โอกาสการลงทุนธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

SME Update
15/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5604 คน
โอกาสการลงทุนธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
banner

ยานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ หรือ BEV กำลังอยู่ในระยะตั้งไข่สำหรับประเทศไทย หลังจากที่รัฐบาลได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 38/2563 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตนี้ให้เป็นไปตามโรดแมปที่มีเป้าหมายว่าปี 2573 ไทยจะต้องมียานยนต์ไฟฟ้าสัดส่วนถึง 30% หรือ 750,000 คัน

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก (2563) คาดการณ์ว่า จนถึงสิ้นปี 2563 จะมีจำนวนรถ BEV เพิ่มเป็น 5,000 คัน จากตัวเลขครึ่งปี (30 มิ.ย. 2563) ที่มีจำนวนรถ 4,301 คัน หรือเพิ่มขึ้น 700 คัน เฉลี่ยเดือนละ 100 กว่าคัน ส่วนยานยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) ปลั๊ก-อินไฮบริด (PHEV) มีจำนวน 167,767 คัน และสถานีอัดประจุไฟฟ้า 570 แห่ง จำนวนหัวจ่ายไฟฟ้า 1,854 หัวจ่ายจากตัวเลข 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การเดินหน้านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมถูกขับเคลื่อนออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ได้ลุยออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าเฟสแรก ทั้งการลดภาษีนิติบุคคล การนำเข้าเครื่องจักร เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ตัดสินใจลงทุนผลิต

แต่ด้วยเหตุที่ปริมาณการใช้ หรือตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เติบโตมากนัก จึงไม่ได้จูงใจให้มีการผลิต กระทั่งมาตรการดังกล่าวหมดอายุไปเมื่อเดือนธันวาคม 2562 โดยมีผู้ผลิตที่ตัดสินใจลงทุนประมาณ 10 แบรนด์ อาทิ เบนซ์ เอ็มจี โตโยต้า มิตซูบิชิ ฮอนด้า และ FOMM แต่ด้วยเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าเป็นอนาคตที่ทุกประเทศต่างพูดถึง หลายค่ายก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้านี้ไปใช้ในยานพาหนะอื่นๆ ทั้งรถสามล้อตุ๊กตุ๊ก เรือ มอร์เตอร์ไซต์ไฟฟ้า นำมาสู่การปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่

ล่าสุดในที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพิ่มประเภทกิจการ ขยายเวลาและปรับปรุงมาตรการเดิม โดยเปิดให้การส่งเสริมกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รอบ 2 โดยขยายให้คลุมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสาร รถบรรทุก รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

และมีเงื่อนไขว่าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) กรณีลงทุนไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี หากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม

ส่วนกรณีการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 +1 ปี มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน +1 ปี มีปริมาณการผลิตจริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี +1 ปี และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา +1 ปี ถ้ามีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น

สำหรับกิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

หากมาตรการทั้งหมดนี้ สามารถดึงดูดการลงทุนได้ เชื่อว่าน่าจะทำให้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนไทยจะได้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ หรือ BEV กันมากขึ้น 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ออสเตรเลียพัฒนา "พลังงานแห่งอนาคต" รองรับยานยนต์สมัยใหม่ 

4 ประเด็นต้องพิจารณาเพื่อปรับตัวสู่สินค้ารักษ์โลก


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
โอกาสการลงทุนธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย