เจาะโมเดลสยามพิวรรธน์-เซ็นทรัลพัฒนา ตั้งการ์ดสูงสู้โควิด-19

SME Update
25/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1607 คน
เจาะโมเดลสยามพิวรรธน์-เซ็นทรัลพัฒนา ตั้งการ์ดสูงสู้โควิด-19
banner

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลงตามลำดับ แต่ธุรกิจค้าปลีกยังต้องเผชิญกับปัจจัยกดดันต่อไป โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยเพราะผู้บริโภคยังกังวลกับการแพร่ระบาดรอบ 2 รวมถึงการบริหารจัดการกับมาตรการทางสังคมที่ต้องเข้มข้น บวกกับกำลังซื้อที่ยังอ่อนแรง ปัจจัยต่างๆ มีผลให้เกิดพฤติกรรมใหม่ซึ่งอาจเปลี่ยนพฤติกรรมตลอดกาล (New normal) ซึ่งถือเป็นเกมใหม่ที่ท้าทายตลาดค้าปลีกเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังไม่สามารถคาดการณ์กับความชัดเจนของผู้บริโภคได้ ระยะนี้จึงถือเป็นเพียงด่านแรกที่ต้องค้าปลีกต้องเดินเกมเพื่อ “ตั้งรับ”

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

สยามพิวรรธน์ วางสมการคู่ขนาน Innovative Health + Retail Ecosystem

ศูนย์การค้าในเครือสยามพิวรรธน์ ซึ่งประกอบด้วยไอคอนสยาม, สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นกลุ่มธุรกิจที่มองสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นภัยคุกคามร้ายแรง โดยเตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ด้วยงบลงทุนกว่า 16 ล้านบาท สำหรับซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่วัดไข้อินฟราเรด เพิ่มพนักงานทำความสะอาด

กระทั่งมีการผ่อนปรนด้วยการคลายล็อกระยะที่ 2 อนุญาตให้เปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าฯ ได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของธุรกิจค้าปลีก ที่ต้องเปิดให้บริการท่ามกลางความกลัวและวิตกกังวลด้านสุขอนามัยของผู้บริโภค และปัจจัยนี้ยังจะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในชีวิตวิถีใหม่นับจากนี้ไป

โดยสยามพิวรรธน์ได้วางยุทธศาสตร์ในการจัดการกับ Pain Point ของผู้บริโภคด้วยการเรียกความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยผ่านแนวคิด “Innovative Health & Safety” โดยครอบคลุมใน 3 มิติหลักคือ พนักงานที่จะต้องทำการคัดครองอย่างเข้มข้นทุกวันเนื่องจากต้องใกล้ชิดกับผู้ใช้บริการ, วางมาตรการ Deep Clean ด้วยการทำความสะอาดทุกพื้นที่ในศูนย์การค้าควบคู่กับการรักษาระยะห่าง รวมไปถึงเข้มงวดด้านสุขภาพกับพนักงานรับส่งสินค้า

ที่สำคัญมีการยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นใจสูงสุดและเป็นแผนต่อเนื่องในระยะยาว ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต New Normal เช่นลดการสัมผัส ส่งเสริมการใช้ Cashless หรือ E-Payment ในการชำระค่าบริการต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนั้นได้พัฒนาโมเดลธุรกิจผ่านแนวคิด “Ecotopia” ซึ่งเปิดบริการที่สยามดิสคัฟเวอรี่ในรูปแบบของอีโค่คอมมูนิตี้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียบนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรให้เป็นพื้นที่ของสินค้าเพื่อวิถีชีวิตยุคใหม่และตอบสนอง Sustainable Living ในทุกมิติ เช่น สินค้าเพื่อสุขภาพและรักษาสุขอนามัย สินค้าที่ไม่ใช้สารเคมี อาหารออร์แกนิค และสินค้าที่กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมหรือผลิตจากวัสดุเหลือใช้ สินค้า re-use, recycle เป็นต้น

ขณะเดียวกันเครือสยามพิวรรธน์ได้ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมผ่านการสร้างสรรค์ระบบนิเวศของธุรกิจค้าปลีก (Retail Ecosystem) เพื่อให้ทุกหน่วยในภาคธุรกิจกลับมาฟื้นตัวได้และกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เริ่มจากแนวคิด New Beginning - New Smile โดยเปิดพื้นที่ให้จำหน่ายสินค้า 27,000 ตร.ม. ให้ผู้ค้ารายย่อยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และเกษตรกรเข้ามาจำหน่ายสินค้าได้ฟรี ผ่านการจัดกิจกรรมตลาดนัดยิ้มสยาม, กิจกรรมฟื้นใจไทยเป็นต้น

 

เปิดเกมเร็วผุด Omni Channelทุกมิติ

แรงกดดันจากกระแส New Normal ยังเป็นปฏิกิริยาชั้นดีในการเร่งให้สยามพิวรรธน์เปิดบริการใหม่ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาช่องทางขายแบบไร้รอยต่อหรือ Omni Channel เช่น บริการ S-commerce ในรูปแบบ “Luxury Chat & Shop” ที่ให้ช้อปปิ้งออนไลน์กับลักชัวรี แฟล็กชิปสโตร์และจัดส่งถึงหน้าบ้าน ซึ่งขณะนี้มีลักชัวรีแบรนด์ที่ร่วมจำหน่ายในช่องทาง Luxury Chat & Shop จำนวนมาก เช่น Balenciaga, Bally, Boss Hugo Boss, Bottega Veneta, Burberry, BVLGARI, Coach, Dolce&Gabbana, Fendi, Furla, Givenchy, Gucci, Jimmy Choo เป็นต้น 

รวมถึงการบริการ “One Siam & ICONSIAM Chat & Shop” ให้ชอปปิ้งสินค้า luxury brands, fashion, beauty, dining, living และ entertaining ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่าน One Siam Application และ Line @One Siam ขณะนี้มียอดดาวน์โหลด One Siam Application รวมกว่า 200,000 คน และ Line @One Siam มีสมาชิกกว่า 720,000 คน

นอกจากนี้ยังพัฒนาบริการที่ตอบสนองชีวิตวิถีใหม่ เช่น “Call & Pick Up” ที่สามารถสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากกูร์เมต์มาร์เก็ต สยามพารากอน, ซูเปอร์มาร์เกต Dear Tummy และ Taka Marche ที่ไอคอนสยามผ่านการลิสต์และสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าและมารับสินค้าในที่นัดหมาย

ล่าสุดได้นำศูนย์การค้าสยาม เซ็นเตอร์เข้าสู่ช่องทางแพลตฟอร์มดิจิทัลช้อปปิ้งผ่านบริการ “Siam Center Virtual Mall” โดยร่วมกับลาซาด้า เปิดพื้นที่ขายผ่าน www.lazada.co.th หรือแอปพลิเคชัน LAZADA เพื่อตอบรับกับวิถีใหม่ ซึ่งจะขับเคลื่อนผ่าน 4 ส่วนหลัก คือ

1. Creator ผู้สร้างสรรค์เรื่องเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ

2. Platform รูปแบบค้าปลีก

3. Supporter ผู้สนับสนุนต่างๆ

4. Customer ลูกค้า

Center of New Normal Life” ยุทธศาสตร์ใหม่ CPN

สำหรับการ Re-start ธุรกิจหลังมีมาตรการการคลายล็อกระยะที่ 2 ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ซึ่งมีศูนย์การค้าในเครือ 4 แบรนด์ คือเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ต มีการวางแผนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยผ่านแนวคิด “Center of New Normal Life” หรือศูนย์กลางการใช้วิถีชีวิตใหม่อย่างปลอดภัย Reassure Confidence

