินค้าเกษตรและอาหาร (ฮาลาล) จากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญด้านความมั่นคงทางอาหารเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้นสินค้าด้านอาหารและสินค้าเกษตรที่ผ่านมาตรฐานฮาลาล จึงมีโอกาสเติบโตสูงมากในประเทศอินโดนีเซีย

แต่ด้วยความที่สภาพภูมิประเทศของอินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะ การส่งสินค้าไทยไปยังอินโดนีเซียจึงเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะมีระยะทางที่ไกลจากประเทศไทยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงมีขั้นตอนการนำเข้าที่ยุ่งยาก การส่งสินค้าออกไปประเทศอินโดนีเซียที่นอกจากจะต้องมีมาตรฐานฮาลาลแล้ว ยังต้องพบเจอกับขั้นตอนการตรวจสอบแบบพิเศษ การขนส่งและกระจายสินค้าไปตามหมู่เกาะต่างๆ จึงอาจทำไม่ได้สะดวกหรือรวดเร็ว  อีกทั้งยังมีข้อกฎหมายที่เข้มงวด การทำธุรกิจที่อินโดนีเซียจึงเป็นโอกาสที่ท้าทายผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก

Mr.Hermawan Kartajaya นักการตลาดที่มีชื่อเสียงชาวอินโดนีเซียให้ข้อมูลว่า ชาวอินโดนีเซียนิยมซื้อสินค้าอาหาร ทั้งซื้อเพื่อรับประทานเองและซื้อเป็นของฝากให้แก่กัน จนส่งผลให้ชาวอินโดนีเซียมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึงราวร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารหลายชนิด ทั้งนี้ราคาของสินค้าจำเป็นต้องแข่งขันได้ เมื่อเทียบกับผู้ผลิตในประเทศ และประเทศผู้นำเข้าอื่น เช่น เวียดนาม มาเลเซีย

ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปอินโดนีเซีย ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบสินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ เม็ดพลาสติก เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมายของสินค้าไทย ได้แก่ ผู้บริโภคระดับบนประมาณ 22 ล้านคน (ร้อยละ 10 ของประชากร)

 

ข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของอินโดนีเซีย

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีข้อตกลง (AFTA) กับประเทศอินโดนีเซีย เรื่องการยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันกับสินค้าเกือบทุกรายการแล้ว แต่การทำการค้ากับประเทศอินโดนีเซียก็ยังคงมีอุปสรรคเรื่องข้อกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรเกิดขึ้น ดังนี้

1. อินโดนีเซียมีการทางการค้า เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการ Safeguards มาตรการห้ามนำเข้า (Import Ban) มาตรการใบอนุญาตนำเข้า (Import Licensing) มาตรการขึ้นทะเบียน อ.ย. (BPOM-ML Registration) มาตรการด้านสุขอนามัย (SPs)

2. ระบบศุลกากร กฎระเบียบต่างๆ ไม่ชัดเจน/โปร่งใส และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รวมทั้งระบบราชการที่ซับซ้อนยุ่งยากเป็นต้นทุนที่สูงมาก อย่างไรก็ดีภายใต้การรัฐบาลชุดใหม่ของประธานาธิบดีกำลังปรับปรุงกฎระเบียบและการดำเนินการขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนให้รวดเร็วขึ้น ภายใต้ อาทิ “National Single Window” ของกระทรวงการค้าและ “One Stop Service” ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของอินโดนีเซีย (BKPM)

3. ข้อมูลการค้าและการตลาดหาได้ยากและล้าสมัย ต้องมี “connection” กับคนท้องถิ่นซึ่งทำให้นักธุรกิจใหม่ เข้ามาได้ยากและยังการแข่งขันสูงขึ้นจากสินค้าจีน อินเดีย เวียดนาม

4. ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าประเภทผักและผลไม้ไปอินโดนีเซีย ต้องเผชิญกับมาตรการที่ส่งผลกระทบ เช่น การกำหนดจำนวนท่าเรือที่ไทยสามารถขนส่งสินค้าผักและผลไม้ได้เพียง 3 ท่าเรือ ได้แก่

- ท่าเรือ Soekarno-Hatta ที่เมือง Makassar ในเกาะสุราเวสี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากกรุงจาร์กาตาประมาณ 1,500 กิโลเมตร

