เปิดโมเดล ‘ลาว หลังโควิด’ ปรับแผน 5 ปีฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว
สปป. ลาว เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 จํานวนนักต่างซาติลดลงติดลบร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บริษัทที่ดําเนินธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องประมาณร้อยละ 90 ได้ยุติการ ให้บริการและได้รับผลกระทบด้านการเงิน ปัจจุบันกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว สปป.ลาว จึงอยู่ระหว่างยกร่างแผนพัฒนางานแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว 5 ปี (2564-2568)
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โดยตั้งเป้าหมายในปี 2564 จะเร่งพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวลาวหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวภายในและต่างประเทศ โดยการปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวภายในประเทศให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มใน สปป. ลาว ร่วมมือกับภาคธุรกิจในการประชาสัมพันธ์ พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และการบริการให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวก โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม พัฒนาบุคลากรทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ปลูกจิตสํานึก ด้านการท่องเที่ยวให้ประชาชน และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและคุ้มครองการท่องเที่ยว
ในช่วงปี 2542 และปี 2543 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาใน สปป. ลาว รวมกันเพียง 7 แสนคน สร้างรายได้ทั้งสิ้น 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขณะนั้นมีโรงแรม ห้องพัก รีสอร์ท และร้านอาหารทั่วประเทศเพียง 843 แห่ง ต่อมา ปี 2546 จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 636,361 คน โดยมีระยะพํานักเฉลี่ย 6 วันต่อคน สร้างรายได้กว่า 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2558 มีจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4.3 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 672 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทําให้ภาคการท่องเที่ยวสามารถทํารายได้เป็นอันดับสองของประเทศรองจากภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวมีจํานวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 มีระยะพํานัก 7 วัน และรายได้จากการท่องเที่ยวต่อปีคิดเป็นร้อยละ 7.5 ของ GDP
ในปี 2562 สปป.
ลาว มีจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4,791,065 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4
เมื่อเทียบกับปี 2561 ทํารายได้กว่า 934 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีระยะพํานักเฉลี่ย 7.9
วันต่อคน ใช้จ่ายเฉลี่ย 83.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน
โดยปัจจัยที่ทําให้นักเที่ยวเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เนื่องจาก สปป. ลาว เป็นประเทศเชื่อมต่อและจุดแวะพัก
ในภูมิภาค การเมืองมีเสถียรภาพมั่นคง และมีความร่วมมือที่ดีกับประเทศต่างๆ
ในภูมิภาคและสากล
ปัจจุบัน สปป. ลาว มีแหล่งท่องเที่ยว
2,208 แบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ 1,318 แห่ง แหล่งวัฒนธรรม 596 แห่ง
และแหล่งประวัติศาสตร์ 294 แห่ง ในจำนวนดังกล่าว สปป. ลาว ได้ดำเนินการสำรวจขั้นต้นแล้ว
1,040 แห่ง เปิดให้บริการแล้ว 817 แห่ง และได้รับการพัฒนาแล้ว 590 แห่ง
ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทย
ในการใช้โอกาสช่วงที่ สปป. ลาว กำลังร่างแผนพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวอยู่ในขณะนี้
เพื่อส่งออกความเชี่ยวชาญในด้านการให้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวไทย
แหล่งอ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์