โดยการขับเคลื่อนบทบาทของศูนย์การค้ามากกว่าการดูแลลูกค้าระหว่างการเข้ามาใช้บริการเท่านั้น แต่ต้องสามารถดูแลได้ตลอดเวลาด้วยมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยและการมีวินัยในสังคม เพราะจากนี้ไปศูนย์การค้าไม่สามารถที่จะเป็นเพียง Service Provider ได้แต่ต้อง Health & Safety Provider ผ่านการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เช่นมาตรการ Touchless Lift ลิฟต์ไร้สัมผัสที่นำร่องแล้วที่เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสวิลล์, เครื่อง UV-C เช็ดบันไดเลื่อน, ตู้ UV-C ทำความสะอาดถุงสินค้า

ขณะเดียวกันได้ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ เช่น หุ่นยนต์วัดอุณหภูมิจาก AIS, หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ของ Central Food Hall & Tops, Uniqlo มีเครื่อง UV-C ทำความสะอาดเสื้อผ้าหลังลองสินค้า และ Sephora มีบริการ Find my shade ทดลองเครื่องสำอาง เป็นต้น

ขณะเดียวกันซีพีเอ็นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ ด้วยการผ่านแนวคิด Rebuild Economy เปิดพื้นที่ฟรีให้เกษตรกรและเอสเอ็มอีรายย่อยทั่วประเทศรวมกว่า 40,000 ตร.ม. ต่อเนื่อง 3-6 เดือน จากที่ได้นำร่องมาแล้วในโครงการตลาดผลไม้รวมใจที่ให้เกษตรกรผลไม้ส่งออกมีช่องทางกระจายสินค้า และได้วางแผนสนับสนุนร้านค้าจัด Clearance Sales เพื่อช่วยเหลือร้านค้าและลูกค้าได้เลือกซื้อสินค้าจำเป็นในราคาถูก รวมถึงการตรึงราคาสินค้าและลดราคาอาหารในศูนย์อาหาร

 

เติมเกมรุกแพลตฟอร์ม Omni channel ให้เข้ม

จากมาตรการ "Work From Home" ทำให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์และคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเป็นช่องทางที่บทบาทมากขึ้นสำหรับวิถี New normal ซึ่งกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลได้วางแผนและพัฒนาช่องทาง Omni channel มาตามลำดับโดยมีพันธมิตรสำคัญอย่าง JD.COM เข้ามาเสริมทัพจากที่เครือเซ็นทรัลมี Physical ที่แข็งแกร่งเป็นต้นทุนสำคัญอยู่แล้ว

และจากสถานการณ์การแพร่งระบาดของโควิด-19 ซีพีเอ็นมีเป้าหมายที่จะยกระดับ Retail Ecosystem ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยประสานจุดแข็งของ Physical & Online Platform ที่เริ่มจากการเปิดตัวบริการ New Normal Lifestyle ได้แก่ One Call x One Click และ LINE: @CentralLife, บริการ Drive Thru, บริการ Central Eats ร่วมกับ Grab Food

บริการ Food Delivery & Food Pick Up Counter และบริการล่าสุด Central Life: Chat & Shop ที่นำแนวคิด “เหมือนช้อปด้วยตัวเองจากเซ็นทรัลเวิลด์และเซ็นทรัล วิลเลจ” เข้ามากระตุ้นความสนใจ ทั้งหมดนี้มีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยจุดแข็งที่มีคือฐานข้อมูลจาก The 1 ที่สะสมมานานและสามารถที่จะขยายฐานลูกค้าได้ตลอด ซึ่งจะเป็นความได้เปรียบเพราะสามารถที่จะนำมา Design Journey ได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


‘วาสนาฟาร์ม’ ปรับโมเดลธุรกิจหลังโควิด-19

6 เทรนด์ต้องรู้ เพื่อช่วยเซฟแบรนด์


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1238 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1615 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1882 | 25/01/2024
เจาะโมเดลสยามพิวรรธน์-เซ็นทรัลพัฒนา ตั้งการ์ดสูงสู้โควิด-19