- ท่าเรือ Tanjung Perak ที่เมือง Surabaya ห่างจากกรุงจาร์กาตา ประมาณ 800 กิโลเมตร

- ท่าเรือ Belawan ที่เมือง Medan ในเกาะสุมาตรา ห่างจากกรุงจาร์กาตาประมาณ 1,450 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้เวลาและต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพสินค้าทำให้สินค้าเน่าเสียหรือมีตำหนิก่อนที่จะไปถึงปลายทาง จึงเป็นเหตุให้ผู้ส่งออกถูกปฏิเสธไม่ให้นำสินค้าเข้ามาขาย และอินโดนีเซียยังห้ามนำเข้าผลไม้บางชนิด เช่น ทุเรียน สับปะรด และมะม่วง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการกีดกันต่อสินค้าข้าวหอมมะลิไทย โดยการนำเข้าข้าวหอมมะลิไปยังอินโดนีเซียต้องมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อสุขภาพเท่านั้น กล่าวคือ หากผู้ประกอบการไทยต้องการส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังอินโดนีเซียต้องเป็นข้าวหอมมะลิชนิดพิเศษ ที่มีผลส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้บริโภคบางกลุ่ม และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าพิเศษ

รวมถึงในทุกครั้งที่มีการนำเข้า ต้องขออนุญาตจากกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียก่อนจึงจะสามารถนำเข้าได้ รวมถึงมีการกำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตนำเข้ากระเทียมและหัวหอม ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในตลาดอินโดนีเซีย จากกระทรวงการค้าและกระทรวงเกษตรเป็นการชั่วคราว จนถึงเดือน พ.ค. 2563 ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่ผ่านมาด้วย

โควิด-19 เปิดโอกาสทางการค้าให้สินค้าเกษตรไทย

อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยในอาเซียน และเป็นคู่ค้าอันดับ 7 ของไทยในโลก โดยในปี 2562 ไทยและอินโดนีเซียมีมูลค่าการค้ารวม 16,330 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอินโดนีเซียมูลค่า 9,098 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยนำเข้าจากอินโดนีเซียมูลค่า 7,232 ล้านเหรียญสหรัฐ รองจากมาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ ต่อมาอินโดนีเซียได้ไฟเขียวให้แก่สินค้าเกษตรไทย

โดยเฉพาะหอมกระเทียม เป็นการขยายระยะเวลาการผ่อนปรนข้อจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรและวัตถุดิบต่างๆ อาทิ การยกเลิกใบอนุญาตนำเข้าสำหรับกระเทียมและหอมหัวใหญ่ ที่อินโดนีเซียประกาศบังคับใช้เป็นการชั่วคราวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ไปอย่างไม่มีกำหนด ยกเลิกจากเดิมที่จะสิ้นสุดมาตรการในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากผู้นำเข้าผลไม้ไทยในอินโดนีเซียเห็นว่ากระบวนการออกใบอนุญาตยังคงมีความล่าช้า และมีผู้นำเข้าเพียงไม่กี่รายที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยลดต้นทุนให้กับสินค้าเกษตรจากไทย รวมทั้งผู้ประกอบการในอินโดนีเซียเอง

ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะเกิดการเชื่อมโยงตลาดสินค้าไทย-อินโดนีเซีย ภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่จะเป็นหน่วยงานช่วยผลักดันให้พัฒนาความร่วมมือกับอินโดนีเซีย ในการช่วยสนับสนุนการค้าของไทย และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะเกษตรกร ให้สามารถขยายการส่งออกสินค้าไปยังอินโดนีเซียได้มากขึ้น

ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลักดันความร่วมมือกับอินโดนีเซียเรื่องการจัดทำการยอมรับด้านมาตรฐานการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตร รวมถึงเชื่อมโยงสินค้าเกษตรศักยภาพของไทยเข้าสู่แพลตฟอร์ม www.thaitrade.com ที่อาจพัฒนาให้เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ของอินโดนีเซียได้ในอนาคต เพื่อเพิ่มช่องทางเข้าสู่ตลาดต่างประเทศให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรของไทยตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.prachachat.net/

http://www.itd.or.th/

https://www.ismed.or.th/

http://www.thaibizindonesia.com/


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6248 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2011 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5017 | 23/10/2022
จับตา! อินโดนีเซียผ่อนปรนข้อจำกัดนำเข้าสินค้าเกษตร