กฎหมายแรงงานใหม่ นายจ้างต้องรู้

SME Update
09/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 46227 คน
กฎหมายแรงงานใหม่ นายจ้างต้องรู้
banner

กฎหมายแรงงาน ไม่เฉพาะลูกจ้างที่ต้องทราบสิทธิของตนเอง แม้แต่นายจ้างก็ควรศึกษาเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ซึ่งมีรายละเอียดที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องรู้ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ค่าจ้าง และค่าชดเชย

กรณี นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ ค่าชดเชยอื่น ๆ และไม่จ่ายเงินในกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยไม่บอกล่วงหน้า

หากเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น นายจ้างจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้า หรือ 15% ต่อปี

กรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยไม่บอกล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างด้วย ซึ่งจำนวนที่จ่ายเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับ นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างออกจากงาน จนถึงวันที่เลิกสัญญาจ้าง โดยจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันออกจากงาน

 

จ่ายค่าจ้างให้มีความเท่าเทียมกัน

กรณีนายจ้างจะต้องกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานที่มีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกัน ในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชาย หรือหญิงก็ตาม

 

ทำงานติดต่อกัน 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

ในกรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษเป็นเวลา 300 วัน ให้กับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกัน 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน

 

ทำงานติดต่อกัน 20 ปีขึ้นไป

ในกรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเป็นเวลา 400 วัน หรือประมาณ 13.3 เดือน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน

 

เปลี่ยนแปลงนายจ้าง

มีการเปลี่ยนแปลงนายจ้างใหม่ หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด หากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ ซึ่งการเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ ตัวลูกจ้างจะต้องยินยอมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย และนายจ้างคนใหม่จะต้องให้สิทธิและหน้าที่ที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างคนเก่าเหมือนเดิม เพราะนายจ้างคนใหม่จะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับลูกจ้างทุกประการ

 

สิทธิลากิจธุระ

ทุกคนมีสิทธิมีธุระ ดังนั้นลูกจ้างก็มีสิทธิในการลากิจเพื่อไปทำธุระได้ โดยไม่เกิน 3 วันต่อปีและต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาการลา


หญิงตั้งครรภ์ ลาคลอด

ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ สามารถลาคลอดบุตรครรภ์หนึ่งได้ไม่เกิน 98 วันต่อปี ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร และนับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้กับลูกจ้างที่คลอดบุตร เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายแรงงานใหม่นี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่การจ่ายเงินชดเชย และจำนวนวันที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงการทำบัญชี ที่ต้องมีการแก้ไขการลงบัญชีบางส่วน อย่างจากเดิมที่ต้องบันทึกบัญชีจ่ายค่าชดเชย 300 วันให้กับผู้ที่ทำงานติดต่อกัน 20 ปี เปลี่ยนเป็น 400 วัน และเพิ่มค่าชดเชยให้กับผู้ที่ทำงานติดต่อกัน 10 ปีด้วย นับเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการควรใส่ใจ

 

ศึกษาเพิ่มเติม : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0021.PDF

 

ทำไมทำสตาร์ทอัพถึงต้องเข้าใจ “กฎหมาย”

5 เหตุผลที่ต้องมี Alternative Workplace


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1049 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1383 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1664 | 25/01/2024
กฎหมายแรงงานใหม่ นายจ้างต้องรู้