การบำบัดน้ำเสีย
คือการกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป
หรือเหลือน้อยที่สุดให้ได้มาตรฐานที่กำหนดและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
น้ำเสียจากแหล่งต่างกันจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ดังนั้นกระบวนการบำบัดน้ำจึงมีหลายวิธี
โดยระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปมี 3 วิธีคือ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. กระบวนการทางเคมี
(chemical process)
เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยการแยกสารต่างๆ
หรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนักสารพิษ สภาพความเป็นกรด ด่างสูงๆ
ที่ปนเปื้อนอยู่ด้วยการเติมสารเคมีต่างๆ
ลงไปเพื่อให้เข้าไปทำปฏิกิริยาซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกสาร แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ
เมื่อเติมสารเคมีลงในน้ำเสียแล้ว
ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีค่อนข้างสูง
ดังนั้นกระบวนการทางเคมีจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อน้ำเสียไม่สามารถบำบัดได้ด้วยกระบวนการทางกายภาพหรือชีวภาพ
2. กระบวนการทางชีววิทยา
(Biological Process)
กระบวนการทางชีววิทยา
(biological process) เป็นการอาศัยหลักการใช้จุลินทรีย์ต่าง
ๆ มาทำการย่อยสลายเปลี่ยนอินทรีย์สารไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย
เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ดีที่สุดในแง่ของการลดปริมาณสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำ
แต่หลักการนี้เลือกสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์
โดยสัมพันธ์กับปริมาณของจุลินทรีย์ และเวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย
แบคทีเรียที่เลือกใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจน (aerobic
bacteria) ส่วนกลุ่มที่ 2
เป็นพวกไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic
bacteria)
3. กระบวนการทางกายภาพ
(physical process)
กระบวนการทางกายภาพ (physical process) เป็นการบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายซึ่งจะแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออก วิธีนี้จะแยกตะกอนได้ประมาณ 50-65% ส่วนเรื่องการแยกความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ (BOD5) ประมาณ 20-30% เท่านั้น วิธีการต่างๆ ในกระบวนการนี้มีหลายวิธี เช่น การดักด้วยตะแกรง (screening) เป็นการแยกเศษขยะต่างๆ ที่มากับน้ำเสีย เช่น เศษไม้ ถุงพลาสติก กระดาษ ตะแกรงมีหลายขนาด การดักด้วยตะแกรงจึงเป็นการแยกขั้นตอนแรกในการบำบัดน้ำเสีย การตัดย่อย (combination) คือ การใช้เครื่องตัดทำลายเศษขยะขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง การกวาด (skimming) เป็นการกำจัดนำมันและไขมันโดยทำการดักหรือกวาดออกจากน้ำเสีย การทำให้ลอย (floating) จะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าน้ำ การตกตะกอน (sedimentation) เป็นการแยกตะกอนออกจากน้ำเสียโดยอาศัยหลักการเรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งจะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ
LAT Water Limited คือบริษัทเทคโนโลยีของอังกฤษที่พัฒนาเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียด้วยพลังงานต่ำ
โดยเทคโนโลยี LAT Water ซึ่งจะบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมและจากหลุมฝังกลบซึ่งรู้จักกันในชื่อ
‘น้ำชะขยะ’
ซึ่งบริษัทผู้คิดค้นกล่าวว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการดำเนินงานได้เกือบครึ่งหนึ่ง
โดยปกติแล้วน้ำชะขยะเป็นหนึ่งในของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่บำบัดได้ยากที่สุด
เทคโนโลยีการบำบัด
น้ำชะขยะที่มีอยู่ทั่วโลกมักเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานมากซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยมลพิษจำนวนมาก
และจนถึงปัจจุบัน
งานวิจัยส่วนใหญ่ในสาขานี้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงเทคโนโลยีพื้นฐาน
มากกว่าการมองหาการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการบำบัดน้ำชะขยะ
ทั้งในหลุมฝังกลบและในกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องใช้น้ำมาก โดยทาง LAT เองกล่าวว่าการบำบัดด้วยวิธีของบริษัทสามารถนำน้ำกลับคืนได้มากถึงร้อยละ
90 เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่และ/หรือรีไซเคิล
เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า เทคโนโลยีความดันบรรยากาศอุณหภูมิต่ำ (Low temperature Ambient pressure Technology : LAT) โดยทำการแยกและนำน้ำสะอาดออกจากน้ำเสียจากอุตสาหกรรมที่มีการปนเปื้อนสูง โดยใช้ความร้อนเหลือทิ้งเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการการลดการใช้น้ำมันดีเซลในการขนส่งทางเรือบรรทุกของเสีย รวมกับเทคโนโลยีการแยกสารที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำให้เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่มาเขย่าภาคการจัดการน้ำเสียอย่างสิ้นเชิง
โดยเริ่มแรกบริษัท
LAT Water ร่วมกับบริษัท Viridor
ซึ่งเป็นบริษัทรีไซเคิลและจัดการของเสีย
ได้มีการยื่นขอเงินสนับสนุนจำนวน 548,000 ปอนด์
(471,000 ยูโร)
ผ่านโครงการ UK government’s Industrial Energy Efficiency Accelerator หลังจากได้รับเงินสนับสนุน
บริษัทได้เปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อบำบัดน้ำชะขยะจากหลุมฝังกลบขยะ Broadpath
ของบริษัท Viridor ใกล้เมือง Exeter ซึ่งจากโครงการนำร่องดังกล่าวดำเนินการได้ 6 เดือน
ได้แสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลดลงถึงร้อยละ 48 และใช้พลังงานลดลงร้อยละ 70 ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี LAT สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นตัวช่วยเปลี่ยนเกมได้จริง
และปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์แล้ว
นอกจากนี้
เทคโนโลยี LAT ได้ถูกนำไปใช้ในประเทศจีนด้วยอัตราการบำบัดน้ำเสียที่ปริมาณ
120 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
เป็นเวลา18 เดือนที่ผ่านมา
เป็นการพิสูจน์ว่า LAT สามารถนำไปใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใดก็ได้
และในขณะนี้บริษัทกำลังจะออกบริการเทคโนโลยีในรูปแบบสัญญาเช่าแก่ผู้ดำเนินการฝังกลบขยะและสภาท้องถิ่นทั่วสหราชอาณาจักร
ซึ่งจะทำให้ช่วยลดอุปสรรคทางด้านเงินทุนและระยะเวลาในการคืนทุน
แหล่งอ้างอิง : มหาวิทยาลัยมหิดล
thaiindustrialoffice.wordpress.com