อียูเตรียมพร้อมหาก No-deal Brexit

SME Go Inter
15/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2301 คน
อียูเตรียมพร้อมหาก No-deal Brexit
banner

จากความพยายามที่ล้มเหลวของ นางเทเรซ่า เมย์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษภายหลังสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักรปฏิเสธข้อตกลง Brexit  ถึง 3 ครั้งและการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้สร้างมรสุมในชีวิตการเมืองของนายกฯ เมย์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างยิ่ง แม้เธอจะรอดการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนั้นมาได้ แต่สถานการณ์ Brexit ในปัจจุบันก็ยังมิได้พ้นจากทางตัน จนในที่สุดเธอต้องลาออกตำแหน่งนายกฯ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา

ทว่าการลาออกครั้งนี้ยิ่งทำให้สถานการณ์ Brexit มีความไม่แน่นอนและขาดความน่าเชื่อถือมากขึ้น จากสถานการณ์จากความไม่แน่นอนดังกล่าวทำให้อียูต้องทบทวนการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิด No-deal Brexit ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบันที่แนวโน้ม No-deal Brexit ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา อียูได้จัดทำเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมกรณี No-deal Brexit ฉบับที่ 5 ขึ้น เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการดำเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวของประเทศสมาชิกอียูทั้งหมด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


โดยสรุปประเด็นที่น่ากังวลได้ 6 ข้อ ดังนี้

1.สิทธิในการพำนักของพลเมืองและการเข้าถึงประกันสังคม แต่ละประเทศสมาชิกได้จัดเตรียมมาตรการฉุกเฉินไว้แล้วก่อน 12 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นกำหนดที่สหราชอาณาจักรได้รับการขยายเวลาครั้งก่อน (ปัจจุบันได้รับการขยายเวลาเพิ่มเติมถึง 31 ตุลาคม 2562) เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าพลเมืองของสหราชอาณาจักร และสมาชิกครอบครัวที่มิได้ถือสัญชาติในอียูจะสามารถพำนักอย่างถูกกฎหมายต่อไปได้ในทันทีที่เกิด No deal Brexit โดยได้จัดทำเว็บไซต์รวบรวมมาตรการฉุกเฉินของแต่ละประเทศสมาชิกไว้ที่ http://bit.ly/31Ksh2E

2.ศุลกากร การเก็บภาษีทางอ้อม และด่านพรมแดน  คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดประชุมและออกข้อแนะนำเกี่ยวกับศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ในขณะที่รัฐบาลของหลายประเทศสมาชิกได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรบุคคล ซึ่งรวมถึงการตรวจบริเวณชายแดนเพื่อควบคุมมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นจุดเข้า-ออกหลักกับสหราชอาณาจักร ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ

3.การขนส่ง คณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎระเบียบฉุกเฉินด้านการขนส่งทางอากาศเพื่อให้สายการบินในอียูปฏิบัติตามข้อบังคับเรื่องสัญชาติสายการบิน (majority ownership) และข้อบังคับด้านการควบคุมต่างๆ สำหรับการขนส่งทางราง โดยได้ย้ำให้ผู้ให้บริการที่ยังไม่ได้ขอรับใบอนุญาตจากประเทศสมาชิกอียู 27 ประเทศเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับการบินโดยเร็ว

4.การประมง  คณะกรรมาธิการยุโรปได้ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการขออนุญาตทำประมงในน่านน้ำสหราชอาณาจักร ทันทีที่เกิด Brexit และเมื่อกฎระเบียบฉุกเฉินเรื่องใบอนุญาตทำประมงมีผลบังคับใช้  อีกทั้งยังออกแผนปฏิบัติการภายใต้กองทุน European Maritime and Fisheries Fund ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือชาวประมงสามารถพร้อมใช้งานได้หากจำเป็น ในกรณีที่ต้องหยุดทำประมงชั่วคราว

