เอฟเฟค “ภาษีบริโภค” กับเศรษฐกิจญี่ปุ่น

SME Go Inter
25/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3442 คน
เอฟเฟค “ภาษีบริโภค” กับเศรษฐกิจญี่ปุ่น
banner

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว หากยังจำได้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่น ประกาศปรับขึ้นภาษีบริโภค (Consumer Tax) จาก 5% เป็น 8% ในเดือนเมษายน 2557 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปี นับจากที่เคยปรับขึ้นเมื่อปี 2540 จาก 3% เป็น 5% ผลจากการปรับขึ้นภาษีครั้งนี้ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงสั้นเลยก็ว่าได้

ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นชุดที่ได้การเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ได้ประกาศนโยบายชัดเจนว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีบริโภคจาก 8% เป็น 10% อย่างแน่นอนและจะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2562 โดยเป็นนโยบายได้เคยประกาศไว้ก่อนเลือกตั้ง แต่ก็ได้ประกาศเลื่อนการมีผลบังคับใช้ออกมาถึง 2 ครั้ง ด้วยเหตุผลว่าอาจจะสะเทือนต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


โดยมีการคาดการณ์ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีบริโภคจะอาจเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนซื้อสินค้า หรือใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อกักตุนไว้ แต่หลังจากการขึ้นภาษีมีผลบังคับใช้ไปแล้วจะทำให้ประชาชนลดการจับจ่ายลง และที่สำคัญระดับราคาสินค้าหลังขึ้นภาษีจะปรับสูงขึ้น รายได้สุทธิลดลง ทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลงในลำดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นประเมินว่าผลกระทบที่จะเกิดจากการปรับขึ้นภาษีครั้งนี้จะรุนแรงน้อยกว่าครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราภาษีที่ปรับขึ้นเป็นอัตราต่ำกว่าครั้งก่อน 1% หรือปรับขึ้นเพียง 2% จากเดิมที่ปรับขึ้น 3% และระยะเวลาในการปรับขึ้นภาษี ที่รัฐบาลเลือกช่วงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงกลางปีงบประมาณ ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงที่มีการจับจ่ายใช้สอยคึกคักอยู่แล้ว

ที่สำคัญรัฐบาลยังได้เตรียมมาตรการเสริมไว้รับมือพร้อม ประกอบไปด้วย มาตรการลดผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีทางตรง โดยให้คงอัตราภาษีสำหรับสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องดื่มที่ไม่ใช่สุรา อาหารบริโภคนอกบ้าน มาตรการช่วยเหลือเรื่องการศึกษาฟรีของเด็ก มาตรการช่วยเหลือผู้สูงวัย ซึ่งรัฐบาลได้เพิ่มเม็ดเงินจุดนี้มากขึ้นถึง 15% ของอัตราการเก็บภาษี หรือราว 1.7 ล้านล้านเยน อีกทั้งยังมีมาตรการเสริมเพื่อบรรเทาผลจากรายได้สุทธิลดลง เช่น การใช้ระบบคืนแต้ม 5% ของรายจ่ายสำหรับผู้ที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกโชวห่วย โดยใช้เงินสด การให้บัตรของขวัญเพื่อซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงกว่าในบัตร และมาตรการลดหย่อน เพื่อสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยและยานยนต์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 ซึ่งคาดว่าปัจจัยนี้จะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในระบบ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยไม่ลดลง


อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่นก็ยังจำเป็นต้องจับตาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพราะตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักในการส่งออกของไทย ถือครองส่วนแบ่งการส่งออกประมาณ 9 -10% ดังนั้น หากมีการปรับขึ้นภาษีบริโภค ย่อมทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น ทั้งสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น และสินค้านำเข้า โดยประเภทสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ เช่น อัญมณี เฟอร์นิเจอร์ ส่วนสินค้าบางประเภทยังมีอัตราภาษีคงเดิม เช่น อาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

สำคัญยิ่งไปกว่าการปรับราคาสินค้า คือ ผลกระทบจากการปรับภาษีต่อเศรษฐกิจ และกำลังซื้อในตลาดญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเอฟเฟคที่รุนแรงกว่า หากเศรษฐกิจประสบปัญหาถดถอยในช่วงสั้นซ้ำรอยปี 2557 ย่อมกระทบต่อกำลังซื้ออย่างแน่นอน

ดังนั้นแนวทางสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมการคือ การพัฒนาสินค้าเพื่อตอบสนอความต้องการของผู้บริโภค แทนการแข่งขันด้วยราคา รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรญี่ปุ่นในห่วงโซ่การผลิต เพื่อสร้างความได้เปรียบในเรื่องต้นทุน ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) หรือความตกลงอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นนับเป็นความท้าทายต่อผู้ส่งออกไทยอย่างยิ่ง

ร้าวลึก! ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ กระทบต่อโลกการค้า

UNCTAD ชี้ต่างชาติลงทุนไทยสูงสุดในอาเซียน 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6055 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1935 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4913 | 23/10/2022
เอฟเฟค “ภาษีบริโภค” กับเศรษฐกิจญี่ปุ่น