รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งสินค้าไทยไปคาซัคสถาน

SME Go Inter
17/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6765 คน
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งสินค้าไทยไปคาซัคสถาน
banner

สาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล (Landlocked) แต่มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทำให้จีนร่วมมือกับคาซัคสถาน รวมถึงประเทศอื่นๆ เพื่อริเริ่มสร้างเส้นทางสายไหม (Silk Road Initiatives) ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงสินค้าระหว่างประเทศตะวันออกกับประเทศตะวันตกหรือยุโรปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ระยะการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากท่าเรือทางตะวันออกของจีน (ผ่านคาซัคสถาน) ไปยังประเทศยุโรปประมาณ 10,000 กิโลเมตร ใช้เวลาอย่างน้อย 13 - 15 วัน ถือเป็นเส้นทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดและใช้เวลาการเดินทางน้อยที่สุด

ขณะที่เส้นทางอื่นๆ ได้แก่ การขนส่งทางรถไฟผ่านแถบ ไซบีเรียในประเทศรัสเซีย (ใช้เวลา 18 – 20 วัน) เส้นทางเดินเรือผ่านทางทะเลเหนือ (อาร์คติก) (ใช้เวลา 33 – 35 วัน)  และทางเรือผ่านทะเลใต้ (ใช้เวลา 45 – 60 วัน) ดังนั้นประเทศคาซัคสถานมีความตั้งใจที่กำหนดยุทธศาสตร์ประเทศตนเองให้เป็น Transit country เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้แก่โครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศคาซัคสถานให้เติบโตมากขึ้นกว่าเดิมที่ มองว่าเป็นตนไม่มีทางออกทะเล

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


อาจมีคำถามว่า การขนส่งสินค้าจากไทยไปยังคาซัคสถานมีทางไหนบ้าง?  โดยการค้าระหว่างไทยกับคาซัคสถานในช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2562 มีมูลค่า 51.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยส่งออกไปยังคาซัคสถานถึง 46.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ได้แก่ ยานยนต์/ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ยาง) ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากคาซัคสถานเพียง 5.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (แร่เหล็กและเคมีภัณฑ์) ไทยได้ดุล 41.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้นการหาเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น และจะทำให้สร้างลู่ทางการส่งออกของสินค้าไทยไปยังคาซัคสถานได้มากขึ้นด้วย สำหรับเส้นทางการขนส่งสินค้าไทยยังคาซัคสถานมีเส้นทางไหนบ้าง ลองมาดูกัน


1. การขนส่งทางอากาศ บริษัทคาซัคสถานที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยยังคงใช้การขนส่งทางอากาศ แม้ว่าต้นทุนค่าขนส่งจะสูง แต่ได้ความสะดวก รวดเร็วมากกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น แต่ทำให้ต้นทุนสินค้าราคาสูง สินค้าของไทย อาทิ เครื่องสำอาง ผลไม้อบแห้ง

2. การขนส่งทางทะเลและทางราง สินค้าไทยขนส่งทางเรือไปถึงท่าเรือในประเทศจีนและต่อด้วยรถไฟไปคาซัคสถานใช้ ระยะเวลาประมาณ 24 วัน (รวมพิธีการออกของ) ที่ผ่านมามีการส่งสินค้าจากไทย อาทิ ยางรถยนต์และผลไม้กระป๋อง อย่างไรก็ดีการขนส่งเส้นทางนี้ยังพบปัญหาในการจัดการเอกสารการออกของเอเจนต์ในประเทศจีน ทำให้ระยะเวลาที่สินค้าถึงลูกค้าปลายทางล่าช้ากว่ากำหนด มี Khorgos Dry Port เป็น eastern gate ที่เชื่อมการขนส่งทางรถไฟกับจีน สินค้าหลักที่ขนส่งผ่านท่าเรือ

3. ทางเรือผ่านมหาสมุทรอินเดีย ทะเลแดง คลองสุเอซ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก ไปยังท่าเรือนครเซนต์ปีเตอร์ สเบิร์ก ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของรัสเซียที่มีความพร้อมและเส้นทางขนส่งทางบกดี แต่ใช้เวลาขนส่งนาน เร็วสุด 30-40 วัน ทั้งนี้อีกทางหนึ่งสามารถใช้ท่าเรือที่ลัตเวียและเอสโตเนียแทน เนื่องจากศุลกากรไม่เข้มงวดแล้วจึงใช้รถบรรทุกลากเข้า รัสเซียต่อไป และต่อทางบกเข้าประเทศคาซัคสถาน

4. ทางทะเลไปยังท่าเรือวลาดิวอสต็อก แล้วต่อทางรถไฟทรานส์ไซบีเรีย แต่ไม่สามารถขนส่งสินค้าได้มากเท่ากับตู้ container ทางเรือ และการขนส่งทางรถไฟมีต้นทุนสูง และต่อทางบกเข้าประเทศคาซัคสถาน

5. ทางทะเลไปยังท่าเรือบันดาร์อับบาสของอิหร่าน แล้วต่อทางบกไปทางเหนือของอิหร่านริมชายฝั่งทะเลแคสเปียนแล้วลง เรือต่อไปยังท่าเรืออัคเตาของคาซัคสถาน หรือไปยังท่าเรือ Chabahar ของอิหร่านแล้วต่อขึ้นไปทางอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นเส้นทางที่สั้นและมีศักยภาพมากที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าไทยไปยังเอเชียกลาง แต่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคง ตลอดจนปัญหาการคว่ำบาตรอิหร่านโดยสหรัฐฯ

6. ท่าเรืออัคเตาริมทะเลแคสเปียนของคาซัคสถาน สามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยท่าเรืออัคเตาตั้งอยู่บนชายฝั่ง ตะวันออกของทะเลแคสเปียนทางภาคตะวันตกของคาซัคสถานและเป็นส่วนหนึ่งของ Trans-Caspian International Transport Route (TITR) ที่เชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนผ่านคาซัคสถาน ทะเลแคสเปียน อาเซอร์ไบจาน และ จอร์เจียสู่ยุโรป โดยคาซัคสถานต้องการพัฒนา TITR ให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียกับยุโรป ท่าเรืออัคเตาจึง เป็น western gate ของคาซัคสถาน  


ทั้ง 6 เส้นทาง กล่าวได้ว่าเส้นทางที่ 2 (ผ่านประเทศจีน) น่าจะเป็นเส้นทางที่คาดว่าจะดีที่สุดในอนาคต แต่ต้องแก้ไขปัญหาการจัดการที่มักเกิดขึ้นในช่วงการขนส่งในประเทศจีนมากขึ้น ผู้ประกอบการคาซัคสถานให้ข้อมูลว่าจีนมักจะให้ priority แก่สินค้าของตนเป็นหลัก ทำให้สินค้าไทยมักถูกกักไว้ที่จีนนานกว่ากำหนด และประเด็นปัญหาการจัดการเอกสารการออก ทำให้เมื่อสินค้ามาถึงคาซัคสถานล่าช้า อย่างไรก็ดีปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางอากาศยังคงนิยมแม้ว่าราคาค่าขนส่งยังสูงมากที่สุดก็ตาม 

 

อ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก 

           : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา, สิงหาคม 2562, เรื่อง -เส้นทางขนส่งสินค้าไทยไปยังรัสเซียและคาซัคสถานในปัจจุบัน

           : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร    

‘Huochebang’ สตาร์ทอัพด้านขนส่งที่ใช้ Big Data 

เจาะตลาดตะวันออกกลาง...ไม่ยากอย่างที่คิด


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6343 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5074 | 23/10/2022
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งสินค้าไทยไปคาซัคสถาน