ในปี 2562
ประชาชนเมียนมามีความนิยมในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ Facebook
ซึ่งมีการใช้มากว่า 21 ล้านคน ถือว่ามีสัดส่วนเกือบ 50%
ของจำนวนประชากรทั้งหมด 54.10 ล้านคนเลยก็ว่าได้
การใช้เฟชบุ๊คไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารเท่านั้น แต่ชาวเมียนมายังมีการขายสินค้าผ่านทางเฟชบุ๊คเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ยังนี้มีแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์อื่นๆ ที่นิยมในเมียนมา เช่น Shop.com, Barlolo.com, Shopmyar.com และ Baganmart.com สำหรับรูปแบบการค้าผ่านเฟชบุ๊คยังใช้วิธีเก็บเงินปลายทางเป็นส่วนใหญ่
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการในต่างประเทศ
ประจำกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ระบุว่าปัจจุบันมูลค่าตลาดสินค้า E-Commerce
ในเมียนมาอยู่ที่ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น
0.008% ของจีดีพีเมียนมา
แม้ว่าจะยังมีสัดส่วนน้อยแต่โอกาสในการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ในตลาดเมียนมา ถือว่ามีความสดใสมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากอดีต โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มแฟชั่น เครื่องสำอาง ตั๋วเครื่องบินตั๋วรถไฟ
หนังสือ เครื่องดื่มและอาหารมีโอกาสดีมาก
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่มีการใช้สมาร์ทโฟนใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น
39% ของทั้งประเทศ และความเร็วเฉลี่ยของสัญญาณอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ 24.21
MBPS โดยมีผู้ให้บริการเครือข่ายอยู่ 4 ราย คือ MPT, Oredoo, Telenor และ Mytel
ขณะเดียวกันพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ชาวเมียนมาเริ่มมีชนชั้นกลางมากขึ้น
ซึ่งจะมีพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นสินค้าที่มีคุณภาพสูง
จากเศรษฐกิจเมียนมาที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 6-8%
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเปิดตลาดสินค้าออนไลน์ยังมีโอกาสมาก เนื่องจากชาวเมียนมามั่นในเรื่องคุณภาพของสินค้าไทย ทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นมูลค่า 4,618 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยกลายเป็นแหล่งนำเข้าอันดับสอง รองจากการนำเข้าสินค้าจีนโดย และส่วนใหญ่การค้าขายชายแดนไทย-เมียนมาจะผ่านช่องทางการค้าชายแดนบริเวณด่านชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นหลัก แต่ก็เริ่มจะมีการซื้อสินค้าผ่านมาอีคอมเมิร์ช โดยเฉพาะผ่านเฟชบุ๊คมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นและความงาม
อย่างไรก็ตามความท้าทายในการทำตลาดสินค้าออนไลน์ยังมีอุปสรรสำคัญต่อการขยายการค้า
จากการที่ชาวเมียนมายังคงนิยมใช้เงินสดในการซื้อสินค้าเป็นหลัก
โดยมีประชากรที่เคยซื้อสินค้าหรือทำธุรกรรมออนไลน์เพียง 3.6%
และรัฐบาลเมียนมายังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ชัดเจน
อีกทั้งการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์จากการที่ยังไม่เข้าสู่ระบบธนาคาร
แม้ว่าจะเริ่มสถาบันการเงินท้องถิ่นที่เริ่มให้บริการ Internet
Banking และ Online Payment เพิ่มมากขึ้น เช่น
CB Pay, KBZ Pay และมีการขยายตัวของธุรกิจ Fintech เช่น Wave Money, True Money และ OK Dollar แต่ก็ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะประชาชนขาดความมั่นใจในระบบธนาคารและเทคโนโลยีการทำธุรกิจการเงิน
นอกจากนี้ปัญหาระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในเมียนมายังขาดประสิทธิภาพ ทำให้การจัดส่งสินค้าใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงเกิดปัญหาจัดส่งไม่ตรงตามกำหนดเวลานัดหมาย รวมถึงสินค้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง ตลอดจนปัญหาต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่อนข้างสูง ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องพิจารณาให้รอบคอบ วางแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว เพื่อสร้างโอกาสขยายในการขยายสู่ตลาดนี้ให้ได้ในอนาคต
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<
จับตา! การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนกัมพูชา
มิงกาลาบา! เมียนมาปรับโฉมรับลงทุน 2020