แกะรอย Netflix ใช้ Big Data ปูทางสู่ตรีมมิ่งยอดฮิตได้อย่างไร
สำหรับ Big Data แม้ในวงการ Marketing จะถือว่า ‘ใครมีเยอะกว่าย่อมได้เปรียบ’ แต่ความจริงแล้ว การมีเยอะไม่เท่ากับการหยิบมาใช้ให้เป็น อย่างกรณีธุรกิจแอปสตรีมมิ่งยอดฮิตอย่าง Netflix หนึ่งในองค์กรที่มีการใช้ Data-Driven Business จนปลุกกระแสคอนเทนต์วิดีโอ เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ สารคดี ฯลฯ จนขึ้นมายืนบนแท่นอันดับ 1 ของแอปสตรีมมิ่งในไทยไปได้แบบสบายๆ วันนี้เราจะมาเปิดบทเรียนการใช้ Big Data ของ Netflix ให้ทุกท่านได้ลองอ่านกัน
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
Netflix ผู้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย
Big Data
เมื่อประมาณปี 2017 Netflix เคยออกมากล่าวว่า “80 percent of
watched content is based on algorithmic recommendations”
เป็นข้อยืนยันว่า Netflix ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Big
Data โดย Todd Yellin รองประธานฝ่ายนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของ
Netflix ในขณะนั้นกล่าวว่า “สมาชิกผู้ใช้งาน Netflix ส่วนใหญ่จะดูรายการแนะนำคร่าวๆ เพียง 40-50
รายการก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเปิดดู จากหลายพันหลายหมื่นเรื่องที่มี” สิ่งที่สำคัญที่ต้องคิดคือ
จะทำยังไงให้สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ตรงใจผู้ใช้งานได้ในเวลาที่เหมาะสม
“การปรับหน้าแอปพลิเคชันให้มีการนำเสนอรายการที่น่าสนใจสำหรับแต่ละคน”
จึงเป็นข้อสำคัญสำหรับการให้บริการ Netflix โดยมีการเก็บข้อมูล Big
Data มาเป็นหัวใจสำคัญ
Netflix ใช้ข้อมูล Big
Data อย่างไร
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไม Netflix ถึงเป็นแอปสตรีมมิ่งยอดฮิตมาอย่างยาวนานกว่าแอปพลิเคชันอื่น
เหตุผลคือเขามีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่มากกว่าข้อมูลทั่วไป อย่างอายุ เพศ
ประเทศ และรสนิยมการเลือกเสพสื่อ ฯลฯ แต่ในทุกครั้งที่ทาง Netflix ได้มีการเก็บข้อมูลที่ลงลึกไปมากกว่านั้น เช่น พฤติกรรมการรับชมที่แตกต่างกันไปในแต่ละวันเวลา
อุปกรณ์ที่ใช้งาน บางครั้งอาจเก็บข้อมูลกระทั่ง สถานที่ที่รับชม ฯลฯ ซึ่งหากแยกเป็นข้อง่ายๆ
ดังนี้
Ø วัน-เวลาที่รับชมคอนเทนต์
Ø อุปกรณ์ที่เข้าแพลตฟอร์มมารับชมเนื้อหา
Ø ลักษณะของเนื้อหาเป็นแนวไหน
Ø การค้นหาบนแพลตฟอร์ม
Ø เนื้อหาคอนเทนต์ที่ชมซ้ำ
Ø การกดปุ่มต่างๆ เช่น การกดกรอ, หยุดชั่วคราว ฯลฯ
Ø ข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้
Ø เมื่อคุณออกจากคอนเทนต์ เช่น ดูครบไหม ฯลฯ
Ø คะแนนที่ให้โดยผู้ใช้งาน
Ø ฯลฯ
โดยหลังจากที่ได้เก็บข้อมูลมาซักพัก Netflix จึงได้มีการปรับใช้ Algorithm และกลไกต่างๆ ที่ได้จากข้อมูลที่เก็บมาได้นี้
มาใช้สร้างสรรค์เครื่องมือบางอย่าง เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน Big Data ให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน Netflix
Tool ที่ใช้ร่วมกับ Big
Data บน Netflix
1. เครื่องมือช่วยแนะนำรายการแบบเรียลไทม์ : โดยปกติผู้ใช้งานบน Netflix
จะมีการเข้าใช้งานหลายครั้งต่อวัน
จะมีการพิจารณาจากสิ่งที่พวกเขาค้นหาและเพิ่มลงในรายการที่ชื่นชอบ
มาปรับการเสนอแนะนำรายการคอนเทนต์ที่น่าจะตรงกับรสนิยมของผู้ใช้งานได้แบบเรียลไทม์
โดยอาจจะแสดงต่างกันได้สูงถึงหลักร้อยล้านครั้งเลยทีเดียว
2. การเลือกภาพปก : ผู้ที่เคยใช้งานอาจจะต้องเคยสงสัยกันบ้างหละว่า ทำไมปกของแต่ละรายการถึงมีหลายแบบสลับสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ
ความจริงแล้ว การเลือกภาพปกมาแสดงก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีการใช้ Big
Data เข้ามาช่วย โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า Aesthetics
Visual Analysis (AVA) จะมีการปรับภาพที่นำเสนอ
โดยพิจารณาจากการแสดงสีหน้าท่าทางของนักแสดง, การจัดแสงฉาก, ความน่าสนใจ ฯลฯ
พร้อมจัดหมวดหมู่ตามรสนิยม
3. การวางแผนการผลิต : จะเห็นได้ว่าช่วงหลังๆ
Netflix เริ่มมาลุยการสร้างคอนเทนต์ด้วยตัวเองบ้างแล้ว
แทนการเช่าลิขสิทธิ์มาลงเพียงอย่างเดียว
ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมจะถูกนำไประดมความคิดจนนำไปสร้างรายการหรือภาพยนตร์ใหม่
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ทาง Netflix ประหยัดค่าใช้จ่าย
ระยะเวลา รวมถึงการวางแผนที่ยุ่งยากน้อยลงได้มากเลยทีเดียว
Netflix ยังมีการจัดเก็บและสามารถหยิบข้อมูลจาก
Big Data ที่เก็บรวบรวมไว้ได้อย่างเป็นระบบ
และใช้ได้อย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว เพราะไม่เพียงแต่ช่วยสร้างประสบการณ์ดีๆ
ให้แก่ผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น แต่ยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้สำหรับวางแผนการตลาดและสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ
มาให้ผู้ใช้งานได้รับชมเพิ่มเติม โดยช่วยประหยัดหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ค่าใช้จ่าย
ระยะเวลา และขั้นตอนไปได้อีกพอสมควรด้วย
จึงจะเห็นได้ว่า ความสำเร็จของ Netflix ไม่ใช่เฉพาะแค่การมี Big Data แต่คือการนำ Big
Data มาวิเคราะห์ ปรับแต่ง และทดสอบกับบริการจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่ธุรกิจต้องการไม่ใช่ข้อมูล
แต่คือความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค