ส่องนวัตกรรม Agri-tech Startup สวิตเซอร์แลนด์

SME Startup
28/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5243 คน
ส่องนวัตกรรม Agri-tech Startup สวิตเซอร์แลนด์
banner

ภายใต้ความตื่นตัวต่อการขาดแคลนอาหารในอนาคต การพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน จึงเป็นเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถึงกับมีการประเมินว่าจะมีการขาดแคลนอาหารในหลายพื้นที่ทั่วโลก อันเนื่องจากการระบาดของโรคและมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้หลายประเทศปิดพรมแดนไม่อนุญาตให้เดินทางผ่านเข้าออก ทุกวันนี้แม้จะไม่ถึงกับขาดแคลนอาหาร แต่ทั่วโลกก็ตะหนักชัดกว่าเดิมแล้วว่า การมีอาหารที่พึ่งพาตนเองได้สำคัญมากในช่วงที่ทั่วโลกเกิดวิกฤติ

ด้วยเหตุนี่ภาคเกษตรผู้ผลิตอาหาร จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของอาหาร โดยปัจจุบันได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาผลผลิตให้สูงขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ขณะที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาภาคเทคโนโลยีการเกษตร (Agri-tech sector) และอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรฉบับใหม่ระหว่างปี 2565 – 2568 ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน Agroscope ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านการเกษตรระดับสหพันธรัฐ เพื่อส่งเสริมให้สวิตฯ เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (smart farming)

โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตร และตั้งเป้าหมายในการเป็นผู้นำการให้บริการคำปรึกษาในสาขา smart farming ของโลกต่อไป ทั้งนี้มีนวัตกรรมด้านการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรต่างๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Startup ในสวิตฯ อาทิเช่น

 

การใช้เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะของบริษัท Gamaya

บริษัท Gamaya ซึ่งเป็นบริษัท Startup ของสวิตฯ ได้พัฒนาและให้บริการการเก็บข้อมูลภาพที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้เทคโนโลยีเก็บภาพแบบ Hyperspectral (Hyperspectral imaging technology) รวมทั้งการใช้ซอฟท์แวร์ที่มีลักษณะเฉพาะในการวิเคราะห์ โดยมี 3 ขั้นตอน คือ

- การเก็บภาพโดยใช้กล้องแบบ Hyperspectral  ที่มีขนาดเล็ก (ultracompact) (ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว) ซึ่งสามารถจับแสงได้ถึง 40 แถบแสง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลความสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูกเพื่อนำไปบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไป

- การใช้เครื่องจักรเพื่อการเรียนรู้ (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลด้านการเกษตรที่มีความแม่นยำสูง โดยใช้ซอฟท์แวร์ในการแปลข้อมูลดิบที่เก็บจากภาพถ่ายไปวิเคราะห์/ตรวจสอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

- ฐานข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ  ที่ส่งผลต่อการเพาะปลูกและข้อมูลแนวทางการเพาะปลูกในระดับท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสู่ฐานข้อมูลการเกษตรระดับโลก

ทั้งนี้เทคโนโลยีการเก็บภาพของบริษัท Gamaya มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลัก อาทิ การใช้โดรนติดกล้องที่สามารถถ่ายภาพที่แสดงแถบสีต่างๆ ตามสภาพของพืชผลและพื้นที่เพาะปลูกจากการสะท้อนของแสง ซึ่งแต่ละแถบสีจะสามารถตรวจสอบและบ่งบอกถึงสภาวะต่างๆ อาทิ การตรวจหาศัตรูพืช การติดโรคของพืช และการขาดโภชนาการของพืช

โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้จำหน่ายเทคโนโลยีดังกล่าวในบราซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายรวมทั้งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นประเทศที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Smart farming โดยเฉพาะการใช้โดรนและการเก็บภาพจากดาวเทียม นอกจากนี้ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ร่วมงานกับบริษัท Mahindra & Mahindra’s Farm Equipment Sector (FES) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตรขนาดใหญ่ของอินเดีย ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้านเกษตรซึ่งใช้เงินลงทุนจำนวน 4.3 ล้านฟรังก์สวิส

 

การเก็บข้อมูลจาก biosignal โดยการติดเซนเซอร์ของบริษัท Vivent SARL

บริษัท Vivent SARL ซึ่งเป็นบริษัท Startup ของสวิตฯ ตั้งอยู่ในรัฐโว ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ได้ริเริ่มพัฒนาการเก็บข้อมูลโดยการติดเซ็นเซอร์กับลำต้นของพืช (เช่น มะเขือเทศในห้องเรือนกระจก) เพื่อจับสัญญาณ bio-signal ของพืชโดยคลื่นสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูง (high frequency electrical signals) เพื่อเก็บข้อมูลสัญญาณต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสามารถจับสัญญาณได้ความตึงเครียดหรือความสุขของพืชที่ได้รับสิ่งกระตุ้นที่ทำให้พืชออกผลิตผลได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้เซนเซอร์ที่นำไปติดบนพืชเพื่อตรวจจับและบันทึกคลื่นสัญญาณ biosignals (คล้ายกับระบบซอฟท์แวร์การจดจำเสียงอัตโนมัติ – automatic voice recognition) จากนั้นจะแปลคลื่นสัญญาณดังกล่าวด้วยระบบ AI ซึ่งการวิเคราะห์คลื่นสัญญาณจากพืชจะช่วยให้สามารถตรวจสอบสภาพการเพาะปลูกต่างๆ อาทิ พืชกำลังถูกรุกรานหรือถูกกินโดยแมลงต่างๆ การติดเชื้อราและการขาดโภชนาการของพืช โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เพาะปลูกหรือเกษตรกร สามารถดำเนินการดูแลและจัดการกับพืชและพื้นที่เพาะปลูกของตนได้อย่างเหมาะสมต่อไป

อีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือนักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาวิศวกรรมจากสถาบันเทคโนโลยี ETH นครซูริก อยู่ระหว่างดำเนินการประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อช่วยในการเพาะปลูก โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวจะสามารถเข้าไปตรวจพื้นที่เพาะปลูกเพื่อตรวจหาและทำลายศัตรูพืช เช่น วัชพืชและแมลงต่างๆ ทั้งนี้จะมีการทดลองใช้หุ่นยนต์ดังกล่าว ณ สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านพืชของสถาบันฯ เมือง Eschikon (ตั้งอยู่นอกเมืองซูริก) โดยคาดว่าจะมีการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบเสร็จในช่วงเดือน พ.ค. หรือ มิ.ย. 2563

เห็นได้ชัดว่าวงการเกษตรสมัยนี้ ได้มีการพัฒนาไปถึงขั้นสามารถผสานกันเทคโนโลยีทุกอย่างได้อย่างกลมกลืน แม้แต่การให้หุ่นยนต์เพื่อทำการเกษตรแทนมนุษย์ ไม่ยึดติดการภูมิปัญญาเก่าก่อนที่แม้จะได้ผล หากมองในอีกมุมหนึ่งคือไม่มีความคิดในการต่อยอดเพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่า ไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่สามารถสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารได้เพียงพอต่อประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

 

แหล่งอ้างอิง : www.globthailand.com

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


“ฟาร์มแนวตั้ง” เกษตรโมเดลใหม่

เกษตรก้าวหน้า สานแนวคิดเกษตรไทยสู่ยุค 4.0


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2286 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4474 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2257 | 22/12/2022
ส่องนวัตกรรม Agri-tech Startup สวิตเซอร์แลนด์