10 การประยุกต์ใช้ IoT ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

SME Update
13/09/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 9121 คน
10 การประยุกต์ใช้ IoT ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
banner

ปัจจุบันโลกของเรามีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากมาย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตผู้คน รวมถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ  

ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ในปัจจุบันยังขาดแคลนการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ Bangkok Bank SME จึงขอนำตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT กับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป จากการศึกษาของ Infor บริษัท IT ชั้นนำของโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรหรือผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ได้มีไอเดียในการเลือกนำเอามาประยุกต์ใช้ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. IoT ในฟาร์มเพาะปลูก : มีการนำเทคโนโลยี Sensor IoT ด้านต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น Sensor ในการตรวจสอบสภาพอากาศ, Sensor ตรวจสอบระดับความชื้นของดินและความชื้นในทุ่งนา ที่จะช่วยให้สามารถกำหนดเวลาและสถานที่ที่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย และ Sensor การเปิด - ปิดน้ำเข้าทุ่งนาแบบอัตโนมัติ ในการที่เพิ่มประสิทธิภาพการชลประทาน

2. IoT ในฟาร์มปศุสัตว์ : ระบบ Sensor สามารถตรวจสอบน้ำหนักของฝูงสัตว์และสัญญาณสุขภาพของฝูงสัตว์ต่างๆ ได้เช่น การผลิตนมในโคนม การใช้ Sensor และตัวจับเวลาสามารถทำให้วงจรการให้อาหารเป็นไปโดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถควบคุมอาหารของสัตว์ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษายังพบว่า สามารถใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเข้ามาช่วยในด้านการผสมพันธุ์สัตว์ ที่จะได้รับประโยชน์จากการควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย

3. IoT ในไร่หรือสวนปลูกพืช : โดยใช้อุปกรณ์ IoT ในการติดตามการปลูกพืชด้วยระบบ GPS เพื่อช่วยให้ทุกอย่างที่ปลูกในไร่ มีการปรับปริมาณการจ่ายน้ำให้เหมาะกับพืชแต่ชนิด ตามตำแหน่งที่ถูกกำหนดไว้ใน GPS นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Drone และเทคโนโลยี GPS เพื่อการตรวจสอบสภาพแปลงเพาะปลูกได้จากระยะไกล

4. IoT กับการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ : อาทิ การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและตรวจจับสัญญาณเตือนล่วงหน้าต่างๆ และใช้ในรูปแบบการจัดการกับระบบป้องกัน ดังนั้นการมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนสูงติดตั้งในฟาร์ม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ และเพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนความปลอดภัยของผลผลิตในฟาร์ม ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการตลอดจนซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่เทคโนโลยี IoT นอกจากจะใช้ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้แล้ว อุปกรณ์ Sensor เหล่านี้ ยังสามารถแจ้งเตือนให้เกษตรกรทราบว่า ถึงวัน เวลา ที่จะต้องซ่อมบำรุงอุปกรณ์ได้อีกด้วย

5. IoT ต่อการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ : ฟาร์มต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากการติดตั้งและตรวจจับข้อมูลด้วย Sensor เพราะข้อมูลต่างๆ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นได้ เพราะข้อมูลจาก Sensor เหล่านี้ จะทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในอนาคต เพื่อที่จะทำให้ฟาร์มสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มผลกำไรได้มากขึ้น

6. IoT กับอาหารบนโต๊ะ : จากปลายด้านหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน เช่น การใช้ Smart Label เข้ามาทำหน้าที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลของสินค้าที่วางขายอยู่ในซูเปอร์มาเก็ตว่า สินค้านั้นผลิตจากผู้ผลิตรายใด และมีเส้นทางการเดินทางจากฟาร์มมาสู่โต๊ะอาหารได้อย่างไร ซึ่งการใช้เทคโนโลยี IoT จะช่วยทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยละเอียด เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลายพันรายการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

7. IoT กับการแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ : ทำให้ผู้บริโภคสามารถทราบได้ถึงประวัติของผลิตภัณฑ์ รวมถึง ส่วนผสมต่างๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ผลิตสามารถแจ้งข้อมูลให้กับผู้บริโภคได้ทราบ เพียงแค่ผู้บริโภค สแกน QR Code ที่ฉลากข้างผลิตภัณฑ์เท่านั้น ผู้บริโภคก็จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น โภชนาการในผลิตภัณฑ์ หรือส่วนผสมสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ของผู้บริโภค เป็นต้น

8. IoT ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร : ผู้ผลิตสามารถคาดการณ์จำนวนผลผลิตที่กำลังจะออกสู่ตลาด และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประเมินและวางแผนในการปล่อยสินค้าเข้าสู่ตลาดในปริมาณที่เหมาะสม ที่จะทำให้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

9. IoT กับความปลอดภัยของอาหาร : การนำเทคโนโลยี IoT มาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้มีความมั่นใจในเรื่องของข้อกำหนดและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเป็นสินค้าปลอม

10. IoT เพื่อวิเคราะห์และประมวลผล : โดยนำมาใช้ในโรงงานอาหารแปรรูป โดยการติดตั้ง Sensor ต่างๆ เข้าไปในโรงงานนั้น Sensor จะทำหน้าที่เพียงส่งข้อมูลเพื่อไปจัดเก็บไว้ในระบบเท่านั้น แต่หากขาดการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้วิเคราะห์และประมวลผลแล้ว ข้อมูลทั้งหมดย่อมไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน โดยเฉพาะในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic)

การศึกษาของบริษัท Infor ถือเป็นไอเดียสำหรับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย ในการนำเอาเทคโนโลยี IoT ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง : สํานักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

https://www.infor.com/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
34 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
30 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
38 | 07/12/2024
10 การประยุกต์ใช้ IoT ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป