![](https://admin.bangkokbanksme.com/uploads/topics/17038623791197.png)
ทุกธุรกิจย่อมต้องการเติบโต แต่จะดีกว่าไหมถ้าเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ไม่ได้ส่งเสริมความยั่งยืนของโลกด้วย ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกันเพื่อฟื้นฟูและแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะ ธุรกิจที่รักษ์โลกจะสร้างความได้เปรียบกว่า และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ให้มีอายุการใช้งานยาวนานให้มากที่สุด หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หรือใช้ซ้ำ (Refill) เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เน้นวัสดุจากธรรมชาติที่มีการย่อยสลายได้ง่าย เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วต้องไม่กลายเป็นขยะ
เลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการเกิดของเสีย ตลอดจนการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต เช่น กระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ หรือเสื้อผ้าที่ทำจากขยะพลาสติก
หากคุณเคยฟังเรื่องราวจาก BA ในเคาน์เตอร์แบรนด์เครื่องสำอาง เชื่อหรือไม่ว่า คุณจะต้องหลงใหลในเรื่องราวของคอนเซ็ปต์และการสกัดของ Ingredients จนซื้อติดไม้ติดมืออย่างน้อย 1-2 ชิ้น เพราะถึงราคาจะสูงแค่ไหน ก็มีสตอรี่ที่น่าดึงดูดใจ
แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์รักษ์โลกย่อมมีสตอรี่มาบอกต่อให้ผู้บริโภคได้ฟังเรื่องราวดี ๆ ได้ไม่แพ้กัน เช่น กว่าจะได้วัตถุดิบที่นำมาทำผลิตภัณฑ์มาจากอะไร เลือกใช้สิ่งนั้นเพราะอะไร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ไปจนถึงกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอน สะท้อนเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ฯลฯ ต่างจากสินค้าทั่วไปที่จะพูดถึงเรื่องตอบโจทย์ผู้บริโภคในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
รูปแบบธุรกิจให้บริการเช่าหรือชำระเงินเมื่อมีการใช้งาน (pay for use) แทนการซื้อขาด เพื่อลดการซื้อโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การให้บริการเช่าเสื้อกันหนาว
รูปแบบการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การแบ่งปันพื้นที่สำหรับใช้อ่านหนังสือหรือใช้ห้องประชุม ซึ่งทำให้เจ้าของกิจการ มีรายได้จากการขายอาหารหรือเช่าอุปกรณ์ในระยะเวลาอันสั้น
การออกแบบให้มีการนำกลับมาใช้ใหม่ นำวัตถุดิบเหลือใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำจัด แต่ยังสามารถใช้งานได้กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เพื่อลดการเหลือทิ้งให้มากที่สุด หรือย่อยสลายได้ง่าย
ภาครัฐ และภาคเอกชนมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี มาตรการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม จะช่วยธุรกิจทั้งในด้านภาพลักษณ์ ช่วยกันดูแลโลก และยังช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน
#ESG #สินเชื่อสีเขียว #การอนุรักษ์พลังงาน #พลังงานหมุนเวียน #ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม #BangkokBank #BangkokBankSME #SME #เพื่อนคู่คิดธุรกิจSME #Infographic #Knowledge #BCG #ธนาคารกรุงเทพ
อ้างอิง
https://bangkokbanksme.com/en/8sme3-green-business-the-path-to-adapt-to-the-new-business-model