ผลพวงจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังคงความเข้มข้น
หลังการเพิ่มกำแพงภาษีนำเข้าสร้างแรงกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ
และความต้องการใช้น้ำมันในระยะยาว แต่กำลังซื้อของ “ตลาดตะวันออกกลาง” ยังเป็นขุมทองของสินค้าจากทั่วโลกรวมถึงไทยต้องรักษาไว้
เพราะตลาดนี้สัดแบ่งประมาณ 3.4%
ของการส่งออกไทย
แม้ว่าที่ผ่านมากลุ่มประเทศในตลาดตะวันออกกลางทั้งหมด
15 ประเทศ
บางประเทศเกิดภาวะปัญหาความไม่สงบทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
รายได้หลักจากราคาน้ำมันก็ลดลงจากราคาน้ำมันโลก
รวมไปถึงการไหลออกของเงินทุนไปยังต่างประเทศ
ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดดังกล่าวช่วง 6
เดือนแรกปีนี้ลดลง
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงประเมินว่าการส่งออกไปยังตลาดนี้มีโอกาสจะขยายตัว เนื่องจากจะมีการจัดงานระดับโลก 2 งาน คือ งานแสดงสินค้า
"World Expo 2020"
ต่อเนื่องด้วยการจัดการแข่งขันฟุต
“บอลโลกปี 2022”
ประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพ ซึ่งประเมินว่าจะมีผู้ที่สนใจจะเดินทางมาเข้าร่วม 2
งานนี้ถึง 20 ล้านคน
จึงเป็นโอกาสสำคัญไทยจะผลักดันการส่งออกสินค้าทั้งกลุ่มก่อสร้าง ของตกแต่งบ้าน
อาหาร รวมถึงเสื้อผ้ากีฬา เป็นต้น รวมถึงธุรกิจบริการ อย่างโรงแรม ร้านอาหาร
สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ต้องลงทุนขยายตัวเพื่อรองรับผู้เข้างาน
อีกด้านหนึ่งผู้ส่งออกที่สนใจบุกตลาดนี้จำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาและลดอุปสรรคในการส่งออก
โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยในปัจจุบันที่ยังสูงกว่าคู่แข่ง เช่น จีน
อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
รวมถึงการปัญหาเรื่องการชำระเงินในการซื้อขายสินค้าในบางประเทศในตะวันออกกลางให้สะดวกมากขึ้น
กลยุทธ์สำคัญในการผลักดันการส่งออกไปตะวันออกกลาง ภาคเอกชนควรเข้าร่วมงานกับกรมส่งเสริมการการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะมีการนำคณะภาคเอกชนเข้าร่วมงานแสดงสินค้า เช่น ไทยแลนด์เอ็กซิบิชั่นในกาตาร์ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและทดลองตลาด รวมไปถึงหาคู่ค้า พันธมิตร โดยจะขยายไปยังตลาดรองที่มีศักยภาพ เช่น โอมาน บาห์เรน อิรัก อิหร่าน เยเมน ไซปรัส เลบานอน และนำเสนอปัญหาการค้าและการลงทุนต่อภาครัฐ เพื่ออาศัยเจรจาการค้า เช่น การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าต่างๆ ผลักดันและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
เปิดตลาดโอมาน-บาร์เรน
ล่าสุดนางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า
กรมฯได้จัดกิจกรรมนำคณะผู้แทนการค้าอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจการไปเปิดตลาดในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ณ กรุงมัสกัต ประเทศโอมานและ กรุงมานามา ประเทศบาห์เรนเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้พบปะกับผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าสินค้าโดยตรง
และได้ทราบถึงโอกาสแนวทางในการขยายธุรกิจบริการและส่งออกสินค้า ตลอดจนเป็นการสร้างภาพลักษณ์สินค้าและบริการไทย
และเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่อง
โดยผลตอบรับจากประเทศโอมานมีผู้นำเข้าโอมานสนใจเข้าร่วมกิจกรรมถึง 70
รายมีมูลค่าสั่งซื้อที่เกิดขึ้นในทันที 8.58
ล้านบาท และจะทยอยซื้อเพิ่มขึ้นภายในปีนี้อีก 191.7
ล้านบาท
ในส่วนของประเทศบาห์เรน
มีผู้นำเข้าบาห์เรนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม 67
ราย มีมูลค่าสั่งซื้อที่เกิดขึ้นทันที 14.5
ล้านบาท มูลค่าที่จะซื้อเพิ่มใน 1
ปี อีก 296.6
ล้านบาท
อย่างไรก็ตามผลจากการนำคณะผู้แทนคณะผู้แทนการค้าอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจการไปเปิดตลาดในภูมิภาคตะวันออกกลางในสองประเทศ
สร้างยอดการสั่งซื้อรวมกว่า 500
ล้านบาท
ผุดศูนย์การค้า “Thai
Mart Bahrain”
ขณะที่อีกด้านหนึ่งผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) สามารถอาศัยช่องทางการเจาะตลาดผ่าน
"Distribution Center" ของคนไทยที่ไปลงทุนในตลาดตะวันออกกลาง
โดยบริษัท เวก้า อินเตอร์เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จำกัด
ซึ่งกำลังจะเปิดศูนย์การค้า “Thai Mart Bahrain”
มีพื้นที่กว้างขนาด
20,000 ตารางเมตรที่บาห์เรน
โดยเฟสแรกจะเปิดต้นเดือนธันวาคม 2562
พื้นที่ 6,700
ตารางเมตร
และกำลังสร้างเฟสที่สองคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2563
ภายในศูนย์การค้าแห่งนี้แบ่งโซนสินค้าไว้ 4
กลุ่ม คือ
1.โซนศูนย์รวมอาหารนานาชาติ
และรวมร้านคาเฟ่ที่นิยมของผู้บริโภคตะวันออกกลางด้วย
2.โซนอาหารแปรรูป
สินค้าสมุนไพร สินค้านวัตกรรม
3.โซนธุรกิจบริการด้านสุขภาพ
ความงาม และ
4.โซนลานกิจกรรม
ซึ่งจะเปิดโอกาสให้SMEsได้มีโอกาสสร้างตลาดและหาคู่ค้า
โอกาสในการทำตลาดสามารถทำได้ทั้งเปิดในลักษณะขายปลีกและขายส่ง
เพราะบาห์เรน ถือเป็นประตการค้าสู่ตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย
ซึ่งมีประชากร 34 ล้านคน
มีรายได้ต่อหัว 25,400
เหรียญสหรัฐ ทั้งยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมาก
สำหรับสินค้าที่มีแนวโน้มจะสามารถเปิดตลาดไปยังตะวันออกกลางได้
คือ อาหารแปรรูป ผลไม้ สมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากยางพารา
ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและความงาม และธุรกิจการศึกษา
ซึ่งทางบาห์เรนเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนเป็นเจ้าของได้ 100%
รวมทั้งมีสิทธิในการว่าจ้างพนักงาน และอำนวยความสะดวกับนักลงทุนอย่างเต็มที่
ส่องกระแส Startup ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
ประเด็นที่ท้าทายในธุรกิจอาหารฮาลาล