โอกาสและความท้าทายของตลาดส่งออกข้าวในสหรัฐฯ

SME Go Inter
27/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1792 คน
โอกาสและความท้าทายของตลาดส่งออกข้าวในสหรัฐฯ
banner

นับเป็นระยะเวลายาวนานหลายปีที่ "ประเทศไทย" ได้ครอบครองตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ เหนือกว่า อินเดีย เวียดนาม แต่สภาวะการณ์แข่งขันก็ค่อนข้างรุนแรง เพราะคู่แข่งต่างพัฒนาคุณภาพข้าวไล่ตามไทยในระดับรุนแรงแบบที่เรียกกว่า หายใจรดต้นคอ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ระบุว่าในปี 2562 สหรัฐฯ นำเข้าข้าวทั้งหมด 1,013 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.21% จากปี 2561 ที่นำเข้ามูลค่า 903 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแหล่งนำเข้าข้าวที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย สูงสุดเป็นอันดับ 1 มูลค่า 633 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.20% รองลงมาคือ อินเดีย มูลค่า 226 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.67% ปากีสถาน มูลค่า  37.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.68% เวียดนาม 11.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.02% และอิตาลี 14.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.79%

และปรากฎว่าในช่วงเดือนมกราคมในปี 2563 ยอดการนำเข้าข้าวจากไทยแม้ว่าจะครองอันดับ 1 มูลค่า 52.61 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เติบโตลดลง 4.11% จากช่วงเดือนมกราคม 2562 ขณะที่คู่แข่งอย่างเวียดนามมีมูลค่า 1.71 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เติบโตขึ้นถึง 186.27% ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ส่งออกข้าวไทย

สำหรับประเภทข้าวที่สหรัฐฯ นำเข้าหลักๆ ได้แก่ ข้าวขาวเมล็ดยาว มูลค่า 59.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นขึ้น 3.31% ข้าวขาวเมล็ดกลาง มูลค่า 8.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และข้าวขาวเมล็ดสั้น มูลค่า 3.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.85% ทั้งนี้สินค้าข้าวขาวที่สหรัฐฯ นำเข้าส่วนใหญ่ ยังเป็นกลุ่มข้าวขาวหอมมะลิจากไทยที่ครองตลาดอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นข้าวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถาน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นตลาดบริโภคข้าวขนาดใหญ่ของโลก แต่ในสหรัฐฯ ก็มีการปลูกข้าวไว้บริโภคเองในหลายพื้นที่ อาทิ รัฐอาคันซอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐหลุยเซียนา รัฐมิสซูรี รัฐเท็กซัส และรัฐมิสซิสซิปปี้ ซึ่งรวมพื้นที่ปลูกข้าวคาดว่าจะมีทั้งหมด 3 ล้านเอเคอร์ สามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 3.5 ล้านตันต่อปี แต่ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีปริมาณ 32.5 ล้านตัน ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 12% จากปี 2562 ทำให้สหรัฐฯ ยังมีความต้องการนำเข้าข้าวแน่นอนประมาณ 29 ล้านตันต่อปี นี่จึงยังเป็นโอกาสของไทย

อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกที่ต้องการส่งข้าวไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ ต้องศึกษาระเบียบการนำเข้าที่สำคัญของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดด้านใบรับรองสุขอนามัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ซึ่งกำหนดเพื่อป้องกันการระบาดของโรคแมลง เช่น ด้วงอิฐ หรือการปนเปื้อนต่างๆ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังกำหนดไม่ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สำหรับข้าวไทย จึงต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 0.44-2.1 เซ็นต์ต่อกิโลกรัม ยกเว้นสินค้าข้าวนึ่งที่ได้รับสิทธิจีเอสพีจึงมีภาษีนำเข้าเป็น 0%

สำหรับช่องทางการจำหน่ายข้าวในสหรัฐฯ ยังคงเป็นช่องทาง "ค้าปลีก" เป็นหลักเกิน 95% ทั้งผ่านซุปเปอร์มาร์เก็ต 40.4% รองลงมา คือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต 19.5% ร้านค้าปลีกทั่วไป 15.7% ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก 14.4% ร้านจำหน่ายสินค้าลดราคา 2.8% และร้านสะดวกซื้อ 1.5% ส่วนช่องทางออนไลน์มีสัดส่วนเพียง 5%

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่องทางออนไลน์นี้มีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น มีแนวโน้มว่าจะเติบโตได้เป็น 2 เท่าตัวในปี 2025 และมีโอกาสที่จะผลักดันสินค้าข้าวไทยไปยังกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น กลุ่ม Millennials ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


SMEs ต้องเตรียมพร้อมรับมือการขนส่งสินค้าช่วงโควิด-19

พิษโควิด-19! ‘อียู’ อาจใช้มาตรการปกป้องตลาดสินค้าเกษตร



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6322 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2032 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5062 | 23/10/2022
โอกาสและความท้าทายของตลาดส่งออกข้าวในสหรัฐฯ