เมียนมา พัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ

SME Go Inter
26/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4491 คน
เมียนมา พัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ
banner

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้เป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่เพียงรัฐบาลไทยเท่านั้นที่ให้ความสำคัญ แต่นโยบายนี้กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสอดคล้องกับยุค Thailand 4.0

หลักใหญ่ใจความของสมาร์ทซิตี้ เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิตัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุนและลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  แนวคิดนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


สำหรับประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ โดยมีพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนต่างก็มีนโยบายให้ความสำคัญกับการผลักดันการพัฒนาสมาร์ทซิตี้เช่นเดียวกัน โดย มี "สิงคโปร์" เป็นประเทศแรกที่ริเริ่มการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ขณะที่ประเทศน้องใหม่ในกลุ่ม CLMV อย่าง "เมียนมา" ได้มุ่งพัฒนา มัณฑะเลย์อดีตเมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับสอง ให้กลายเป็นสมาร์ทซิตี้แห่งแรกของเมียนมาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะมาเป็นเวลา 2 ปีมาแล้ว

ตามข้อมูลจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส การพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์เกิดจากแนวคิดของ เย ลวีนนายกเทศมนตรีของมัณฑะเลย์หลังรัฐบาลพลเรือนของเมียนมาชนะเลือกตั้งในปี 2015  ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ โดยเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาครั้งนี้ คือเมียนมาต้องการสร้างเมืองที่สามารถนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ด้วยระบบเศรษฐกิจที่ดี จากเดิมที่เมืองนี้เคยประสบปัญหาทั้งเรื่องการจราจรติดขัด ความแออัด และปัญหาขยะ


สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เมียนมาได้มีการผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศติดต่อสื่อสารกันโดยตรงระหว่างประชาชนและหน่วยงานภาครัฐผ่านทางอีเมล์และโซเชียลมีเดีย  สำหรับเงินทุนสนับสนุนมาจาก 2 ส่วนคือ ธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) เป็นแหล่งทุนสนับสนุนโครงการนี้ส่วนหนึ่ง แต่เงินทุนส่วนใหญ่มาจากการจัดเก็บภาษีภายในเมืองเอง เพื่อนำไปพัฒนาระบบต่างๆ อาทิ ระบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ระบบแก้ปัญหาการจราจร ระบบควบคุมการจราจรภายในเมืองด้วยรีโมตเซ็นเซอร์ เป็นต้น

ทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท หัวเว่ย ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนได้เสนอข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเมืองมัณฑะเลย์เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิดภายใต้โครงการ เมืองปลอดภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเมืองอัจฉริยะด้วย

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ได้ราบรื่น 100% เพราะยังมีการคัดค้านจากนักเคลื่อนไหวบางกลุ่มที่กังวลถึงผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี ดังนั้น การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสการทำธุรกิจสำหรับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมสื่อสารหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคต 

ความสำเร็จ 6 เมือง “Smart City” ระดับโลก

ปั้น 4 เมืองของไทยขึ้นชั้น Smart City


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
5933 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1902 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4853 | 23/10/2022
เมียนมา พัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