5.บริการทางการเงิน หลายบริษัทเร่งดำเนินการตามแผนรับมือตั้งแต่ช่วงก่อนวันที่ 12 เมษายน 2562 แล้ว แต่หลายบริษัทยังประสบปัญหาบางประการอยู่ เช่น การจัดการสัญญาและการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น โดยคณะกรรมาธิการยุโรปเน้นย้ำให้บริษัทที่ยังไม่พร้อมเตรียมความพร้อมให้แล้วเสร็จภายใน 31 ตุลาคม 2562

6.ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องมือทางการแพทย์ และสารเคมี มีผลิตภัณฑ์ยาที่ได้รับอนุญาตในระดับอียูจาก European Medicines Agency (EMA) อีกเพียง 1% ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับในช่วงก่อนวันที่ 12 เมษายน 2562 ซึ่งปัจจุบัน EMA เร่งดำเนินการจนใกล้แล้วเสร็จ ส่วนผลิตภัณฑ์ยาที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของประเทศสมาชิกต้องดำเนินการตามข้อบังคับภายใน 31 ตุลาคม 2562 

ด้านเครื่องมือทางการแพทย์ อยู่ระหว่างการถ่ายโอนใบรับรองจากหน่วยงานของสหราชอาณาจักรให้กับหน่วยงานของสมาชิกอื่นในอียู  ส่วนด้านสารเคมี ข้อมูลการจดทะเบียนตามระเบียบข้อบังคับ REACH 718 ชนิดที่ยังไม่ได้รับการถ่ายโอนจากสหราชอาณาจักร ให้กับประเทศสมาชิกอีก 27 ประเทศ โดย European Chemicals Agency (ECHA) ได้เปิดช่องทางให้ลงทะเบียนในระบบ REACH-IT เพื่อให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลการลงทะเบียนได้ทันทั้งหมดก่อนวันถอนตัว

ทั้งนี้ ในเอกสารเผยแพร่ฉบับดังกล่าวยังเน้นย้ำอีกว่า “ไม่มีความจำเป็นต้องปรับแก้สาระสำคัญในมาตรการที่ออกไปแล้ว รวมทั้งไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการใหม่เพิ่มเติม” ซึ่งสะท้อนให้เห็นนัยความพร้อมของอียูในกรณีที่ No-deal Brexit เกิดขึ้นจริงในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 นี้ว่า อียูได้เตรียมแนวทางรับมือและพยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจอียูให้ได้มากที่สุด


จับตา with deal หรือ no deal

ทั้งนี้อนาคตของ Brexit เองก็ขึ้นอยู่กับการเมืองภายในสหราชอาณาจักรด้วย ซึ่งขณะนี้มีรายชื่อผู้ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมแทนนายกฯ เมย์ 2 รายคือ นาย Boris Johnson และนาย Jeremy Hunt อย่างไรก็ดีตามข้อมูลของสื่ออังกฤษพบว่า ความนิยมภายในพรรคของนาย Johnson ปัจจุบันอยู่ที่ 80% ขณะที่ของนาย Hunt มีเพียง 20%

โดยก่อนหน้านี้นาย Johnson ซึ่งสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรออกจากอียูเคยวิจารณ์ข้อตกลงของนายกฯ May ว่ามีลักษณะที่ไม่เชิงเป็น Brexit เสียทีเดียว (semi-Brexit) แต่มีสถานะเสมือน “เป็นเมืองขึ้น” ของอียู  เป็นไปได้ว่านาย Johnson ตั้งใจจะนำพาสหราชอาณาจักรออกจากอียูอย่างแน่นอนภายใน 31 ตุลาคมนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ with deal หรือ no deal

อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วสถานการณ์ Brexit ยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้บรรยากาศการค้าและการลงทุนของไทยไปสหราชอาณาจักรและอียูมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ กระแสความไม่แน่นอนดังกล่าวยังจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในฐานะที่สหราชอาณาจักรเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคและของโลก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณค่าเงินปอนด์ที่ตกลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ดังนั้น ธุรกิจไทยที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

 

อ้างอิง : http://thaieurope.net

                 https://ec.europa.eu/info/sites/info/files/com-2019-276-final_en.pdf

                 https://ec.europa.eu/info/brexit/brexit-preparedness/national-brexit-information-member-states_en 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6057 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1935 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4914 | 23/10/2022
อียูเตรียมพร้อมหาก No-deal Brexit