อุดช่องโหว่! กรณีน่าศึกษาจากร้านอาหารแบบ QUICK FOOD

SME Update
18/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2484 คน
อุดช่องโหว่! กรณีน่าศึกษาจากร้านอาหารแบบ QUICK FOOD
banner

กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ต่างๆ กลยุทธ์ที่ดี ถูกจังหวะเวลา และตอบสนองตรงจุดตามความต้องการของลูกค้า จะเป็นโอกาสที่ทำให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นวิกฤติการณ์ หรือเติบโตได้ ซึ่งกรณีนี้ขอหยิบยกการใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างโอกาสได้อย่างเหมาะเจาะ

โดยบริษัท PANERA BREAD COMPANY เป็นร้านค้า CHAIN STORE สไตล์อเมริกันจำหน่ายอาหารแบบ QUICK MEAL เช่น เบเกอรี่ พาสต้า สลัด แซนวิช ซุปและเครื่องดื่มต่างๆ มีสาขามากกว่า 2,000 แห่งทั่ว สหรัฐอเมริกาและแคนาดา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่รัฐ MISSOURI และยังเป็นบริษัทในเครือของ JAB HOLDING ที่เป็นเจ้าของ AU BON PAIN อีกด้วย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


PANERA ได้พยายามปรับกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอาหารอย่างรวดเร็ว เพื่อความอยู่รอดในช่วงวิกฤต COVID-19 พยายามขจัดอุปสรรคสำคัญ คือ การแย่งชิงช่องทางการจัดส่งสินค้าให้กับผู้บริโภค ระหว่าง FRESH DIRECT INSTACART และ AMAZON โดยบริษัท PANERA และร้านค้าในเครือทั้ง 2,000 แห่ง จึงได้ผันตนจากร้านจำหน่ายอาหารแบบ QUICK FOOD หรืออาหารจานด่วน มาเป็น ‘GROCERY’ หรือโชห่วย โดยชื่อ “PANERA GROCERY”

รวมทั้งได้มีการเพิ่มการจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นภายในร้าน เช่น นมผง โยเกิร์ต มะเขือเทศ อะโวคาโดและอื่นๆ โดยทางร้านจะจัดส่งสินค้าผ่านเครือข่ายของ PANERA ซึ่งมีบริการกว่า 10,000 ราย โดยจะสามารถรับสินค้าที่ร้านในสาขาต่างๆ รับแบบ DRIVE THROUGH เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าโดยใช้เวลาส่งมอบไม่เกิน 40 นาที และผู้จัดส่งจะไม่มีการสัมผัสอาหารใดใด เช่นเดียวกับการขับรถไปรับสินค้าที่ร้าน

นาย NIREN CHAUDHARY (CEO) ของบริษัท PANERA เล็งเห็นปัญหาความขาดแคลนสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นจำนวนมาก และความต้องการสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน จึงได้นำมาปรับกลยุทธ์ของบริษัท PANERA โดยใช้โอกาสในเรื่องช่องทางการจำหน่ายที่มีเป็นจำนวนมากของบริษัทมาใช้ประโยชน์ดังกล่าว โดยหวังว่าเมื่อลูกค้าสั่งขนมปังและแอปเปิ้ลแล้ว พวกเขาอาจจะสั่งอย่างอื่นเพิ่ม เช่น ซุปหรือสลัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทไม่ขาดทุน ดังเช่นเมื่อเดือนที่ผ่านมาบริษัทต้องปิดร้านประมาณ 300 ร้าน หรือประมาณ 15% ของร้านทั้งหมด

อย่างไรก็ตามเพื่อการรักษาพนักงานที่มีอยู่บริษัท จึงจำเป็นต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โปรแกรมจำหน่ายสินค้า GROCERY ของบริษัทนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่ออุดช่องโหว่ของการสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้านที่มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ เมื่อผู้บริโภคจำนวนมากเปลี่ยนการพฤติกรรมซื้ออาหารเกือบทั้งหมดที่ร้าน GROCERY ส่งผลให้อุปทานอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารได้รับผลกระทบ โปรแกรมดังกล่าวยังได้ช่วยเหลือเกษตรและฟาร์มปศุสัตว์ในการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค ตลอดจนเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ค้าส่งสินค้าอาหารให้กับร้านอาหารอีกด้วย บริษัท PANERA ได้เริ่มโปรแกรมดังกล่าวเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะได้มีการติดตามผลประเมินภายหลังวิกฤติอีกครั้ง


เห็นได้ชัดว่าท่ามกลางการระบาดของไวรัส COVID-19 ผู้ประกอบการร้านอาหารและธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย ก็ต่างพยายามหาช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากที่สุด โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารที่ต้องพึ่งพิงบริการจัดส่งอาหารของแพลตฟอร์ม Delivery คนกลาง ซึ่งย่อมมีค่า Gross Profit (GP) หรือส่วนแบ่งจากยอดขายอาหาร ทั้งยังต้องบวกค่าส่งจากผู้บริโภคด้วย อาจทำให้ต้นทุนอาหารที่สั่งออนไลน์ต่อมื้อสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคเองก็ไม่สามารถจะมีทางเลือกมากนักในช่วงนี้

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ร้านค้า ร้านอาหารสามารถแก้ไขตรงจุดนี้ได้ ฝากไปคิดต่อ ไม่แน่ธุรกิจคุณอาจเป็นผู้เปลี่ยนแปลงสิ่งเดิมๆ ในสังคมก็ได้

 

อ้างอิง : GROCERY FORBE.COM 

             สคต. ณ นครนิวยอร์ก 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เทรนด์ที่กำหนดทิศทางธุรกิจในทศวรรษหน้า

กระตุ้นยอดขาย ลดต้นทุนให้ธุรกิจด้วย Chatbot



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1236 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1595 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1879 | 25/01/2024
อุดช่องโหว่! กรณีน่าศึกษาจากร้านอาหารแบบ QUICK FOOD