สตาร์ทอัพฝรั่งเศส เพาะเลี้ยงแมลงป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
แมลง อาหารใหม่ (Novel Food) ที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในยุโรปให้ความสนใจ ซึ่งมองว่าเป็นอาหารที่ยั่งยืนสำหรับอนาคต ตัวอย่างประเทศฝรั่งเศสที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำด้านอาหารยุคใหม่ โดยการสนับสนุนการพัฒนาแมลงให้เป็นอาหาร โดยบริษัทสตาร์ทอัพของฝรั่งเศสตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำตลาดระดับโลกในการเลี้ยงแมลงเพื่อเป็นอาหารสัตว์
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
นาย Antoine Hubert ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ Ynsect ได้ก่อตั้งโรงงานเลี้ยงแมลงขึ้นในปี 2558 โดยใช้ระบบอัตโนมัติในการจัดการการเลี้ยง
โดยนับเป็นโรงงานเลี้ยงแมลงด้วงที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน
ผู้ปฏิบัติงานในโรงเลี้ยงจะสั่งงานผ่านเครื่องมือ
และควบคุมดูแลการเลี้ยงผ่านระบบกล้องวีดิโอ
โดยแมลงด้วงจะถูกเลี้ยงในถาดให้โตจากไข่จนกลายเป็นหนอนเต็มวัย
ก่อนจะถูกช็อคด้วยไอน้ำร้อน ฆ่าเชื้อ บด และบรรจุเป็นผงโปรตีนจากแมลง
สามารถผลิตผงโปรตีนจากแมลงได้ประมาณวันละ 1 ตัน ซึ่งสินค้าทั้งหมดมีผู้สั่งซื้อมาอย่างต่อเนื่อง
โดยโครงการบริษัทดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป
และบริษัท Bio-Based Industries บริษัท
Ynsect ตั้งใจที่จะเปิดโรงงานเพิ่มในช่วงปี 2021 โดยมีเป้าหมายที่จะจ้างงานรวม 80 อัตรา
และโรงงานจะดำเนินการผลิตผงโปรตีนจากแมลงด้วยระบบอัตโนมัติตั้งแต่การเลี้ยงจนถึงการแปรรูป
ซึ่งจะทำให้โรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตสินค้าได้รวม 20,000 – 25,000 ตันต่อปี
โดยโรงงานจะกินพื้นที่ประมาณ 40,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนถึง
100 ล้านยูโร
และจะนับว่าเป็นโรงงานเลี้ยงแมลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Ynsect เป็นที่สนใจของผู้ผลิตอาหารสัตว์อย่างมาก
ทั้งสัตว์เลี้ยงในครัวเรือน และอาหารเพื่อการเลี้ยงปลาในการประมง
ทั้งนี้เนื่องมาจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ราคาผงปลาที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์ส่วนใหญ่นำมาเป็นส่วนผสม มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 3
เท่า โดยในปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
และผงโปรตีนจากแมลงนี้เริ่มเป็นทางออกที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์เริ่มให้ความสนใจ
และผงแมลงนี้เองยังมีคุณค่าทางสารอาหารที่น่าสนใจอีกด้วย
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2573 – 2583 การผลิตโปรตีนจากแมลงต่อปีในฝรั่งเศสน่าจะอยู่ที่ประมาณ
500,000 ตันต่อปี
นอกจากบริษัท Ynsect แล้วยังมีบริษัทสตารท์อัพฝรั่งเศส InnovaFeed
ที่ผลิตผงโปรตีนจากแมลงวันดำ โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1,000 ตันต่อวัน และกำลังอยู่ในช่วยขยายกิจการเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 7,000-8,000
ตันต่อวันภายในปี 2563 และ 15,000 ตันภายในปี 2564 โดยสินค้าทั้งหมดของบริษัทต่างถูกจับจองโดยผู้ผลิตอาหารสัตว์
นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับผู้ผลิตอาหารสัตว์ในการพัฒนาวิจัยสินค้า
ตลอดจนการทำการตลาดด้วย ทั้งบริษัท Ynsect และ InnovaFeed มีโครงการทีจะระดมทุนเพิ่มเติมในอนาคต
เพื่อก่อสร้างโรงเลี้ยงแมลงและโรงงานแปรรูปอัตโนมัติในทุกภูมิภาคทั่วโลก
ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น
และคาดว่าโรงงานเหล่านี้จะสามารถผลิตผงโปรตีนจากแมลงได้ราว 300,000 ตันต่อปี จากการประเมินของกลุ่ม Barclays นักลงทุนค่อนข้างให้ความสนใจกับตลาดสินค้าผงโปรตีนจากแมลง
และมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของสินค้าดังกล่าวจะพุ่งสูงถึง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573
โดยเหตุผลที่นักลงทุนหันมาสนใจในสินค้าดังกล่าว เนื่องมาจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มสนใจในด้านโปรตีนทางเลือก นอกจากนี้การเลี้ยงแมลงของทั้งสองบริษัทต่างใช้กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเศษเหลือของผักผลไม้และธัญพืชจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นอาหารให้กับแมลง และความร้อนที่เกิดจากการเลี้ยงจะถูกผันกลับไปเป็นพลังงานสำหรับชุมชน นอกจากนี้ของเสียที่แมลงขับถ่ายก็ถูกนำมาทำเป็นปุ๋ยสำหรับเกษตรในละแวกที่ตั้งของโรงเลี้ยง
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากแมลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสูง
นอกจากจะใช้เป็นส่วนผสมในอาหารปลาในปัจจุบันแล้ว
ในอนาคตอาจสามารถขยายการใช้งานไปยังกลุ่มอาหารสำหรับสุกรและไก่ด้วย
แต่ทั้งนี้จะต้องผ่านการศึกษาทางความปลอดภัยด้านอาหารก่อน สำหรับประเด็นการบริโภคแมลงโดยมนุษย์เพื่อเป็นอาหาร
ทั้งสองบริษัทเชื่อว่าสำหรับตลาดในปัจจุบันยังคงไม่พร้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
เนื่องจากยังคงมีประเด็นทางด้านความปลอดภัยทางอาหารที่ยังเป็นที่ศึกษากันอยู่
และการบริโภคแมลงจะยังคงจำกัดวงอยู่ในกลุ่มลูกค้าเฉพาะ เช่น กลุ่มผู้บริโภควีแกน
และกลุ่มมิเลนเนียล เป็นต้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันมีบริษัทสตารท์อัพฝรั่งเศสหลายบริษัท
เช่น Jimini’s, FoodChéri และ Micronutris เป็นต้น ที่ได้เริ่มนำจิ้งหรีดมาเป็นส่วนผสมในขนม ทานเล่น เบอร์เกอร์
และธัญพืชอัดแท่งแล้ว
อ้างอิง : Les Echos https://www.lesechos.fr/industrie-services/conso-distribution/comment-la-france-est-devenue-pionnieredans-lelevage-dinsectes-1163807
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปารีส