5 กรณีการใช้ IoT เพื่อการทำเกษตรอัจฉริยะ

SME in Focus
21/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 45687 คน
5 กรณีการใช้ IoT เพื่อการทำเกษตรอัจฉริยะ
banner

แนวคิด Smart Farm หรือเกษตรอัจฉริยะ คือการทำการเกษตรที่นำเอาระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการดูแลการเพาะปลูก รวมไปถึงกระบวนการผลิตเพื่อนำไปสู่การเกษตรเชิงธุรกิจ ด้วยการผสมผสานศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์การเกษตร กับศาสตร์ทางวิศวกรรมเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกร

เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิดของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง การทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่างกับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชและสัตว์ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด โดยเทคโนโลยีที่เรียกว่าเป็นพระเอกของเรื่องนี้ คือ  Internet of things (IoT) ที่ปัจจุบันในบ้านเราเรียกว่า ‘อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง’

ย้อนไปในปี 1999 เทคโนโลยี Internet of things (IoT) ถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton จากโครงการ Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID ที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับ RFID Sensors ต่างๆ ที่จะเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเอง กลายมาเป็นแนวคิดของการทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สื่อสารกันได้โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน

ปัจจุบัน IoT ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับหลายสิ่งหลายอย่างทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรกรรม เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพโดย ใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด ซึ่งนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า เกษตรอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ซึ่งได้นำเทคโนโลยี RFID Sensors เข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้น สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้

ตัวอย่างเช่น การใช้เซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่างๆ อย่าง เซ็นเซอร์ตรวจอากาศ (Weather Station) เซ็นเซอร์วัดดิน (Soil Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจโรคพืช (Plant Disease Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจวัดผลผลิต (Yield Monitoring Sensor)

เซ็นเซอร์เหล่านี้สามารถนํามาวางเป็นระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Sensor Network) โดยนําไปติดตั้งหรือปล่อยในพื้นที่ไร่นา เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง และสารเคมี เพื่อที่จะทราบว่าควรมีการให้ปุ๋ย น้ำ ยาฆ่าแมลง เมื่อใด และเท่าใด ตามสภาพความแตกต่างของพื้นที่

ซึ่งการให้ปุ๋ย น้ำ และยาฆ่าแมลงก็จะใช้เทคโนโลยีการให้ปุ๋ย/น้ำ/ยาฆ่าแมลง หรือที่เรียกว่า Variable Rate Technology (VRT) โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้ระบบเซนเซอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าแปลงใดควรจะมีการให้ปุ๋ย น้ำ และย่าฆ่าแมลงเท่าใดในช่วงเวลาใด ซึ่งเทคโนโลยีจะใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Global Positioning System (GPS) นั่นเอง

ปัจจุบันไทยได้มีการนำงานวิจัยไปใช้ใน เกษตรสมัยใหม่ หลากหลายรูปแบบ เช่น

1. ระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับโรงเรือนปลูกผักด้วยน้ำ ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติผ่านเทคโนโลยี IoT ในการติดตามสภาพแวดล้อมการเจริญเติบโตของผักในโรงเรือนปลูกผักด้วยน้ำผ่านแอพฟลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ นำไปใช้งานที่บริษัทอินดัสเตรียลออโตเมชั่น แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด จังหวัดนนทบุรี

2. ระบบสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์แบบ Gantry Robot ชนิดควบคุมอัตโนมัติ ใช้สุ่มตรวจคุณภาพวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและลดแรงงานในการผลิตอาหารสัตว์ นำไปใช้งานที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) ณ โรงงานจังหวัดนครราชสีมา ลำพูน พิษณุโลก ขอนแก่น ลพบุรี ราชบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สงขลา และที่บริษัททรัพย์สถาพร จำกัด 7ณ โรงานจังหวัดลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา

3. เครื่องคัดแยกกาแฟเชอรี่สด (Coffee Cherries Sorting Machine) มีกำลังการผลิต 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดสารกาแฟ (Coffee Bean Separator Machine) มีกำลังการผลิต 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง นำไปใช้งานที่ไร่กาแฟอินทรีย์รักษาป่า ‘มีวนา’ บ้านขุนลาว ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

4. เครื่องชุบถุงมือผ้าเคลือบยางกึ่งอัตโนมัติ นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพารา มีกำลังการผลิต 3,000 คู่ต่อวัน นำไปใช้งานที่กลุ่มชาวสวนยางบ้านในสวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลิตและจำหน่ายถุงมือผ้าเคลือบยางทั้งในและต่างประเทศ เช่น อิสราเอล

5. เครื่องแยกทะลายปาล์มอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ใช้งานได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพสูง ลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ นำไปใช้งานที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโมถ่ายจำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี


เห็นได้ว่าการใช้ IoT ในภาคการเกษตรเกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย ทั้งปัจจุบันมีการต่อยอดและปรับรูปแบบให้เกษตรกรทั่วไปสามารถเข้าถึงในต้นทุนที่ไม่สูงนักและขยายอย่างทั่วถึงมากขึ้น นี่จึงเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการทำเกษตรสมัยใหม่ หรื Smart Farming ที่เป็นรูปธรรม

อ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม

แนะเกษตรยุคใหม่เน้นตลาดเฉพาะกลุ่ม เสริมด้วยนวัตกรรม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
303 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1128 | 01/04/2024
ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
1500 | 25/03/2024
5 กรณีการใช้ IoT เพื่อการทำเกษตรอัจฉริยะ