พ.ร.บ.คู่ชีวิต กฎหมายที่เปิดกว้างสำหรับ LGBT+

Edutainment
13/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2398 คน
พ.ร.บ.คู่ชีวิต กฎหมายที่เปิดกว้างสำหรับ LGBT+
banner

หลังจากรอคอยกันมานานในที่สุดชาวรักร่วมเพศหรือเหล่า LGBT+ก็จะได้ออกมาเฮกันเสียทีเมื่อ ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับร่าง พร้อมเตรียมดำเนินการออกเป็นกฎหมายอนุญาตให้เพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายในเร็ววันนี้ โดย ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่าง  พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แล้ว มีหลักการคือเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ และให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. "คู่ชีวิต" หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้

2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้

3. กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย

4. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต

5. กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไป เช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

6. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน

7. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้

8. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

9. กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม

 

ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของสังคมไทยในการส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมของคนทุกเพศ เป็นการรับรองสิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รักที่มีเพศเดียวกันให้เป็นคู่ชีวิต และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวได้เช่นเดียวกับคู่สมรส ครอบคลุมการจดทะเบียนและการเลิกการเป็นคู่ชีวิต สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ชีวิต การจัดการทรัพย์สิน การรับบุตรบุญธรรมและมรดก เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

 

คำถามค่าใจ...สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3

หาก พ.ร.บ.ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) และเปิดกว้างเรื่องรักร่วมเพศ โดยยืนยันผลการสำรวจจาก “นิด้าโพลล์” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3” ซึ่งได้ทำการสำรวจไว้ระหว่างวันที่  1–2 กรกฎาคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศที่กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อเพศที่ 3 ในประเด็นต่างๆ

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการยอมรับของประชาชนกรณีหากมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเป็นเพศที่ 3 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.72 ระบุว่ายอมรับได้ เพราะควรวัดกันที่ความสามารถและนิสัยใจคอเป็นหลัก ไม่ควรเอาเรื่องเพศมาตัดสินถือเป็นคนในสังคมเหมือนกันทุกคน อีกทั้งมีเพื่อนเป็นเพศที่ 3 ที่คอยสร้างความสนุกสนานและเพิ่มสีสันให้กับชีวิต ร้อยละ 10.00 ระบุว่าไม่สามารถยอมรับได้เพราะไม่ชอบเป็นการส่วนบุคคล และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่าสัดส่วนของผู้ที่ยอมรับได้และไม่สามารถยอมรับได้นั้นไม่แตกต่างกันมาก โดยผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่าร้อยละ 88.49 ยอมรับได้  ร้อยละ 8.79 ไม่สามารถยอมรับได้ และไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.72

 

ด้านการยอมรับของประชาชนกรณีหากมีสมาชิกหรือคนในครอบครัวเป็นเพศที่ 3 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.92 ระบุว่ายอมรับได้ เพราะในเมื่อเป็นไปแล้วก็ต้องทำใจยอมรับ ยังถือว่าเป็นคนในครอบครัวไม่สามารถตัดขาดกันได้ เพียงแต่ขอให้เป็นคนดี สามารถดูแลตัวเองได้ก็พอ และในบางครอบครัวก็มีสมาชิกเป็นเพศที่ 3 อยู่เหมือนกัน รองลงมา ร้อยละ 16.80 ระบุว่าไม่สามารถยอมรับได้เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติ ถือเป็นภาพลักษณ์ของครอบครัวไม่ชอบเป็นการส่วนบุคคล และร้อยละ 3.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่าสัดส่วนของผู้ที่ยอมรับได้และไม่สามารถยอมรับได้นั้นไม่แตกต่างกันมาก โดยผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่า ร้อยละ 77.56 ยอมรับได้ ร้อยละ 17.25 ไม่สามารถยอมรับได้ และร้อยละ 5.19 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการออกกฎหมายยอมรับการจดทะเบียนคู่ชีวิต (สมรส) ของบุคคลเพศเดียวกัน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.20 ระบุว่าเห็นด้วย เพราะถือเป็นเรื่องความรักของคนสอง ควรมีสิทธิเท่าเทียมเหมือนกันกับ ชาย–หญิง ทั่วไป ซึ่งเราไม่สามารถไปบังคับจิตใจใครได้ ประกอบกับยุคสมัยเปลี่ยนไปสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น ดังจะเห็นได้ในต่างประเทศและสังคมทั่วไปที่เพศเดียวกันคบหากันมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 35.04 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการฝืนกฎธรรมชาติที่ว่าเพศชายต้องคู่กับเพศหญิง และยังขัดต่อหลักของศาสนาในบางศาสนา และอาจมีผลกระทบในทางกฎหมายเมื่อถึงคราวต้องเลิกรากันไป และร้อยละ 5.76  ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ  เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจปี 2556 พบว่ามีสัดส่วนผู้ที่เห็นด้วยเพิ่มขึ้น โดยผลการสำรวจ ปี 2556 พบว่ามีประชาชนร้อยละ 52.96 ที่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 33.87 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 13.18 ไม่แน่ใจ

