หากคุณคุ้นชินกับภาพของชายที่พายเรือจับปลาด้วยเท้าข้างเดียวกลางทะเลสาบอินเล หากคุณได้กลิ่นหอมของกาแฟอาราบิก้าจากเมียนมา ที่นับวันจะมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นในระดับนานาชาติ ได้ลิ้มรสอโวคาโด มันฝรั่งทอดรสไข่เค็ม และไวน์ขาว ซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของเมียนมา หลายสิ่งที่ได้กล่าวมา สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตรและทัศนียภาพอันงดงาม ที่มีอยู่ในรัฐขนาดใหญ่ที่สุดของเมียนมาและมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ นั้นคือ ‘รัฐฉาน’
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
รัฐฉานตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญทางเศรษฐกิจของเมียนมา
โดยมีพรมแดนติดกับจีน ลาว และไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
รัฐฉานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง อ้อย
อโวคาโด ผัก ผักที่บริโภคในเมียนมากว่าร้อยละ 60 มาจากรัฐฉาน) กาแฟ และชา
ส่วนผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่โดดเด่น ได้แก่ เนื้อวัว นมวัว เนื้อไก่ ไข่ไก่
และเนื้อหมู
อย่างไรก็ตาม
ข้อมูลของกรมบริหารการลงทุนและบริษัท (Directorate of Investment and Company Administration-DICA) (สถานะล่าสุด
31
ตุลาคม 2562)
ระบุว่าภาคเอกชนต่างชาติยังเข้าไปลงทุนด้านเกษตรกรรมในเมียนมาเพียงร้อยละ 0.5
ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด และการลงทุนด้านปศุสัตว์และการประมงอยู่ที่ร้อยละ
0.93
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน
2562 ที่ผ่านมา กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมา
และคณะกรรมการการลงทุนแห่งรัฐฉาน ได้จัดงานส่งเสริมการลงทุนในรัฐฉานที่เรียกว่า “Shan State Investment Forum 2019:
Your Destination for
Sustainable Agriculture Investment” เพื่อเชิญชวนทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศไปลงทุนและดําเนินธุรกิจด้านการเกษตรในรัฐฉาน
โอกาสการลงทุนที่สําคัญสําหรับนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่
1. การเพาะปลูกและปศุสัตว์ในพื้นที่ของรัฐฉานที่ยังมีอีกเป็นจํานวนมาก
โดยรัฐบาลมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับภาคธุรกิจต่างชาติ
2. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านเทคโนโลยีการวิจัยและการพัฒนา การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา ผลผลิต การแปรรูป
และการบรรจุหีบห่อ ตลอดจนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)
3. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเกษตรกร
นอกจากนี้ รัฐฉานยังมีศักยภาพในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชน (Community Based Tourism) และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agri Tourism) และการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว เช่น การโรงแรม ร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและสินค้าของที่ระลึก และการบริการ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญในรัฐฉาน ได้แก่ ทะเลสาบอินเล เมืองกาลอ (Kalaw) เมืองสีป่อ (Hsipaw) และเทศกาลลอยบอลลูน ที่เมืองตองจี ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
อ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง