LogTech เทรนด์สตาร์ทอัพมาแรงปี 2020

SME Startup
15/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4278 คน
LogTech เทรนด์สตาร์ทอัพมาแรงปี 2020
banner

ปี 2563 ธุรกิจโลจิสติกส์ หรือ สตาร์ทอัพด้านโลจิสติกส์ (LogTech - Logistics Technology) ดาวรุ่งพุ่งแรงที่กำลังจับตามองว่า จะเป็นฟันเฟืองสำคัญเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตแข็งแกร่งทัดเทียมนานาประเทศที่ประสบความสำเร็จ จากนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งด้านใช้เทคโนโลยีเพื่อขนส่ง ทางบก ทางอากาศ และ ทางทะเล

ธุรกิจโลจิสติกส์ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง หรือ End-user และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่หากกล่าวถึงรายละเอียดงานของโลติสติกส์นั้นมันกว้างมาก เริ่มตั้งแต่การวางแผน, การจัดการ, การเตรียมการ, การขนย้าย, การสต็อกสินค้า ฯลฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า โลจิสติกส์ นั้นเกี่ยวข้องกับบริษัทขนส่งขนาดใหญ่เสียส่วนใหญ่ แต่ที่แท้จริงแล้วโลจิสติกส์มันสอดคล้องกับสตาร์ทอัพเช่นกัน และธุรกิจนี้ยังมีแนวเติบโตได้อีกอย่างมากที่สามารถสร้างมูลค่ามหาศาลต่อปี

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


นิยามความหมายของ โลจิสติกส์ อาจจำกัดความได้ว่า การลื่นไหลของห่วงโซ่อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีบทบาทควบคู่กับเรื่องซัพพลายเชน ที่แม้จะถูกกล่าวถึงในทำนองเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน จะเรียกว่าซัพพลายเชนคือระบบ แต่โลจิสติกส์คือตัวแปรก็ได้ ทั้งสองต้องสอดคล้องกันจึงจะเรียกว่าระบบ โลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นหมายถึง การบริหารจัดการที่เป็นระบบ วางแผนการเคลื่อนย้าย คำนวณได้ล่วงหน้า และลดต้นทุน

ทั้งนี้ หลังจากชาติเอเชียรวมทั้งไทยโหมโรงมานานหลายปี ซึ่งปี 2563 สิ้นสุดการรอคอยเพราะประเทศต่างๆ ประกาศนำเทคโนโลยียุคที่ 5 หรือ 5G มาใช้อย่างเป็นทางการภายในปีนี้ ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจขนส่ง ต่างก็ออกมาคาดการณ์ไปในทิศทางบวกว่า ธุรกิจโลจิสติกส์จะเติบโตแบบก้าวกระโดดและสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมหาศาลต่อปี เพราะได้รับอานิสงส์จาก 5G

เนื่องจากเทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง หรือ IoT (Internet of Things) ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีศักยภาพสูง ที่สำคัญจะผลักดันให้มูลค่าเติบโตสูงขึ้น 3 เท่า คือจากที่มูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 จะเพิ่มเป็น 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025 เลยทีเดียว

แนวโน้มการเติบโตดังกล่าวบ่งชี้ว่า ธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์แห่งอนาคตจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการนำเทคโนโลยียุคที่ 5 หรือ 5G มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ โดย 4 เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมากในประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย

1. อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things)  

2. ปัญญาประดิษฐ์และการวิเคราะห์ข้อมูล(Artificial Intelligence and Data Analytics)

3. ระบบอัตโนมัติ (Automation) และ

4. บล็อกเชน (Blockchain) วิธีเรียกใช้โปรแกรมสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชัน ไม่ว่าแอปพลิเคชันนั้นจะทำงานอยู่บนอุปกรณ์ใดก็ตาม (Application programming interface : API)

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในเทคโนโลยีเพื่ออนาคตอย่างเหมาะสม เป็นการรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะได้เห็นเทคโนโลยีลูกผสมเพิ่มขึ้นในปี 2020 ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำงานยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการในยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง กระบวนการทุกขั้นตอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว แบบเรียลไทม์อย่างมีเสถียรภาพ


LogTech กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

คุณศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกว่า เทคสตาร์ทอัพ นับเป็นหนึ่งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ 5G ที่กำลังถูกจับตามองมากที่สุด ด้วยอัตราการเติบโตของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านบริการที่มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง จากบรรดาสตาร์ทอัพเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า

โดยเฉพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่สนใจเข้าไปลงทุนเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเริ่มต้นธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากหากนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ควบคู่กับ 4 กลุ่มเทคโนโลยี ประกอบด้วย กลุ่มเทคโนโลยีภาครัฐและการศึกษา (GovTech & EdTech), กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน (FinTech), กลุ่มเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ (PropertyTech) และ กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต (IndustryTech) ซึ่งมีกลุ่มโลจิสติกส์ หรือ LogTech เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ

 

การพัฒนาด้านบุคลากรด้าน LogTech

แม้ว่าปัจจุบัน LogTech ในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ด้วยข้อจำกัดด้านปัจจัยการผลิต ทั้งแหล่งทุนและบุคลากร ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะอุตสาหกรรม ส่วนในแง่ของทุนยังคงมีข้อจำกัดเช่นกัน เนื่องจากเทคสตาร์ทอัพทางกลุ่มสถาบันการเงินไทย ยังไม่กล้าปล่อยสินเชื่อเพราะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ทำให้สถาบันการเงินพิจารณาปล่อยสินเชื่อเป็นไปด้วยความระมัดระวัง

ขณะที่ในแง่ของบุคลากร กระดูกสันหลังของ LogTech คือ วิศวกรซอฟท์แวร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การผลิตบุคลากรสาขานี้ของไทยยังจำกัด ที่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือในกำกับของรัฐ ทำให้สัดส่วนธุรกิจเกิดใหม่ในสาขาขนส่งและการคมนาคม (หมวดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และหมวดบริการสารสนเทศอยู่ในสาขานี้) คิดเป็นเพียง 7% ของทั้งหมด ซึ่งสาขาดังกล่าวจะเป็นเป้าหมายลำดับที่ 5 ของธุรกิจ LogTech เกิดใหม่

 

พัฒนา LogTech ต้องยกระดับด้านงานวิจัย

สอดคล้องกับความคิดเห็นของของ คุณพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ผู้นำตลาดในภาคธุรกิจขนส่งมากว่า 50 ปี ระบุว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศเกือบ 100% เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเข้าไปเกี่ยวของเกือบทุกภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย  แต่กระนั้นหัวใจหลักของธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตได้อย่างยั่งยืน คือ การวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการและการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า ในแต่ละภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การยกระดับอุตสาหกรรมภาคการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศให้แข็งแกร่ง และเติบโตยิ่งขึ้นนั้น ผู้ประกอบการต้องเดินหน้าสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการขนส่งในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมทั้งสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่จะเดินหน้าไปลงทุนด้านเทคสตาร์ทอัพทุกรูปแบบ ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล เมื่อมีเข็มทิศชัดเจนผู้ประกอบธุรกิจย่อมดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี ไม่เกิดการสะดุด กลางคัน และหากมีแหลงเงินทุนเพื่อผู้ประกอบการด้วยยิ่งไปได้สวยอีกหลายเท่าตัว”

คุณพนัส ให้ความคิดเห็นว่า จากประสบการณ์และทิศทางการทำงานมาตลอดกว่า 50 ปีที่ผ่านมา บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด  ได้เฟ้นหาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อผลักดันเข้าสู่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพราะคนกลุ่มนี้สามารถเชื่อมไอเดียธุรกิจได้หลากหลาย และเทคสตาร์ทอัพ ที่เกิดใหม่ในกลุ่ม LogTech ไปสู่องค์กรหรือบริษัทที่แสวงหาไอเดียธุรกิจหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบ Open Innovation มีความต้องการบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมธุรกิจด้วยทำให้องค์การหรือบริษัทเดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น LogTech สามารถตอบสนองนโยบายและทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ รวมถึงสนับสนุนการก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในอนาคต


ปี 2020 ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ก็กำลังเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และครั้งสำคัญของระบบขนส่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเทคโนโลยีจะไม่ส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่ออุตสาหกรรมการขนส่งเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่เทคโนโลยีที่ทันสมัยกลับจะช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงาน ขั้นตอนการขนส่ง และการติดตามสินค้าจากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สร้างประสบการณ์ใหม่ และความประทับใจให้กับผู้บริโภค


รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งสินค้าไทยไปคาซัคสถาน

‘Huochebang’ สตาร์ทอัพด้านขนส่งที่ใช้ Big Data


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2180 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4372 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2182 | 22/12/2022
LogTech เทรนด์สตาร์ทอัพมาแรงปี 2020