เดิมพันของ สปป.ลาว เน้นภาคการผลิต-ทดแทนการนําเข้า

SME Go Inter
31/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3416 คน
เดิมพันของ สปป.ลาว เน้นภาคการผลิต-ทดแทนการนําเข้า
banner

ปี 2562 ที่ผ่านมา GDP ของ สปป.ลาวขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 ซึ่งต่ำกว่าที่ IMF เคยคาดการณ์ไว้ว่า GDP ของสปป.ลาว อาจจะขยายตัวได้ถึง 7% แต่เพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าในปีที่ผ่านมา ปัญหาภัยธรรมชาติภายในประเทศ ทำให้ตัวเลขการเติบโตของ สปป.ลาว คลาดเคลื่อนไปเล็กน้อย และหากย้อนดู GDP ของไทยในปี 2562 ตัวเลข 5.2 ของ สปป.ลาว ก็แทบจะเป็นอันดับหนึ่งในย่านนี้ !

ดร.สอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน สปป. ลาว ได้ระบุว่า สภาพเศรษฐกิจมหภาคเผชิญกับความท้าทายที่อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะปี 2563 ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างรากฐานที่มั่นคงให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้หลุดพ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) อย่างยั่งยืน สร้างเสถียรภาพทางการเมือง พัฒนาสังคมให้มี ความปลอดภัย ความยุติธรรม และแก้ไขอุปสรรคทางการผลิตและการบริการ

อาทิการผลิตสินค้าเพื่อการเกษตร การป้อนวัตถุดิบเพื่อใช้ในการแปรรูปและส่งออกให้มากขึ้น เพื่อลดการนำเข้า ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สำคัญเพื่อการส่งออก และสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไฟฟ้า แร่ธาตุ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมแปรรูป ด้านการเกษตรและหัตถกรรม

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะระบบการบริการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ทางการเกษตรที่เน้นความสะอาด โดยเน้นตามเส้นทางรถไฟลาว – จีน การพัฒนาบุคลากร การยกระดับคุณภาพ ด้านสาธารณสุขและการศึกษาด้วยการฝึกอบรมแรงงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงประเทศรอบข้าง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการรถไฟลาว – จีน ทางด่วน ทางหลวงแห่งชาติ สนามบิน ท่าเรือ ระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาชนบท การขจัดความยากจน และการปรับปรุงการบริหารของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

ดร. สอนไซฯ ระบุอีกว่า ในปี 2563 คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.5 คิดเป็นมูลค่า 20,083 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP ต่อหัวคนเท่ากับ 2,733 ดอลลาร์สหรัฐ GNI ต่อหัวคนเท่ากับ 2,161 ดอลลาร์สหรัฐ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2559 – 2563) โดยแบ่งเป็นภาคเกษตร อุตสาหกรรม แปรรูป ท่องเที่ยวและบริการ แต่ที่น่าสนใจมากที่สุด คือล่าสุด สปป.ลาว เน้นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมมากขึ้น และนี่เป็นความท้าทายครั้งสำคัญ

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปและเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ขยายตัวเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจําเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีความยั่งยืน โดยกําหนดรูปแบบอุตสาหกรรมแปรรูปในแต่ละท้องถิ่นให้ชัดเจน ส่งเสริมการผลิตสินค้าแบบโรงงานและชุมชน สร้างกลไกควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรมให้มีความสะดวก พร้อมทั้งผลักดันให้กลายเป็นห่วงโซ่การผลิต และสร้างความเชื่อมโยงตลาดเสรีในและนอกภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาแรงงานให้มีฝีมือและสามารถแข่งขันกับนานาชาติ

 

สร้างกำแพงภาษี ปกต้องการผลิตภายในประเทศ

นายสันติสุก พูนสะหวัด รองหัวหน้ากรมนโยบายการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ระบุว่าภาครัฐได้ออกมาตรการด้านการค้า อาทิ สร้างกําแพงภาษีนําเข้า การกําหนดปริมาณการนําเข้า การยกเว้นภาษีวัตถุดิบที่นําเข้ามาผลิตเป็นสินค้าเพื่อส่งออก รวมถึงการเจรจาเปิดตลาดสินค้ากับประเทศคู่ค้า การอํานวยความสะดวกทางการค้าเพื่อลดขั้นตอนการส่งออก ยกเว้นภาษีส่งออกบางรายการ และส่งเสริมการเข้าเป็นห่วงโซ่มูลค่าของภูมิภาคและของโลก

นอกจากนี้ รัฐบาล สปป. ลาวได้กําหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ การลดอัตราภาษีและอัตราภาษีอากรนําเข้าสินค้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ การกําหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการสนับสนุนค่าขนส่ง เพื่อส่งออก อย่างไรก็ตาม สปป. ลาว ยังมีข้อจํากัดด้านนโยบายและการลงทุน โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เพื่อทดแทนการนําเข้า การปกป้องการผลิตภายในประเทศ และการสนับสนุนของรัฐบาลตามหลักสากล และข้อจํากัด

ด้าน ASEAN Free Trade Agreement การกําหนดวัตถุดิบภายในประเทศที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลให้การนําเข้ามีค่าใช้จ่ายสูงและทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รวมถึงราคาสินค้าภายในประเทศมีแนวโน้มสูงกว่าราคานําเข้า

ดังนั้นรัฐบาลต้องกําหนดนโยบายและมาตรการเพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์และใช้สินค้าภายใน ยกระดับการแปรรูปมากขึ้น และทดแทนการนําเข้าสินค้า โดยต้องดําเนินนโยบายส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ ควบคู่กับนโยบายส่งเสริมการลงทุน นโยบายภาษี นโยบายแรงงาน การสร้างความสามารถในการแข่งขันผ่านการส่งเสริม การผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้เห็นเกิดผลทางปฏิบัติ


น่าจับตาว่าท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความปั่นป่วนของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปีนี้ สปป.ลาว คงเห็นแล้วว่าตลาดโลกไม่มีที่ให้เดินเท่าไหร่นัก จึงหันมาสร้างกำแพงภายใน เน้นการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างเงื่อนไขด้านภาษี และลดพึ่งพาการนำเข้า-ส่งออกเพียงอย่างเดียว นับเป็นการเดิมพันที่รัดกุมมากทีเดียว

แหล่งอ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ  เวียงจันทน์

https://laoedaily.Com.la/2020/03/12/74039 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


5 ปี GDP ลาวจะโตที่สุดในอาเซียน

ส่องแนวโน้มการลงทุนประเทศ CLMV




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
5933 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1902 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4853 | 23/10/2022
เดิมพันของ สปป.ลาว เน้นภาคการผลิต-ทดแทนการนําเข้า