Bnomics | โอกาสกับการเปลี่ยนแปลงของ “โลจิสติกส์” หลังยุคน้ำมันแพง

Library > Economic Outlook/Trends
18/02/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 3795 คน
Bnomics | โอกาสกับการเปลี่ยนแปลงของ “โลจิสติกส์” หลังยุคน้ำมันแพง
banner
ในช่วงที่ผ่านมาการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์และอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในกระบวนงานที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะในด้านการปฏิบัติการหรือด้านการเงิน ก็คือ โลจิสติกส์ ต้นทุนในการจัดเก็บ แพ็ค และ ขนส่งสินค้า มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อกำไรของสินค้าแต่ละชิ้น อย่างไรก็ดีการบริหารจัดการต้นทุนดังกล่าวอาจไม่ใช้เรื่องง่ายในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นราว 25% ในเวลาเพียง 1 ปี โดยน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มจาก 23.99 บาท เป็น 29.34 บาท  นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและค่าบริหารจัดการอื่นๆ ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกันโลจิสติกส์ก็อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านในหลายๆ ด้าน ที่อาจนำมาซึ่งทั้งโอกาสและความเสี่ยงสำหรับผู้ประกอบการ

ในด้านแรก คือ โอกาสการเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยานพาหนะขนส่งเดิมที่ใช้พลังงานจากน้ำมันมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ผู้ประกอบการได้ โดยหากเทียบค่าใช้จ่ายของการใช้รถยนตร์ EV กับรถยนต์ ที่ใช้น้ำมันแล้ว จะเห็นได้ว่า ค่าไฟในการขับ EV นั้นตกอยู่ที่กิโลเมตรละประมาณ 1 บาท แต่ค่าน้ำมัน สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซลที่หากเผาพลาญเชื้อเพลิงราว 15 กิโลเมตรต่อลิตร ค่าใช้จ่ายจะตกอยู่ที่ราว 2 บาท หรือ 2 เท่า โดยรถขนส่ง เช่น รถกระบะก็เริ่มมีผู้ผลิต EV หลายๆ ค่ายที่ได้ทยอยเปิดตัวแล้วในหลายประเทศ ในส่วนของการแข่งขันในตลาดของ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนรถขนส่งไปยังรถ EV ยังมีข้อจำกัดในเชิงต้นทุน โดยราคารถขนส่ง EV ในปัจจุบันนั้นยังสูงกว่ารถขนส่งที่ใช้น้ำมันพอสมควร นอกจากนี้ผู้ประกอบการหลายๆ รายเพิ่งเริ่มต้นการผลิตรถขนส่ง EV ได้ไม่นานมากนัก ซึ่งคงต้องรออีกสักพักกว่ากำลังการผลิตจะเพียงพอกับความต้องการของตลาด




การปรับเปลี่ยนรถขนส่งสินค้า เช่น รถแวน รถบรรทุก ให้เป็นระบบ EV นั้นอาจใช้เวลาอีกสักพัก ในส่วนของรถขนส่งแวนแม้ว่าผู้ผลิตหลายรายจะกระโดดเข้ามาทำการผลิต แต่คงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าค่ายรถต่าง ๆ จะเติมเต็มความต้องการของบริษัทขนส่งรายใหญ่ต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น Amazon ที่ได้ลงทุน 20% ในบริษัทผู้ผลิตรถยนตร์ไฟฟ้า Rivian โดยในปี 2019 Amazon ได้ทำสัญญาในการจัดซื้อรถ 100,000 คัน ภายในปี 2030 แต่ปัจจุบันบริษัทต้องขยายโรงงานและกำลังผลิตอีกจำนวนมากจากเป้าการส่งมอบที่ 300 คันในปี 2021 เป็น 10,000 คันในสิ้นปีนี้



ไม่เพียงแต่ Amazon แต่แบรนด์อื่นๆ อย่าง DHL Fedex Pepsi Walmart ต่างมีแผนที่จะนำรถ EV มาใช้งานจำนวนมาก ซึ่งผู้ผลิตรถยนตร์อย่าง General Motor Ford และ Stellantis ต่างได้ทำสัญญาและเร่งผลิตรถแวนเพื่อป้อนบริษัทเหล่านี้ ในขณะที่รถแวนขนส่งของ BYD นอกจากจะใช้ในประเทศแล้ว ยังได้เริ่มไปส่งออกไปให้บริษัทต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลียใช้งานแล้วแต่หากจะส่งออกไปขายอย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆต่อไปก็ต้องขยายกำลังผลิตจำนวนมาก    

ขณะเดียวกันในกลุ่มรถบรรทุกขนส่ง (Heavy Duty Vihecle) ก็มีรถยนต์หลายๆ ค่ายที่ได้เริ่มผลิตรถในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน แต่อาจจะต้องรอเวลาอีกสักพักกว่าที่จะมีการใช้โดยแพร่หลาย เพราะยิ่งรถมีน้ำหนักและต้องใช้กำลังสูง ก็ยิ่งยากต่อผู้ผลิตในการพัฒนาระบบของรถที่สามารถส่งกำลังที่มาก ในขนาดและราคาของแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใหญ่และสูงเกินไป ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีรถบรรทุกเอง Semi ของ Tesla ก็ประสบปัญหาในการผลิตและการส่งมอบที่ล่าช้าออกไปจากแผนเดิม