 

จากความเปิดกว้างทางสังคมที่ให้การยอมรับเพศที่สามหรือความหลากหลายทางเพศมากขึ้น จึงดูเหมือนว่าประชากรชาว LGBT+ จะเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะประชากรชาวเกย์ โดย Zocial, inc. บริษัทรวบรวมข้อมูลและบริการวิเคราะห์ข้อมูลบนโลกออนไลน์ รายงานว่าในโลกของ Facebook มีประชากรเกย์ทั้งโลกรวมกันทั้งหมดกว่า 15.4 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยติดโพลล์เป็นอันดับ 8 ของเอเชีย มีจำนวนชาวเกย์ทั้งหมด 340,000 คน จากประชากรบน Facebook ไทย 28 ล้านคน สำหรับประเทศที่มีประชากรเกย์บน Facebook มากที่สุดคือ อินเดีย 3 ล้านคน รองลงมาเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา 760,000 คน และประเทศอียิปต์ (640,000 คน) ตามลำดับ ทวีปที่มีประชากรเกย์บน Facebook มากที่สุด ได้แก่

1. เอเชีย (8.5 ล้านคน)

2. ยุโรป (2.5 ล้านคน)

3. แอฟริกา (2.3 ล้านคน)

4. อเมริกาเหนือ (1.2 ล้านคน)

5. อเมริกาใต้ (700,000 คน)

6. ออสเตรเลีย (100,000 คน)

การที่มีข้อกฎหมายเข้ามาช่วยรับรองเรื่องความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกัน จะต้องเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม กับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยได้จริงๆ เพราะตามธรรมชาติของคู่รักไม่ว่าจะเป็นเพศใด ย่อมมีความประสงค์ที่จะใช้ชีวิต สร้างเนื้อตัว สร้างครอบครัว สร้างทรัพย์สินร่วมกัน อันเป็นผลทำให้เกิดทรัพย์สินที่ร่วมกันเกิดขึ้นในอนาคต และเมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป อีกฝ่ายก็จะสามารถจัดสรรเรื่องทรัพย์สินมรดกได้ง่ายขึ้น เพราะมี พ.ร.บ.คู่ชีวิตมาช่วยรองรับ ทำให้เกิดความทัดเทียมกันเสมือนการจัดการทรัพย์สินและมรดกของคู่ชาย-หญิง ที่กลุ่มคนเพศที่สามถูกละเลยมานานทั้งๆ ที่ในชีวิตจริงแล้วการจดทะเบียนสมรสนั้นเป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย ที่เข้ามารองรับความเป็นไปในการนี้ตั้งแต่ต้นแล้วนั่นเอง.

 

แหล่งอ้างอิง http://nidapoll.nida.ac.th/ 


เหตุผลที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญต่อกลุ่ม LGBT+ 

เข้าใจเทรนด์ Gender-Neutral ก่อนที่จะพลาดเรื่องสำคัญ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
686 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
9400 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
12100 | 03/10/2023
พ.ร.บ.คู่ชีวิต กฎหมายที่เปิดกว้างสำหรับ LGBT+