อุปสรรคใหม่และความท้าทายของตลาดฮาลาลในอินโดนีเซีย

SME Go Inter
29/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4819 คน
อุปสรรคใหม่และความท้าทายของตลาดฮาลาลในอินโดนีเซีย
banner

ตลาดสินค้าฮาลาลกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าสนใจ ด้วยอัตราการขยายตัวของประชากรมุสลิมทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายงานเศรษฐกิจอิสลามโลกปี 2561–2562 พบว่า จำนวนผู้บริโภคชาวมุสลิมทั่วโลกมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่ 1 ต่อ 4 คน และคาดการณ์ว่าในปี 2593 ประชากรมุสลิมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,800 ล้านคน หรือประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลก ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อินโดนีเซียซึ่งมีเป้าหมายในการที่จะพัฒนาประเทศเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจอิสลามโลก จึงเริ่มพัฒนาการรับรองฮาลาล และการสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิม เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ห่วงโซ่คุณค่าฮาลาลของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจฮาลาลที่มีศักยภาพของอินโดนีเซีย ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม การท่องเที่ยว แฟชั่นมุสลิม สื่อและสันทนาการ ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง และพลังงานหมุนเวียน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยรัฐบาลได้มีการออกพระราชบัญญัติการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล (Indonesia Law No. 33/2014 on Halal Product Assurance) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการ นำเป้าหมายพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอิสลามโลก รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ฮาลาลของโลก โดยห่วงโซ่คุณค่าฮาลาล ครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต กระบวนการแปรรูป การจัดจำหน่าย การตลาด และการบริโภค รวมถึงการใช้อาหารสัตว์ ปุ๋ย และสารเคมีที่เป็นฮาลาล เมื่อเดือนตุลาคม 2557

กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร (รวมถึงผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพ) เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยา เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทุกชนิดจะต้องได้รับการรับรองฮาลาล รวมทั้งกระบวนการทางธุรกิจ ได้แก่ การผลิต การจัดเก็บ การบรรจุ การจัดจำหน่าย และการตลาด ต้องเป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว และกำหนดให้ใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ประกาศ หรือภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2562

ทั้งนี้ ภายใต้ Indonesia Law No. 33/2014 อินโดนีเซียจึงอยู่ระหว่างถ่ายโอนอำนาจในการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากสภาอิสลามแห่งชาติอินโดนีเซีย หรือ Indonesia Council of Ulama (Majelis Ulama Indonesia: MUI) ซึ่งไม่ใช่องค์กรของรัฐ (เป็นองค์กรอิสระ) และหน่วยงานประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ฮาลาล หรือ The Assessment Institute for Food, Drugs and Cosmetics (LPPOM ภายใต้ MUI) ไปสู่กระทรวงศาสนาอินโดนีเซีย (Ministry of Religious Affairs: MoRA) และหน่วยงานรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลหน่วยงานใหม่ คือ Halal Product Assurance Organizing Agency (BPJPH ภายใต้ MoRA)

โดยมีหลักการสำคัญของ Indonesia Law No. 33/2014 สรุป ดังนี้

1. ด้านการคุ้มครอง กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาล ในการป้องกันสังคมของอินโดนีเซียจากผลิตภัณฑ์นำเข้าที่มีฉลากหลากหลาย และอาจมีข้อสงสัยในความเป็นผลิตภัณฑ์ฮาลาล นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องนักธุรกิจอินโดนีเซียให้สามารถแข่งขันในระบบนิเวศฮาลาล

2. ความเป็นธรรม การดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ จะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาล

3. ความถูกต้องตามกฎหมาย ผู้บริโภคจะได้รับความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริโภคหรือซื้อนั้น เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามและกฎระเบียบสินค้าฮาลาล

4. ความรับผิดชอบและความโปร่งใส กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมถึงความโปร่งใสด้านภาษีและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนและการรับรองฮาลาล

5. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล กฎหมายฉบับนี้จะกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานที่รวดเร็ว

6. ความเชี่ยวชาญ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้หน่วยงานของภาครัฐผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล

จากการที่อินโดนีเซียจะบังคับใช้ Indonesia Law No. 33/2014 โดยกระทรวงศาสนาอินโดนีเซียปัจจุบันยังคงให้ MUI มีอำนาจในการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลในช่วงถ่ายโอนอำนาจ หรือระหว่างที่กระทรวงศาสนาอินโดนีเซียยังต้องออกระเบียบ/การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ บริษัท/ผู้ผลิตยังคงสามารถยื่นขอจดทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของอินโดนีเซียตามระบบ CEROL ภายใต้ MUI

ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดพบว่า หน่วยงาน BPJPH ได้ออกระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและได้เริ่มผ่องถ่ายงานการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลจาก MUI แต่ยังมิได้ออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลแต่อย่างใด รวมทั้งยังคงต้องออกระเบียบการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยรายละเอียดอีกจำนวนมาก   

โดยจะเริ่มจากการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มก่อนเป็นอันดับแรก ตามด้วยเครื่องสำอาง ยา สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ และบริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ยังมีระยะเวลาผ่อนผันในการดำเนินการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลอีก 5 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จนถึง 17 ตุลาคม 2567

จึงทำให้เกิดอุปสรรค์ต่อสินค้าไทยที่จะเข้าไปตีตลาดอินโดนีเซีย จากการถ่ายโอนอำนาจการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ยังไม่แล้วเสร็จ ระบบราชการมีความซ้ำซ้อน และกฎระเบียบยังไม่มีความชัดเจน ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการจดทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของอินโดนีเซียในต่างประเทศ ทำให้บริษัท/ผู้ผลิตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ต้องการจดทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลของอินโดนีเซียเกิดความสับสนและยุ่งยาก ที่สำคัญคือกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าไม่สอดคล้องกับความตกลง/ความร่วมมือการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล

ที่ผ่านมา แม้ว่า MUI ให้การรับรองหน่วยงานตรวจรับรองมาตรฐานฮาลาล/ตรารับรองฮาลาลไทย ได้แก่ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย แต่กฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของหน่วยงานกำกับยาและอาหารแห่งชาติอินโดนีเซีย หรือ “BPOM” ฉบับที่ 27/2017 (BPOM Regulation No. 27/2017 on Registration of Processed Food) กำหนด Appendix IV Requirements for Processed Food Labels กลับอนุญาตฉลากที่มีตรารับรองฮาลาลอินโดนีเซียเท่านั้น ทำให้สินค้าฮาลาลไทยไม่สามารถแสดงตรารับรองฮาลาลไทยบนฉลากสินค้าได้ กฎระเบียบดังกล่าวจึงนับเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเข้าสินค้าฮาลาลไทย สู่ตลาดฮาลาลอินโดนีเซีย

ดังนั้นถึงแม้ว่าในภาพรวมชาวอินโดนีเซียจะเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสินค้าสุขภาพและความงาม ภายใต้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของอินโดนีเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลสำนักงานสถิติกลางอินโดนีเซีย (BPS) ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารปี 2560 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.16 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งหมด โดยมีมูลค่าถึง 13,588.8 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นแกนนำทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก

รวมทั้งยังเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 83 ของประชากรมุสลิมโลกทั้งหมด แต่ถ้าการถ่ายโอนอำนาจการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลยังไม่แล้วเสร็จ และยังคงออกระเบียบการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดผลิตภัณฑ์ฮาลาลอีกจำนวนมากอย่างไม่จบสิ้น ตลอดจนยังไม่ได้ออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้ได้ สินค้าไทยก็อาจเสียโอกาสในการทำตลาดฮาลาลในประเทศอินโดนีเซีย จากการที่ตราฮาลาลไทยบนฉลากไม่เป็นที่ยอมรับ หรือไม่สามารถแสดงได้ในประเทศอินโดนีเซียตามกฏระเบียบของ BPOM ซึ่งอาจส่งผลเกี่ยวพันต่อเนื่องในระยะยาวได้ด้วย หากประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอิสลามโลกได้จริง.

 

แหล่งอ้างอิง : รายงานกฎระเบียบสินค้าฮาลาล โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


5 ไอเดียแบรนด์ไทยบุกตลาดเครื่องสำอางมาเลเซีย 

‘อินโดนีเซีย’ ตลาดบริโภคที่น่าสนใจ โอกาสส่งออกไทย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6266 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5038 | 23/10/2022
อุปสรรคใหม่และความท้าทายของตลาดฮาลาลในอินโดนีเซีย