การที่บริษัทเจ้าใหญ่ๆ ได้เริ่มเร่งทำสัญญาสั่งซื้อรถขนส่ง EV ก็เป็นข่าวดีเพราะจะเร่งทำให้ ผู้ผลิตต่างๆ กระโดดเข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น และโรงงานเริ่มผลิตในสเกลที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาของรถขนส่ง EV โดยเฉพาะกลุ่มแวนน่าจะปรับลดลง 

แม้ในระยะสั้นนั้นผู้ประกอบการอาจต้องรอความพร้อมการใช้รถ EV เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง แต่อีกหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้ คือ นำ Transportation Management Software เข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการขนส่งสินค้า การติดตามยานพาหนะและการเลือกเส้นทางการขนส่งที่ดีที่สุด ( Route Optimization) รวมถึงการจัดการปัญหาการวิ่งรถเปล่าในขากลับของการจัดส่งสินค้า (ฺBackhaul) โดยอาจใช้รถไปเพื่อรับวัตถุดิบต่างๆ หรือรับงานการขนส่งเพิ่มเติมระหว่างเส้นทางขากลับ เป็นต้น 

นอกจากนี้ซอร์ฟแวร์ของหลายๆ บริษัทยังได้นำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการคำนวณและปรับเส้นทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อจำกัดต่างๆ ในการขนส่ง เช่น ประเภทของสินค้าและลำดับความสำคัญของการจัดส่งได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้ประกอบการอาจพัฒนาระบบ Order Managent System ในการจัดการการรับออเดอร์ การคืนสินค้า การติดตามสต็อค การออกบิล ในขณะที่ผู้ประกอบการที่มีคลังสินค้าเป็นของตนเอง อาจนำระบบการการจัดการ Warehouse Management System มาบริหารจัดการระบบปฎิบัติงานในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการรับของเข้าคลัง การจัดเก็บสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง และการเบิกของออกจากคลังสินค้า รวมทั้งอาจใช้หุ่นยนต์และระบบจัดการแบบอัตโนมัติสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่ โดยบริษัทขนส่งรายใหญ่ก็ได้เร่งพัฒนาศักยภาพในด้านนี้ ตัวอย่างเช่น บริษัท Flash เร็วๆ นี้ ได้ร่วมมือกับ Cainaio บริษัทลูกที่ทำการจัดการขนส่งให้ Alibaba ในการจัดการระบบบริหารจัดการคลังสินค้า โดยนำระบบหุ่นยนต์และระบบการจัดการแบบอัตโนมัติมาปรับใช้เพื่อให้สามารถจัดการงานในคลังสินค้าได้เกือบทั้งหมด ซึ่งสามารถทำให้สามารถลดแรงงานและต้นทุนค่าแรงจำนวนมาก โดยสามารถลดแรงงานที่เดิมต้องใช้ในงานไม่ว่าจะเป็น การรับของ นำของเข้าสต็อค การตรวจสอบและการแพ็คสินค้า เป็นต้น



ด้วยความพัฒนาของเทคโนโลยี Artificial Intelligence Robotics และระบบ IOT ในปัจจุบันก็มีบริษัทหลายบริษัทที่ได้ประสบความสำเร็จใจการพัฒนายานพาหนะขนส่งอัตโนมัติ (Autonomous Delivery Vihecle) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Nuro ซึ่งในปัจจุบันรถขนส่งอัตโนมัติของ Nuro ได้เริ่มทำการขนส่งสินค้าตั้งแต่ ของสด เบียร์ พิซซ่า จนไปถึงยาเวชภัณฑ์ต่างๆ โดยได้เริ่มให้บริการกับแบรนด์อย่าง Domino’s Walmart  Kroget และ CVS Pharmacy แล้ว ในขณะที่ในประเทศจีน Alibaba Meituan และ JD.com ส่วนในประเทศไทยเองทาง 7-11 ก็ได้ เริ่มนำหุ่นยนต์ขนส่งสินค้ามาทดสอบการใช้งานแล้วเช่นกัน การเข้ามาของ Autonomous Delivery จะช่วยให้ต้นทุนจากค่าแรงในการขนส่งลดต่ำลงและประสิทธิภาพการขนส่งจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต 

