ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้านับเป็นอุปสรรคหลักที่ฉุดรั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศเมียนมามาอย่างยาวนาน ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมารัฐบาลเมียนมาประกาศบังคับใช้อัตราราคาค่าไฟฟ้าใหม่ ทั้งในส่วนของภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลพรรค NLD ที่มุ่งมั่นผลักดันนโยบาย "Myanmar Sustainable development Plan" หรือ MSDP มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
การประกาศปรับขึ้นอัตราราคาค่าไฟฟ้าใหม่ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย MSDP
ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่รัฐบาลต้องการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนให้กับประเทศ
อย่างไรก็ตามการตัดสินใจออกนโยบายดังกล่าวถือเป็นความท้าทายและเป็นความเสี่ยงต่อรัฐบาลพรรค NLD ที่อาจต้องสูญเสียความนิยมและคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี
2563
ย้อนกลับไปในอดีตรัฐบาลเมียนมามีการอุดหนุนค่าไฟฟ้ามาเป็นระยะเวลานาน
ไม่เพียงส่งผลกระทบต่องบประมาณและขาดแคลนการลงทุนภาคพลังงานไฟฟ้า และเป็นปัญหาเรื้อรังที่ทาให้ประเทศเมียนมามีพลังงานไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ
ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ถึงแม้ว่าประเทศเมียนมาจะความได้เปรียบทางด้านภูมิประเทศและทรัพยากรที่เอื้อต่อการผลิตไฟฟ้า
ทั้งในด้านของที่ดิน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
แต่ภาครัฐก็ไม่สามารถที่จะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการใช้
รวมทั้งไม่สามารถเชื่อมโยงระบบสายส่งและกระจายการเข้าถึงไฟฟ้าไปสู่ประชาชนในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลได้อย่างทั่วถึง
โดยระบบสายส่งไฟฟ้า National Grid สามารถครอบคลุมพื้นที่เพียงแค่ร้อยละ
40 ของประเทศเท่านั้น ผู้ที่มีไฟฟ้าใช้จะกระจุกตัวเพียงแค่ในบริเวณเขตเมืองสำคัญ
ส่งผลเชื่อมโยงต่อการการพัฒนาประเทศในพื้นที่อื่นเป็นไปอย่างขาดสมดุลและเกิดความเหลื่อมล้า
ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมาด้วย
ดังนั้นการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าครั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังว่าจะลดการอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลเมียนมามีงบประมาณในการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคทางด้านไฟฟ้า อีกทั้งจะช่วยดึงดูดให้นักลงทุนทางชาติมีความเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนทั้งในภาคพลังงาน ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสร้างงานและเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น นอกจากนั้นการขึ้นค่าไฟฟ้าจะทำให้ประชาชนเมียนมาปรับทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
โอกาสสำหรับนักลงทุนไทย
ประเด็นนี้กลายเป็นช่องทางโอกาสสำคัญของนักลงทุนไทย
ซึ่งล่าสุดตามข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประจำกรุงย่างกุ้ง
ระบุว่า บริษัท GEP
Myanmar Company Limited ในเครือบริษัท Green Earth
Power จากประเทศไทย
ได้เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562
ที่ผ่านมา ที่เมืองซากุ (Saku Township) เขตมินบู (Minbu) ภาคมะกวย (Magway) ซึ่งอยู่ทางบริเวณภาคกลางของประเทศเมียนมา
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าดังกล่าวมีกำลังการผลิต
170 เมกะวัตต์ แบ่งการผลิตเป็น 4 ระยะ คือ เฟสที่ 1-3 มีกำลังผลิต 40 เมกะวัตต์
และเฟสที่ 4 กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ โดยเฟสที่ 1
โดยมีการยื่นขออนุญาตจากคณะกรรมาธิการการลงทุน หรือ MIC (Myanmar
Investment Commission) ในเดือนมีนาคม 2560
และได้เริ่มดาเนินการตั้งแต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และเมื่อการดำเนินการแล้วเสร็จ
จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 350,000,000 kilowatts
hours/ปี
และจ่ายไฟฟ้าให้แก่ประชานมากกว่า 200,000 ครัวเรือน ที่สำคัญโรงไฟฟ้าดังกล่าวไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษาง่ายกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ช่วยประหยัดต้นทุนดำเนินการในระยะยาว
นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ GEP แล้ว
ในเมียนมายังมีโรงไฟฟ้า Sembcorp Myiangyan Independent Power
Plant ตั้งอยู่ที่เมือง Myiangyan
Township ภาคมัณฑะเลย์
ซึ่งลงทุนโดย กลุ่ม Sembcorp Industries จากประเทศสิงคโปร์
โดยมีมูลค่าโครงการ 310 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กาลังการผลิตไฟฟ้ากว่า 225 เมกะวัตต์
ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า โอกาสการลงทุนพลังงานในเมียนมากำลังมาถึงแล้ว