ลาว–เวียดนาม บูมลงทุนโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานแห่งอาเซียน

SME Go Inter
15/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2257 คน
ลาว–เวียดนาม บูมลงทุนโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานแห่งอาเซียน
banner

การเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน CLMV หรือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ในช่วงหลายปีทีผ่านมา เป็นแรงดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลกให้เข้าไปปักหมุดตั้งฐานการผลิตในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ผลพวงที่ตามมา คือความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เติบโตสูงขึ้น จนทำให้หลายประเทศประสบปัญหาไฟไม่เพียงพอ

สอดรับกับรายงานของนายยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อปี 2557 เคยระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและเกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า โดยในปี 2556 ทั้งประเทศผลิตได้เพียง 23,000 เมกะวัตต์ เทียบกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 เมกะวัตต์

ขณะที่ไทยในตอนนั้นในระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผลิตได้ 31,277 เมกะวัตต์ และมีความต้องการใช้ 26,900 เมกะวัตต์ จึงเหลือปริมาณกำลังการผลิตสำรองไม่มากนัก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เป็นเหตุให้รัฐบาลเวียดนามขณะนั้นได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เป็น 17,400 เมกะวัตต์ในปี 2563 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานักลงทุนกลุ่มโรงไฟฟ้าจึงเบนเข็มการลงทุนเพื่อขายไฟฟ้าเข้าสู่ประเทศเวียดนาม ทั้งการเข้าไปลงทุนโดยตรง และการลงทุนในประเทศข้างเคียงเพื่อขายไฟฟ้าไปยังเวียดนาม

โดยข้อมูลจาก Energy News Center ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ส่วนหนึ่งระบุว่า ขณะนี้มีนักลงทุนด้านโรงไฟฟ้าของไทยอย่างน้อย 4 รายที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม อาทิ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ชื่อโครงการ DAU TIENG 1 และ 2 ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 420 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) และยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Phu Yen TTP ขนาดกำลังการผลิต 257 เมกะวัตต์ที่อยู่ระหว่างขยายการลงทุน

ขณะที่บิ๊กธุรกิจพลังงานไทยอีกราย คือ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ส่งบริษัทย่อย Gulf International Holding Pte.Ltd เข้าไปซื้อหุ้นเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานลมบนบก ในโครงการ la Pech 1 และ 2 มีกำลังการผลิตรวม 100 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายไฟให้กับ EVN ในปี 2565 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ TTCIZ-01 และ 02 กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ ทั้งยังอยู่ระหว่างการเสนอต่อรัฐบาลเวียดนามเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดกำลังการผลิต 6,000 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ยังมีบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่ลงทุนซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานลม El Wind Mui Dinh ขนาดกำลังการผลิต 37.6 เมกะวัตต์ และบริษัทราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม Thanh Phong ขนาดกำลังการผลิต 29.7 เมกะวัตต์

ขณะที่ล่าสุดรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ระบุว่า ขณะนี้มีบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย BCPG  มีแผนจะสร้างฟาร์มกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ขนาด 400,000 ไร่ ที่บริเวณภาคใต้ของ สปป.ลาว เพื่อส่งไฟฟ้าขายให้กับ EVN รัฐวิสาหกิจเวียดนาม ส่งผ่านไปทางชายแดนเวียดนาม และนครดานัง ภาคกลางของเวียดนาม

โดยการลงทุนดังกล่าวจะถือหุ้นผ่านบริษัทอิมแพ็คเอ็นเนอร์จีเอเชีย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ร้อยละ 45 และร้อยละ 55 เป็นของบริษัท อิมแพค อิเลกตรอนส์ สยาม จำกัด  ซึ่งคาดว่าสัญญาการซื้อขายไฟ (PPA) จะได้ข้อสรุปภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะสำเร็จดำเนินการเต็มรูปแบบได้ในปี 2566

ภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนพลังงานไทยไปสู่ประเทศกลุ่ม CLMV นับได้ว่ามีสีสันไม่น้อยในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังการผลิตไฟฟ้าของไทยมีล้นเกินกว่าความต้องการในประเทศถึง 40% ทำให้โอกาสที่ขยายการลงทุนใหม่ๆ ในประเทศอาจจะทำได้จำกัด หากเทียบกับโอกาสในการขยายตลาดการลงทุนใหม่ๆ ไปยังเพื่อนบ้านอาเซียนที่กำลังเติบโต


คาดการรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2020 เทียบกับปี 2015

ที่มา- CO2 Emission Reduction Reference Book. HAPUA Working Group 1 (Generation & Renewable Energy), Heads of ASEAN Power Utilities/Authorities (HAPUA). หน่วย-จิกะวัตต์ (GW) 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


‘โซลาร์เซลล์’ พลังงานสะอาดตอบโจทย์ธุรกิจและชีวิตในยุคนี้

ส่องเศรษฐกิจเวียดนามก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 รอบใหม่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6271 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5039 | 23/10/2022
ลาว–เวียดนาม บูมลงทุนโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานแห่งอาเซียน