แม้เทคโนโลยีในข้างต้นยังค่อนข้างใหม่และหลายๆ ด้านต้องใช้เงินลงทุนที่สูง แต่ในอีกด้านผู้ประกอบการ SMEs ยังอาจสามารถเลือกที่จะไม่ลงทุนในตัวระบบเองและ Outsource กระบวนงานในการจัดการโลจิสติกส์ในแต่ละประเภทออกไป ซึ่งในปัจจุบันก็มีบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ในด้านการขนส่ง ผู้ประกอบการอาจเลือกใช้ Giztix ในการจองรถขนส่งออนไลน์ โดยอาจะส่งสินค้าในหลายจุดระหว่างทาง หรือใช้บริการขนส่งแบบไปกลับ รวมทั้ง Giztix ยังได้เริ่มมีซอฟต์แวร์การจัดการให้กับลูกค้าที่ต้องการระบบการจัดการรถขนส่งและการจัดการ warehouse เพื่อช่วยในการขายสินค้าออนไลน์




ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เน้นส่งออกสินค้าไปต่างประเทศก็อาจจะเลือกใข้บริการอย่างเช่น Fastship ที่ผู้ประกอบการสามารถเปรียบเทียบราคาค่าขนส่งของสินค้าเพื่อขายไปต่างประเทศ โดยรวบรวมบริการและราคาจากบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำ ได้แก่  DHL, UPS, ARAMEX, FedEx, SF Express, Thai Post เเละ United States Postal Service รวมทั้งเชื่อมต่อออเดอร์การขนส่งอัตโนมัติกับอีคอมเมิร์ซต่างๆ เช่น E-Bay, Amazon, Etsy และ Alibaba เป็นต้น

 


ในส่วนของผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีคลังสินค้าเป็นของตนเอง หรือประสบปัญหาในการเตรียมออร์เดอร์ แพ็คและส่งสินค้า เพื่อขายในช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายช่องทางอย่างมาก ผู้ประกอบการสามารถ รับออเดอร์จากการขายสินค้าในช่องทางออนไลน์ต่างๆ แล้วใช้บริการจากบริษัท เช่น Mycloudfulfilment ในการเป็นศูนย์รวมการจัดเก็บและตัดสต็อคสินค้า รวมทั้งใช้บริการของ Mycloudfulfillment ในการจัดการออร์เดอร์ แพ็คสินค้า ทำโปรโมชั่น และจัดส่งสินค้าออกจากคลัง โดย Mycloudfulfillment มี API ที่สามารถเชื่อมกับระบบเข้ากับแพลตฟอร์ม Social Commerce และ Market Place ต่างๆ เข้ากับบริษัทขนส่งต่างๆ รวมทั้ง เข้ากับระบบการจัดการ Order และ ERP หลังบ้านของบริษัทลูกค้าได้  





ระบบโลจิสติกส์ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆต่อการทำธุรกิจ กำลังยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ซึ่งความเปลี่ยนแปลงมักนำมาซึ่งความเสี่ยงและโอกาส ผู้ที่ปรับตัวสู่โอกาสใหม่ๆและปิดความเสี่ยงได้เร็วมักจะได้เปรียบเสมอ 

ผู้เขียน : ธนวัฒน์ พฤกษานานนท์ Tech & Innovation Advisor, Bnomics


▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่

Website : https://www.bnomics.co

Facebook : https://www.facebook.com/Bnomics.co

Blockdit : https://www.blockdit.com/bnomics

Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC

Youtube : https://www.youtube.com/bnomics

Twitter : https://twitter.com/bnomics_co



Reference : 

https://www.nytimes.com/2022/01/18/technology/amazon-electric-vans.html

https://pandaily.com/cainiao-builds-largest-unmanned-warehouse-in-southeast-asia/

https://fastship.co/?gclid=Cj0KCQiA3rKQBhCNARIsACUEW_afQC41nJhJHPnbLDFETuqKULyLeqjvT8Y-9WQz7R6O3OdmaP632EAaAuKVEALw_wcB

https://blog.giztix.com/

https://www.mycloudfulfillment.com/jwd-mycloudfulfillment/

https://thenextweb.com/news/web-3-0-and-creates-new-opportunities-for-connected-mobility



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Bnomics | ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มหมดแรง เว้นภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังฟื้นตัวต่อไป

Bnomics | ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มหมดแรง เว้นภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังฟื้นตัวต่อไป

เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยในหลายด้านเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากแรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าไทยในต่างประเทศเป็นสำคัญ…
pin
1359 | 04/11/2022
เจาะใจ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ปั้นระบบ ‘FoodStory’ เสริมแกร่งร้านอาหาร ช่วยให้ SME บริหารร้านได้ทุกที่ทุกเวลา

เจาะใจ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ปั้นระบบ ‘FoodStory’ เสริมแกร่งร้านอาหาร ช่วยให้ SME บริหารร้านได้ทุกที่ทุกเวลา

ย้อนเส้นทาง บริษัท ลีฟวิ่ง โมบาย จำกัด สตาร์ทอัพผู้นำด้านการพัฒนาระบบ POS ด้วย แอปพลิเคชัน ‘FoodStory’ สำหรับร้านอาหารทุกประเภท ตั้งแต่ร้านอาหารรายย่อย…
pin
3805 | 26/10/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5169 | 23/10/2022
Bnomics | โอกาสกับการเปลี่ยนแปลงของ “โลจิสติกส์” หลังยุคน้ำมันแพง