ธุรกิจออกกำลังกายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด
19 โดยจะเห็นได้จากตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เทรนด์การออกกำลังกายได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
ทั้งการเพิ่มโปรแกรมการออกกำลังกายผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์
รวมไปถึงการทำคลาสการออกกำลังกายเสมือนจริง ซึ่งนำมาสู่การออกกำลังกายแบบผสมผสานหรือ
‘ไฮบริด ฟิตเนส’ คือการออกกำลังกายที่ฟิตเนสควบคู่ไปกับการเลือกออกกำลังกายได้จากที่บ้านผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ
เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน
โดยผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคนรักการออกกำลังกายกว่า
4,000
คน จาก Evolution Wellness Group ซึ่งเป็นผู้นำอันดับหนึ่งธุรกิจฟิตเนสคลับในเอเชีย
ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนต่อวิถีการออกกำลังกายที่เปลี่ยนไปในประเทศอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฮ่องกง รวมถึงประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้จะมีข้อจำกัดในการใช้ฟิตเนสก็ไม่สามารถหยุดความตั้งใจในการออกกำลังกายได้
ทำให้ความต้องการเทรนเนอร์ และคลาสออกกำลังออนไลน์พุ่งสูงขึ้น
เจ็ทส์ฟิตเนส ผู้ให้บริการฟิตเนสจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันมีสาขาในไทย 35 แห่ง ได้คาดการณ์เทรนด์ธุรกิจฟิตเนสในปีนี้ว่า ดีมานด์ของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเติบโตต่อเนื่อง เพราะคนหันมาเทรนส่วนตัวด้วยโปรแกรมออนไลน์มากยิ่งขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับรายงานคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2563 ‘A Year in Search 2020 Thailand ’ โดย Think with Google พบว่า ปีที่ผ่านมามีการค้นหาคลิปโยคะบนยูทูบมากกว่าปี 2562 ถึง 70% ในขณะที่เวลาในการรับชมวิดีโอออกกำลังกายบนยูทูบเพิ่มขึ้นถึง 80%
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โอกาสขยายธุรกิจ
เติบโตสวนกระแสโควิด
เหตุผลที่ธุรกิจฟิตเนสออนไลน์สามารถเติบโตในสถานการณ์วิกฤตโควิด
19 เนื่องจากตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ขณะที่ค่ายเครื่องออกกำลังกายอย่าง
‘Peloton’ ธุรกิจ Streaming Fitness พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เป็นธุรกิจที่แม้คนจะกักตัวอยู่บ้านก็ยังทำให้คนสามารถออกกำลังกายได้
นอกจากนี้ยังสามารถจำหน่ายจักรยานและลู่วิ่งที่มีจอสัมผัส ลำโพงขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สมาชิกรู้สึกเสมือนได้เข้าไปอยู่ในคลาสกับผู้สอนจริงๆ
สำหรับคนที่ไม่อยากลงทุนซื้อจักรยานหรือลู่วิ่งก็สามารถโหลดแอปพลิเคชันมาเล่นคลาสต่างๆ
ได้ด้วยราคาเพียง 12.99 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ซึ่งถูกกว่าราคาสมาชิกรายเดือนของฟิตเนสหลายแห่ง
นอกจากนี้ ‘Peloton’ ยังใช้เทรนเนอร์ที่มีชื่อเสียงในการสอนคลาสต่างๆ
และยังมีดาราเป็นสมาชิกหลายคน จึงทำให้สมาชิกซึ่งเล่นอยู่ที่บ้านสามารถรู้สึกว่าได้ออกกำลังกายไปพร้อมกับคนดังอีกด้วย
บริษัท Mirror อีกหนึ่ง Startup สร้างประสบการณ์ออกกำลังกายที่บ้านโดยใช้เทคโนโลยีจอกระจกที่มีกล้องและลำโพงในตัว
เมื่อเปิดจะแสดงคลาสและผู้สอนเพื่อให้สมาชิกเล่นตามได้แบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่ผู้สอนสามารถกระตุ้นและให้กำลังใจสมาชิกได้ขณะเล่นผ่านเทคโนโลยี
Motion Sensor และเมื่อปิดจอก็จะกลายเป็นกระจกเต็มตัว โดยเทคโนโลยีจอกระจกของ
Mirror สนนราคา 1,495 ดอลลาร์สหรัฐ
และมีค่าสมาชิก 39 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ขณะที่ประเทศไทยการปรับตัวของฟิตเนสออนไลน์เริ่มมีมากขึ้น
การออกกำลังกายที่บ้านจะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่คงอยู่ หลังจากผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยได้ทดลองและเห็นว่าสามารถตอบโจทย์ด้านความสะดวกได้
ขณะเดียวกันจำนวนผู้สนใจออกกำลังกายก็เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากจำนวนผู้เข้าชมคลาสออนไลน์ที่มียอดผู้ชมทั้งแบบไลฟ์สดและย้อนหลังในระดับ
2,000-30,000 คน ซึ่งแสดงถึงโอกาสการเติบโตของเทรนด์นี้
โดยผู้ให้บริการสตูดิโอออกกำลังกาย
ยิม และฟิตเนส ก็มีการเปิดโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น ‘Absolute You Home Work out Experience’ บริการออกกำลังแบบออนไลน์ครบวงจร ซึ่งนำบริการที่เปิดในช่วงอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ
ทั้ง ‘ABSOLUTE CYCLE Home Pop-Up’ คลาสปั่นจักรยานพร้อมบริการให้เช่าจักรยาน
และ ‘ABSOLUTE YOU Virtual Studio’ คลาสออกกำลังออนไลน์แบบไลฟ์สด
‘Online Private Session’ คลาสออนไลน์แบบส่วนตัว-กลุ่มเล็ก 3 คน รวมไปถึง ‘ABSOLUTE Anytime’ คลาสโยคะออนไลน์ที่มีอยู่ก่อนแล้วมารวมอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน
การปรับตัวของธุรกิจออกกำลังกายออนไลน์ทั้งในไทยและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่ามีโอกาสเติบโตได้ดีในอนาคต
ซึ่งเห็นได้จากคลาสออกกำลังกายออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว ผู้คนต่างก็มีการปรับตัวให้เข้าถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสถานการณ์โควิด
19
จึงทำให้เทรนด์รักสุขภาพในปัจจุบันคือสิ่งที่ธุรกิจต้องคิดค้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค
แหล่งอ้างอิง
: